โคลิน ราสตัน
โคลิน ลูว์เอลลลิน ราสตัน (อังกฤษ: Colin Llewellyn Raston; เกิด ค.ศ. 1950) เป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์สในเมืองเมืองแอดิเลด รัฐเซาท์ออสเตรเลีย และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสะอาดของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[1] ใน ค.ศ. 2015 โคลินได้รับรางวัลอิกโนเบลจากการคิดค้นวิธีทางเคมีเพื่อแปลงสภาพไข่ต้มกลับไปเป็นไข่ดิบ[2] ใน ค.ศ. 2016 โคลินได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออสเตรเลียจากการสร้างประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์[3]
งานวิจัย
[แก้]งานแรกเริ่ม
[แก้]โคลินเข้าเรียนหนังสือระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมสาขาวิทยาศาสตร์และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตภายใต้การดูแลของอาจารย์อัลลัน ไวท์[1] ผลงานของโคลินขณะนั้นเกี่ยวกับการสำรวจสารหนูอินทรีย์ในทะเลและการสกัดสาร arsenobetaine จากกุ้งมังกรพร้อมกับหาโครงสร้างและวิธิสังเคราะห์[4] ภายหลังโคลินได้รับวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท[1]
การเปลี่ยนไข่ต้มกลับเป็นไข่ดิบ
[แก้]โอแวลบูมินเป็นโปรตีนที่สามารถพบได้ในสัดส่วนสองในสามในไข่ขาว[5] เวลาที่ไข่ถูกทำให้สุก โอแวลบูมินจะเปลี่ยนโครงรูปจากสภาพม้วนพับซึ่งสามารถละลายในน้ำได้เป็นสภาพแผ่นบีตาทั้งหมดซึ่งไม่สามารถละลายในน้ำและมีพื้นที่ไฮโดรโฟบิก ทำให้เกิดการเกาะกลุ่มของโปรตีน[6] นี่คือตัวอย่างของการเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีนซึ่งถูกจำกัดความเป็นการสูญเสียโครงสร้างจตุรภูมิ โครสร้างตติยภูมิ และโครงสร้างทุติยภูมิที่มีอยู่ในสภาพดั้งเดิมของโปรตีน สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการทำให้เกิดภาวะเครียดทางเคมีหรือทางแสง เช่น ความร้อน จากแหล่งภายนอก[7] การที่จะทำให้ไข่ต้มกลับไปเป็นไข่ดิบนั้นต้องแยกสายโปรตีนที่เกาะกลุ่มกันออกแล้วม้วนพับสายโปรตีนให้กลับสู่สภาพดั้งเดิม[8]
โคลินมีแนวคิดที่จะใช้พลังงานกลจากการปั่นกลุ่มก้อนโปรตีนเพื่อแยกสายโปรตีนและได้คิดค้นเทคโนโลยี vortex fluidic ขึ้นมา[9] การทำไข่ต้มกลับไปเป็นไข่ดิบนั้นเป็นเพียงการสาธิตในการใช้เทคโนโลยีนี้ โดยการสาธิตดังกล่าวทำให้โคลินและเพื่อนร่วมงานได้รับรางวัลอิกโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2015[2] เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของยาต้านมะเร็ง เช่น คาร์โบพลาติน[10] และพัฒนาการผลิตของไบโอดีเซล[11]
เกียรติประวัติและรางวัล
[แก้]ความสำเร็จทางอาชีพของราสตันได้รับการยกย่องจากราชสถาบันเคมีออสเตรเลีย (RACI) และราชสมาคมเคมี[1] วันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 2016 ผู้ว่าราชการทั่วไป เซอร์ ปีเตอร์ คอสโกรฟ ประกาศว่าราสตันได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งออสเตรเลียเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระราชินีนาถ ในฐานะที่เขา "บรรลุเป้าหมายในการทำงานวิทยาศาสตร์ด้านเคมีในฐานะนักวิจัยและนักวิชาการ"[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Professor Colin Raston". Flinders University. สืบค้นเมื่อ 16 June 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "Improbable Research – The 2015 Ig Nobel Prize Winners". www.improbable.com. 17 September 2015. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
- ↑ 3.0 3.1 "The Queen's Birthday 2016 Honours List: Officer (AO) in the General Division of the Order of Australia" (PDF). Governor-General of the Commonwealth of Australia. p. 41. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 June 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ Edmonds, J. S.; Francesconi, K. A.; Cannon, J. R.; Raston, C. L.; Skelton, B. W.; White, A. H. (1977). "Isolation, crystal structure and Synthesis of arsenobetaine, the arsenical constituent of the Western Rock Lobster Panulirus longipes cygnus George". Tetrahedron Letters. 18 (18): 1543–1546. doi:10.1016/S0040-4039(01)93098-9.
- ↑ Huntington, J. A.; Stein, P. E. (2001). "Structure and properties of ovalbumin". Journal of Chromatography B. 756 (1–2): 189–198. doi:10.1016/S0378-4347(01)00108-6. PMID 11419711.
- ↑ Hu, H. Y.; Du, H. N. (2000). "α-to-β Structural transformation of ovalbumin: Heat and pH effects". Journal of Protein Chemistry. 19 (3): 177–183. doi:10.1023/A:1007099502179. PMID 10981809.
- ↑ Mosby's Medical Dictionary (9th ed.). Elsevier. 2009. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ Yuan, T. Z.; Ormonde, C. F. G.; Kudlacek, S. T.; Kunche, S.; Smith, J. N.; Brown, W. A.; Pugliese, K. M.; Olsen, T. J.; Iftikhar, M.; Raston, C. L.; Weiss, G. A. (2015). "Shear-stress-mediated refolding of proteins from aggregates and inclusion Bodies". ChemBioChem. 16 (3): 393–396. doi:10.1002/cbic.201402427. PMC 4388321. PMID 25620679.
- ↑ Seidel, J. (23 September 2015). "Over-cooked? Flinders University professor Colin Raston gets Ig Nobel Prize for 'unboiling an egg'". news.com.au. News Corporation. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ Strom, M. (22 May 2015). "Machine that 'uncooks eggs' used to improve cancer treatment". Sydney Morning Herald. สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.
- ↑ Eacott, A. (22 May 2015). "Cancer drug more effective after use of vortex fluidic device invented by Australian researcher". abc.net.au. ABC (Australia). สืบค้นเมื่อ 14 June 2016.