โครงการกากเต้าหู้
โครงการกากเต้าหู้ | |||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 豆腐渣工程 | ||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
โครงการกากเต้าหู้ (จีน: 豆腐渣工程; Tofu-dreg project) หรือ อาคารเต้าหู้ เป็นวลีในโลกภาษาจีนเรียกสิ่งปลูกสร้างะอาคารที่สร้างขึ้นอย่างห่วย ๆ ที่บัญญัติเป็นครั้งแรกโดย จู หรงจือ อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศจีนในปี 1998 ขณะเดินทางไปจิ่วเจียง มณฑลเจียงซี เพื่อใช้เรียกพนังกั้นน้ำบนแม่น้ำแยงซีที่สร้างขึ้นอย่างห่วย ๆ[1] และในปี 2008 ได้รับความนิยมในฐานะคำเรียกอาคารที่ถล่มจากแผ่นดินไหวในสีฉวน[2][3][4][5][6][7]
ในจีน คำว่ากากเต้าหู้ (เศษซากที่เหลือจากการผลิตเต้าหู้) มักนำมาใช้เป็นคำอุปมาอุปไมยแทนงานที่ทำขึ้นอย่างลวก ๆ หรือไร้คุณภาพ คำว่าโครงการกากเต้าหู้จึงใช้เรียกโครงการที่ทำขึ้นอย่างไม่มีคุณภาพ[8]
สถาปนิก หลี่ ฮู ระบุว่าจำนวนของสิ่งปลูกสร้างกากเต้าหู้ในจีนมีมากกว่าสิ่งปลูกสร้างที่ปราศจากปัญหาในการก่อสร้าง เขาระบุว่าส่วนใหญ่นั้นอาคารเหล่านี้มักไม่ถล่มลง แต่จะมีอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าปกติหรือมีปัญหาการรั่วซึม[9]
แผ่นดินไหวในสีฉวนปี 2008 มีโรงเรียนจำนวนมากถล่มเป็นผลให้มีเด็กนักเรียนเสียชีวิตจำนวนมาก คำว่าโครงการกากเต้าหู้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอาคารที่ถูกก่อสร้างโดยไม่มีคุณภาพเหล่านี้ ซึ่งเกิดจากการคอร์รัปชั่นในการก่อสร้างอาคาร[10] ใน เดอะโกลบแอนด์เมล รายงานในปี 2008 ว่าอาคารที่สร้างขึ้นอย่างลวก ๆ ไร้คุณภาพเหล่านี้เรียกว่าตึกเต้าหู้ เกิดขึ้นจากการที่ผู้ก่อสร้างลดทอนค่าใช้จ่ายลงโดยการแทนที่แท่งเหล็กกล้าด้วยเส้นลวดโลหะ ใช้ซีเมนต์คุณภาพต่ำ ลดปริมาณอิฐที่ต้องใช้ลง และไม่มีการตรวจสอบว่าคุณภาพสอดรับกับมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยรัฐหรือไม่[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cary, Eve. "China's Dangerous Tofu Projects". thediplomat.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-20.
- ↑ Shuk-ting, Kinnia Yau (2013-12-05). Natural Disaster and Reconstruction in Asian Economies: A Global Synthesis of Shared Experiences (ภาษาอังกฤษ). Springer. ISBN 978-1-137-36416-6.
- ↑ "墨西哥地震學校倒塌 豆腐渣工程核准人判208年 | 國際 | 中央社 CNA". www.cna.com.tw (ภาษาจีน). 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "糗!正恩建設是「豆腐渣工程」 強風一來屋頂直接被吹翻 | ETtoday國際新聞 | ETtoday新聞雲". www.ettoday.net (ภาษาจีนตัวเต็ม). 30 December 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "20秒害死502人:26年前的豆腐渣工程,成为韩国人永远的痛_湃客_澎湃新闻-The Paper". www.thepaper.cn. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "新加坡惊现建筑"豆腐渣"工程". 南洋视界. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ 新加坡眼 (2016-06-19). "新加坡也有豆腐渣工程,倒下的瞬间,太吓人了!". 新加坡眼 (ภาษาChinese (China)). สืบค้นเมื่อ 2022-01-18.
- ↑ "Rising death toll, popular anger in China quake". World Socialist Web Site. May 21, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16.
Pu Changxue, whose son Pu Tong died crushed in a classroom, said: “This was a tofu dregs project and the government should assume responsibility" (...) Tofu dregs—the messy leftovers after making bean curd—are a common expression for low-quality work.
- ↑ Rizzardi, Pier Alessio; Hankun, Zhang (2018). The Condition of Chinese Architecture (ภาษาอังกฤษ). TCA Think Tank. ISBN 978-1-9164537-0-8.
- ↑ "A Construction Engineer's Thoughts on the Sichuan Earthquake". China Digital Times. May 22, 2008.
- ↑ YORK, GEOFFREY (May 15, 2008). "Why China's buildings crumbled Survivors blame corruption, shoddy construction and cost cutting for the collapse of so many 'tofu buildings' – and even state media outlets are asking questions". The Globe and Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2008. สืบค้นเมื่อ February 26, 2009.