โกฐจุฬาลัมพา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกฐจุฬาลัมพา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
สกุล: Artemisia
สปีชีส์: A.  annua
ชื่อทวินาม
Artemisia annua
L.
ชื่อพ้อง[1]
Artemisia chamomilla
C. Winkl.

โกฐจุฬาลัมพา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artemisia annua) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุลโกฐจุฬาลัมพา วงศ์ทานตะวัน ภาษาจีนกลางเรียกว่า หวงฮวาเฮา (黃花蒿) และตำรายาแผนโบราณจีนเรียกส่วนตากแห้งว่า ชิงเฮา (จีน: 青蒿[2][3]; แต้จิ๋ว: cên1 hao1, แชเฮา) เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนประปราย เมื่อแก่หลุดร่วงไป ใบมีต่อมน้ำมัน ดอกช่อ สีเหลืองหรือเหลืองเข้ม พบในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป ทางเหนือของแอฟริกาและทวีปเอเชีย ตำรายาไทยใช้แก้หืด แก้ไอ ขับเหงื่อ[4] ตำรายาจีนใช้แก้ไข้อันเนื่องจากวัณโรค มีสารอาร์ติมิซินิน (จีน: 青蒿素, ชิงเฮาซู่) ที่สามารถต้านเชื้อไข้จับสั่นได้ดี

นอกจากนี้ อาร์ทีมิซินิน (อังกฤษ: Artemisinin) ยังเป็นสารที่อยู่ในระหว่างการวิจัยเพื่อใช้รักษามะเร็งปอด, ลำใส้ใหญ่, เต้านม และ ปากมดลูก[5] รวมถึงโควิด19[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. The Plant List Artemisia annua L.
  2. 中国药典2015版第一部 (PDF) (ภาษาจีน). 中国医药科技出版社. p. 198<. ISBN 9787506773379. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-19. สืบค้นเมื่อ 19 January 2017. 本品为菊科植物黄花蒿 Artemisia annua L. 的干燥地上部分。秋季花盛开时采割,除去老茎,阴干。
  3. "抗瘧疾中藥──青蒿研究新知". 卫福部国家中医药研究所. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2017-01-19. 青蒿為菊科(Compositae)植物黃花蒿(Artemisia annua L.)的乾燥地上部分,性寒,味苦、辛,歸肝、膽經,主治暑邪發熱、陰虛發熱、夜熱早涼、骨蒸勞熱、瘧疾寒熱、濕熱黃疸
  4. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์ (2548). คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม ๕ คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. หน้า 95–97. ISBN 978-974-27-2916-5.
  5. Raffetin, A; Bruneel, F; Roussel, C; Thellier, M; Buffet, P; Caumes, E; Jauréguiberry, S (5 February 2018). "Use of artesunate in non-malarial indications". Medecine et maladies infectieuses. doi:10.1016/j.medmal.2018.01.004. PMID 29422423.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Tu Youyou (2019). De Artemisia annua L. aux artémisinines - La découverture et le développement des artémisinines et des agents antipaludiques. Quintesciences (ภาษาฝรั่งเศส). EDP sciences. ISBN 978-2-7598-2394-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]