ข้ามไปเนื้อหา

โซนี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก โซนี)
โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชัน
ชื่อท้องถิ่น
ソニーグループ株式会社
ชื่อโรมัน
Sonī Gurūpu kabushiki kaisha
ชื่อเดิม
  • โตเกียวสึชินโคเกียว บจก. (1946–1957)
  • โซนี่คอร์ปอเรชั่น (1958–2021)[a][1]
ประเภทสาธารณะ
การซื้อขาย
ISINJP3435000009 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมกลุ่มบริษัท
ก่อตั้ง7 พฤษภาคม 1946; 78 ปีก่อน (1946-05-07)
นิฮมบาชิ เขตชูโอ โตเกียว ญี่ปุ่น[2]
ผู้ก่อตั้ง
สำนักงานใหญ่โซนี่ซิตี, ,
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
  • ชูโซ สุมิ
  • (ประธานคณะกรรมการ)
  • คาซึโอะ มัตสึนางะ
  • (รองประธานคณะกรรมการ)
  • เคนิชิโร โยชิดะ
  • (ประธานกรรมการ, ประธานและผู้บริหารสูงสุด)
  • ชิเกะกิ อิชิซึกะ
  • (รองประธาน)
ผลิตภัณฑ์
บริการ
รายได้เพิ่มขึ้น ¥11.540 trillion (FY2022)
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น ¥1.208 trillion (FY2022)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น ¥943.622 billion (FY2022)
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ¥32.041 trillion (FY2022)
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ¥7.288 trillion (FY2022)
พนักงาน
109,700 (2021)[3]
แผนก
  • บริการเกมและเครือข่าย
  • เพลง
  • ภาพยนตร์
  • ผลิตภัณฑ์และโซลูชันอิเล็กทรอนิกส์
  • โซลูชันการถ่ายภาพและเซนเซอร์รูปภาพ
  • บริการทางการเงิน
  • อื่น ๆ[4]
บริษัทในเครือดู รายชื่อบริษัทในเครือ
เว็บไซต์www.sony.com
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[5]

โซนี่กรุ๊ปคอร์ปอเรชัน (ญี่ปุ่น: ソニーグループ株式会社โรมาจิSonī Gurūpu kabushiki gaisha) หรือเรียกกันทั่วไปว่า โซนี่ เป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่น สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในย่านโคนัง เขตมินาโตะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[6] ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ บริษัทดำเนินการโดยเป็นหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับมืออาชีพรายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่ใหญ่ที่สุดและผู้จัดจำหน่ายวิดีโอเกมรายใหญ่ที่สุด บริษัทโซนี่เอนเทอร์เทนเมนต์ เป็นหนึ่งในบริษัทเพลงที่ใหญ่ที่สุด (ผู้จัดจำหน่ายเพลงที่ใหญ่ที่สุดและค่ายเพลงที่ใหญ่เป็นอันดับสอง) และสตูดิโอภาพยนตร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสาม ทำให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีสื่อครอบคลุมมากที่สุด เป็นกลุ่มเทคโนโลยีและสื่อที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ในขณะเดียวกัน ก็ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่ร่ำรวยด้วยเงินสดมากที่สุด ด้วยเงินสดสำรองสุทธิ 2 ล้านล้านเยน[7][8][9][10]

โซนี่เป็นผู้ผลิตเซนเซอร์รูปภาพรายใหญ่ที่สุด โดยมีส่วนแบ่งร้อยละ 55 ในตลาดเซนเซอร์รูปภาพ เป็นผู้ผลิตกล้องรายใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นหนึ่งในผู้นำการขายสารกึ่งตัวนำ[11][10][12] โซนี่เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในโลกในตลาดโทรทัศน์ระดับพรีเมียมที่มีขนาดอย่างน้อย 55 นิ้ว (140 เซนติเมตร) ด้วยราคาที่สูงกว่า 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เป็นแบรนด์โทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองตามส่วนแบ่งการตลาด และ ณ ปี ค.ศ. 2020 โซนี่เป็นผู้ผลิตโทรทัศน์ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยตัวเลขยอดขายประจำปี[13][14][15][16]

โซนี่กรุปคอร์ปอเรชันเป็นบริษัทโฮลดิ้งของ โซนี่กรุป (ญี่ปุ่น: ソニー・グループโรมาจิSonī Gurūpu) ซึ่งประกอบด้วย โซนี่คอร์ปอเรชันเป็น, โซนี่เซมิคอนดักเตอร์โซลูชัน, โซนี่เอ็นเตอร์เทนเมนต์ (โซนี่พิคเจอร์ส, โซนี่มิวสิก), โซนี่อินเตอร์แอ็กทีฟเอ็นเตอร์เทนเมนต์, โซนี่ไฟแนนเชียลกรุป และอื่น ๆ

สโลแกนของบริษัทคือ We are Sony ส่วนสโลแกนเดิมของพวกเขา ได้แก่ The One and Only (1979–1982), It's a Sony (1981–2005), like.no.other (2005–2009),[17] make.believe (2009–2013)[18] และ Be Moved (2013–2021)

โซนี่มีความสัมพันธ์กันแบบหลวม ๆ กับกลุ่มบริษัท ซูมิโตโมะมิตซุยไฟแนนเชียลกรุป (SMFG) ผู้สืบทอดต่อจาก มิตซุย เคเรสึ[19] โซนี่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี Nikkei 225 และ TOPIX Core30) พร้อมกับจดทะเบียนในรูปแบบของใบรับฝากหลักทรัพย์ของอเมริกาในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (ทำการซื้อขายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ทำให้เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกา) และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 122 ในรายการ ฟอร์จูน โกลบอล 500 ในปี 2020[20]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2021 ชื่อตามกฎหมายของ "โซนี่ คอร์ปอเรชั่น" ใช้สำหรับธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของ โซนี่ กรุ๊ป ซึ่งเดิมเรียกว่า "โซนี่ อิเล็กทรอนิกส์ คอร์ปอเรชั่น"

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Change of the Sony entity for License Agreements, etc". www.sony.net. Sony Group Corporation. 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
  2. "Sony Corporate History". www.sony.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
  3. "Sony". Fortune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 2021-01-07.
  4. "Organization Data, Corporate Info". Sony Corporation. 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
  5. "Corporate Data" (PDF). Sony Corporation. 31 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 April 2019.
  6. "Access & Map." Sony Global. Retrieved 2 April 2021. "1–7–1 Konan Minato-ku, Tokyo 108-0075, Japan" – MapAddress in Japanese: "〒108-0075 東京都港区港南1–7–1"
  7. Aswad, Jem (2019-07-17). "Sony Unites Recorded Music and Publishing Under One Company". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  8. "Sony embraces its inner conglomerate". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2020. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
  9. "Sony in US$2.3 billion deal, becomes the world's biggest music publisher the third largest movie studio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-16.
  10. 10.0 10.1 "Sony's key image sensor business hit by smartphone market decline". Nikkei Asian Review.
  11. "Top 20 semiconductor sales leaders for Q1 2016". www.electronicspecifier.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  12. "2019 Market Share Data Shows Canon and Sony Growing, Nikon Shrinking | PetaPixel". petapixel.com. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  13. "Global LCD TV manufacturer market share from 2008 to 2017". Statista. สืบค้นเมื่อ 26 February 2017.
  14. "Samsung tops global TV market for 15th consecutive year". FlatpanelsHD. สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  15. Alekseenko, Artem (2021-03-04). "LG and Sony Led OLED TV Gains in Advanced TV Market in Q4". DisplayDaily (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-05-21.
  16. "How Samsung fell behind Sony and LG in the premium TV market". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2020.
  17. "Sony like.no.other Global Brand Development". Blind. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ 16 November 2016.
  18. Christopher MacManus (2 September 2009). "Sony Insider. 2010-10-27. Retrieved 2016-08-07". Sonyinsider.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-16. สืบค้นเมื่อ 21 April 2017.
  19. Morck, R. K.; Nakamura, M. (2005). "A Frog in a Well Knows Nothing of the Ocean: A History of Corporate Ownership in Japan" (PDF). ใน Morck, Randall K. (บ.ก.). A History of Corporate Governance around the World: Family Business Groups to Professional Managers. University of Chicago Press. pp. 367–466. ISBN 0-226-53680-7.
  20. "Sony 2020 Global 500 – Fortune". Fortune.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]