โช ยง-พิล
โช ยง-พิล | |
---|---|
![]() โช ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2013 | |
เกิด | ฮวาซ็อง, จังหวัดคย็องกี, เกาหลีใต้ | 21 มีนาคม ค.ศ. 1950
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1968–present |
คู่สมรส | พัค จี-ซุก (1984–1988) อัน จิน-ฮย็อน (1994–2003) |
รางวัล | |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | |
เครื่องดนตรี |
|
ค่ายเพลง |
|
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | 조용필 |
ฮันจา | 趙容弼 |
อาร์อาร์ | Jo Yongpil |
เอ็มอาร์ | Cho Yongp'il |
เว็บไซต์ | choyongpil |
โช ยง-พิล ( เกาหลี: 조용필 ; เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2493) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวเกาหลีใต้ซึ่งถือเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในวงการเพลงยอดนิยมของเกาหลีใต้ ( เค-ป็อป ) เขาเปิดตัวในฐานะสมาชิกวงดนตรีร็อค Atkins ในปี พ.ศ. 2511 และเปิดตัวในฐานะศิลปินเดี่ยวด้วยซิงเกิลฮิต "Come Back to Busan Port" ในปี พ.ศ. 2519 โชได้ออกอัลบั้มเดี่ยว 19 อัลบั้มและยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องตลอดอาชีพการงาน 50 ปีของเขา [1] [2] ได้รับฉายาว่า "ราชาเพลงป็อป" ของเกาหลีใต้ [3] [4] เพลงของเขาติดอันดับ 1 บนชาร์ตเพลงเกาหลีใต้ในช่วงทศวรรษ 1970 1980 1990 และ 2010 [5] เขาได้รับการยกย่องด้วย เครื่องอิสริยาภรณ์วัฒนธรรม ชั้นอึนกวัน สำหรับอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ของเขาต่อวงการเพลงป็อปเกาหลีใต้ [6] เขาได้รับเลือกให้เป็น นักร้องแห่งปี และเพลง "Bounce" ของเขาได้รับเลือกให้เป็น เพลงแห่งปี ในการสำรวจที่ดำเนินการโดย Gallup Korea ในปี 2013 [7]
ประวัติ
[แก้]1950–1967: ปฐมวัย
[แก้]โช ยง-พิล เกิดที่ ซังจ็อง-รี ซงซาน-มย็อน เมืองฮวาซ็อง จังหวัดคย็องกี เกาหลีใต้ ในวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ.1950[8][9] และใช้ชีวิตวัยเด็กในกรุงโซลเป็นส่วนใหญ่. เขา และนักแสดง อัน ซ็อง-กี เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนกันในโรงเรียนมัธยมต้นคยองดง ในโซล ซึ่งตอนนี้โรงเรียนดังกล่าวปิดตัวไปแล้ว และยังคงเป็นเพื่อนกัน แม้ว่าจะแยกย้ายไปเรียนชั้นมัธยมปลายต่างโรงเรียนกัน[10][11] เมื่อโช อายุ 7 ขวบ, เขาบังเอิญไปฟัง เรย์ ชาลส์ เล่นฮาร์โมนิก้า และได้เป็นแรงจุดประกาย ที่ทำให้โช ยง-พิลในวัยเด็ก ได้กลายมาเป็นนักดนตรี[ต้องการอ้างอิง]
1968–1975: ยุคแอทคินส์ ไฟฟ์ ฟิงเกอร์ส์ และคิม ทริโอ
[แก้]โช ยง-พิล เริ่มเส้นทางสายดนตรีด้วยการเป็นมือกีตาร์ในวงต่าง ๆ ในปี 1968 เขาได้รวมวงดนตรีร็อกในชื่อ แอทคินส์ และเล่นดนตรีให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา[3][12] หลังจากนั้น เขาได้ก่อตั้งวงไฟฟ์ ฟิงเกอร์ที่เล่นดนตรีโดยศิลปินผิวดำ ต่อมาในปี 1971 โช ได้เข้าร่วมวงคิม ทริโอ[5] ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เล่นเพลงร็อก สมาชิกวงคิม ทริโอ ประกอบด้วย พา คิม (กีตาร์), แดน คิม (กลอง) และ ซ็อน คิม (คีย์บอร์ด)
1976–1992: การเป็นศิลปินเดี่ยว
[แก้]โช ยง-พิล เปิดตัวในฐานะศิลปินเดี่ยว ด้วยซิงเกิลแรกคือ "Come Back to Busan Port ", ซึ่งทำให้เขาได้รับความนิยมจากทั่วประเทศในปีค.ศ.1976 และหลังจากนั้นก็จะโด่งดังไปถึงประเทศญี่ปุ่นด้วย[5][13] โช จึงออกซิงเกิลของเพลงนี้ในรูปแบบภาษาญี่ปุ่น และได้ไปแสดงสดที่ญี่ปุ่นอีกด้วย ในปีเดียวกันเขาถูกกล่าวโทษเรื่องการเสพกัญชา และถูกห้ามแสดงจนถึงปี 1979[5] ในปี 1980 เขาได้ออกอัลบั้มแรก "Woman Outside the Window (창 밖의 여자)" และได้จัดคอนเสิร์ตที่ คาร์เนกี้ ฮอลล์ ใน นครนิวยอร์ก ถือเป็นศิลปินเกาหลีคนแรกที่ได้แสดงที่นั่น[5] ในปี 1988 เขาได้กลายเป็นศิลปินเกาหลีคนแรกที่ได้จัดแสงที่ประเทศจีน ก่อนที่จะมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศเสียอีก[5]
1992–2012: การเสื่อมถอยทางการค้า และการจัดคอนเสิร์ต
[แก้]ความสำเร็จทางการค้าของเขาเริ่มเสื่อมถอยลงหลังจากการเกิดขึ้นของซอแทจีแอนด์บอยส์ และ ศิลปินวัยหนุ่มสาวอีกมากมาย อัลบั้มของโช ยง-พิลช่วงหลังปี 1992 ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไรนัก สังเกตได้จากการที่เขาประกาศว่าจะหยุดออกรายการโทรทัศน์ สรุปว่าเขาไม่อาจทำเพลงฮิตได้สักเพลง[ต้องการอ้างอิง] ในเวลาต่อมา เขามุ่งเน้นการแสดงคอนเสิร์ตมากยิ่งขึ้น ในปี 1993 คอนเสิร์ตของเขาที่ปูซาน มีผู้ชมถึง 1 ล้านคน ถือเป็นสถิติใหม่ของเกาหลีใต้[ต้องการอ้างอิง] ในปีเดียวกัน เขาได้กลายเป็นศิลปินเกาหลีใต้คนแรก ที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุด ในปี 2005 โช ได้ไปจัดแสดงคอนเสิร์ตที่กรุงเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นำปได้ยากสำหรับนักร้องชาวเกาหลีใต้.[5]
2013–2021: Hello และ 50th anniversary
[แก้]เมษายน ค.ศ.2013 โช ยง-พิล ปล่อยอัลบั้มชุดที่ 19 Hello, ซึ่งเปิดตัวในอันดับที่ 1 บนชาร์ตเพลงของเกาหลีใต้ แทบบดบังเพลงเจนเทิลแมนของไซ[14] ในวันที่ 25 เมษายน 2013 โชกลับเข้าสู่วงการโทรทัศน์ในรายการ Hello ซึ่งรายการนี้ได้มีการถ่ายทอดสดบนยูทูบเช่นกัน.[15]
2022: Road to 20-Prelude 1
[แก้]โช ยง-พิลปล่อยซิงเกิลอัลบั้ม Road to 20-Prelude 1 ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ.2022 ber 18, 2022. เพื่อโปรโมทอัลบั้มของเขา เขาได้ปล่อยตัวอย่าง ความยาว 30 วินาทีลงบนช่องยูทูปของเขา ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ในวีดีโอดังกล่าวปนะกอบด้วบเพลงใหม่คือ "Moment" และ "Like Serengeti"และจะจัดคอนเสิร์ตเดี่ยวในปี 2022 คือ Cho Yong-pil and the Great Birth ที่ Olympic Gymnastics Arena กรุงโซล ตั้งแต่ 26-27 พฤศจิกายน และ 3-4 ธันวาคม[16]
2024: 20
[แก้]โช ยง-พิลปล่อยอัลบั้มชุดที่ 20 คือ 20 ในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.2024 เป็นเวลา 11 ปีหลังจากออกอัลบั้มก่อนหน้า[17]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pop legend Cho Yong-pil to hold national tour to mark his 50th anniv". Yonhap News Agency (ภาษาอังกฤษ). February 2, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2018. สืบค้นเมื่อ February 4, 2018.
- ↑ Baek, Byung-yeul (April 18, 2013). "Cho Yong-pil is still Korean king of pop". The Korea Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2019. สืบค้นเมื่อ February 4, 2018.
- ↑ 3.0 3.1 Dong, Sung-hwa (November 20, 2022). "Veteran singers return to stage amid high expectations". The Korea Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ Yoon, Min-sik (April 18, 2018). "Korean 'King of Pop' lives on after half a century". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Yoon, Min-sik (May 18, 2018). "[Eye] Cho Yong-pil, king of Korean pop music". The Korea Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ "Veteran entertainers win cultural order". The Korea Herald. November 10, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021. สืบค้นเมื่อ December 31, 2020.
- ↑ Park, Ji-hoon (December 19, 2013). "올해의 가수는 조용필, 올해의 노래는 '바운스'" ["Singer of the Year is Cho Yong-pil, Song of the Year is 'Bounce'"]. Kookmin Ilbo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2021. สืบค้นเมื่อ June 13, 2021 – โดยทาง Naver.
- ↑ 조용필 소개 [Cho Yong Pil Profile]. Mnet (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 29, 2019. สืบค้นเมื่อ February 4, 2018.
- ↑ "What Brought Singer Cho Yong-pil and Soccer Star Park Ji-seong to Jeongok Port? – Gyeonggi Global". Gyeonggi Global. March 12, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2023. สืบค้นเมื่อ August 19, 2023.
- ↑ 안성기 "가수 조용필은 진짜 거인...창작 의지 귀감된다". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). March 13, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2021. สืบค้นเมื่อ August 14, 2021.
- ↑ 안성기 "경동중 동창 조용필, 나보다 공부 잘해". The Chosun Ilbo (ภาษาเกาหลี). September 12, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2021. สืบค้นเมื่อ August 14, 2021.
- ↑ Kim, Ji-soo (April 13, 2018). "Legendary singer marks five decades". The Korea Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ Park, Jin-hai (September 29, 2013). "Cho Yong-pil unveils album JM/V Japan". The Korea Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ Kim, Tong-hyung (April 29, 2013). "Cho, Psy clean out K-pop from charts". The Korea Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2022. สืบค้นเมื่อ November 20, 2022.
- ↑ 조용필 쇼케이스 인터넷 생중계 25만명 시청...대학축제 섭외 봇물. 헤럴드경제. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2023. สืบค้นเมื่อ April 24, 2013.
- ↑ Yoon, Ki-baek (November 15, 2022). 가왕' 조용필, 신곡 '찰나' '세렝게티처럼' 18일 발매 ['King of Singer' Cho Yong-pil, new songs 'Instant' and 'Like Serengeti' released on the 18th]. Edaily (ภาษาเกาหลี). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2022. สืบค้นเมื่อ November 15, 2022 – โดยทาง Naver.
- ↑ Lee, Min-kyung (October 22, 2024). 조용필, 정규 20집 '20'으로 오늘(22일) 컴백…"자신 믿는다면 늦어도 괜찮아" [Cho Yong-pil, comeback today (22nd (Oct)) with the 20th studio album '20'... "it's okay to be late as long as you believe in yourself"]. Tenasia (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ October 22, 2024 – โดยทาง Naver.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเกาหลี)