โดโมเดโดโวแอร์ไลน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โดโมเดโดโวแอร์ไลน์
IATA ICAO รหัสเรียก
E3 DMO Domodedovo
ก่อตั้ง2507
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว
สะสมไมล์แอร์ยูเนียน พรีเมียม[1]
อกาเดมสตาร์ พรีเมียม[2]
พันธมิตรการบินแอร์ยูเนียน
ขนาดฝูงบิน22
สำนักงานใหญ่มอสโก, รัสเซีย
บุคลากรหลักSergey Borisovich Yanovoi (ผู้อำนวยการ)
เว็บไซต์www.akdal.ru

โดโมเดโดโว แอร์ไลน์ (รัสเซีย: Домодедовские авиалинии) เป็นสายการบินสัญชาติรัสเซีย ให้บริการเที่ยวบินภายในประเทศ โดนเน้นไปยังฝั่งตะวันออกของรัสเซีย และประเทศในเครือจักรภพ และยังให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยัง จีน, ไทย, มัลดีฟส์, มาเลเซีย, ยุโรป และสิงคโปร์ โดยมีท่าอากาศยานหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว

ประวัติ[แก้]

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 แอโรฟลอต โซเวียต ได้ตั้งแผนกโดโมเดโดโว ยูไนเต็ดแอร์ ขึ้นมาเพื่อให้บริการเที่ยวบินภายในสหภาพโซเวียต โดยเน้นไปยังพื้นที่ฝั่งตะวันออก และประเทศเอเชียกลาง และในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2507 ก็ได้เริ่มให้บริการเป็นครั้งแรกด้วยเครื่องตูโปเลฟ ตู-114 เที่ยวบินจากโดโมเดโดโวไปยังคาบารอฟสค์ ในภาคตะวันออก จนในปี พ.ศ. 2521 ก็ได้เปิดเที่ยวบินภายในประเทศที่ไกลที่สุดในโลก จากมอสโกไปยังเปโตรปัฟลอฟสค์-คัมชัตสกี ซึ่งมีระยะทาง 6,800 กิโลเมตร ด้วยเครื่องบินอิลยูชิน อิล-62 ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โดโมเดโดโว ซาปา (รัสเซีย : Домодедовское производственное объединение гражданской авиации (ДПО ГА))

ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2536 ก็ได้แยกตัวออกมาจากแอโรฟลอต และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2541 รัฐบาลได้แปรรูปกิจการทำให้การดำเนินระหว่างท่าอากาศยานและสายการบินแยกออกจากกัน และจัดตั้งเป็นบริษัท โดโมเดโดโว แอร์ไลน์ ก่อนที่จะถ่ายโอนการผลิตในปี พ.ศ. 2544 โดยรัฐบาลยังถือหุ้นบางส่วนไว้สำหรับการควบคุมกิจการ จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 โดโมเดโดโว แอร์ไลน์ และครัสแอร์ ได้ควบรวมกันจัดตั้ง บริษัทแอร์บริดจ์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายการให้บริการ แต่ธุรกรรมทางกฎหมายยังคงแยกกันอยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นพันธมิตรสายการบินแอร์ยูเนียน

ฝูงบิน[แก้]

ฝูงบินของสายการบิน
เครื่องบิน จำนวน ชั้นบิน
(ชั้นหนึ่ง/ธุรกิจ/ประหยัด)
หมายเหตุ
ตูโปเลฟ ตู-154M 3 145
164
166
อิลยูชิน อิล-62M 17 138 (12/24/102)
174
อิลยูชิน อิล-96-300 2 294

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]