โคลัมบัส (โมดูลของสถานีอวกาศนานาชาติ)

โคลัมบัส (อังกฤษ: Columbus) เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นชิ้นส่วนใหญ่ที่สุดที่สร้างโดยองค์การอวกาศยุโรป (ESA)
โมดูลโคลัมบัสก่อสร้างที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี เช่นเดียวกับโมดูลฮาร์โมนีและโมดูล Tranquility โดยบริษัท Alcatel Alenia Space ที่มีฐานในกรุงโรม การออกแบบสถาปัตยกรรมการใช้งาน (รวมถึงซอฟต์แวร์) ของห้องทดลองดำเนินการโดย EADS ในเยอรมนี และนำมาประกอบรวมกันก่อนจะนำส่งไปที่ศูนย์อวกาศเคนเนดีในฟลอริดา โมดูลถูกนำส่งขึ้นด้วยกระสวยอวกาศแอตแลนติส เที่ยวบิน STS-122 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 โดยได้รับการออกแบบให้มีอายุใช้งานประมาณ 10 ปี การควบคุมการทำงานของโมดูลทำโดยศูนย์ควบคุมโคลัมบัส ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์ควบคุมปฏิบัติการในอวกาศแห่งเยอรมัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (German Aerospace Center หรือ DLR) ที่เมือง Oberpfaffenhofen ใกล้กับเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี
องค์การอวกาศยุโรปใช้เงินในการก่อสร้างโมดูลโคลัมบัสเป็นเงิน 1,400 ล้านยูโร ซึ่งรวมไปถึงเครื่องมือทดลองต่างๆ ที่จะติดตั้งภายในและโครงสร้างพื้นฐานการควบคุมจากภาคพื้นดินที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมการทำงาน[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Harwood, William (February 11, 2008). "Station arm pulls Columbus module from cargo bay". Spaceflightnow.com. สืบค้นเมื่อ 7 August 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: โคลัมบัส (โมดูลของสถานีอวกาศนานาชาติ) |
- ESA: Columbus Laboratory
- ESA: Technical specifications of the Columbus Laboratory
- ESA: Columbus structure completed
- ESA's Columbus blog
- Thales Alenia Space page for Columbus เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
![]() |
บทความเกี่ยวกับการบินอวกาศนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การบินอวกาศ |