โกฐขี้แมว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกฐขี้แมว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Lamiales
วงศ์: Orobanchaceae
สกุล: Rehmannia
สปีชีส์: R.  glutinosa
ชื่อทวินาม
Rehmannia glutinosa
(Gaertn.) Steud.[1]

โกฐขี้แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rehmannia glutinosa) อยู่ในวงศ์ Orobanchaceae ภาษาจีนกลางเรียกตี่หวาง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกตี่อึ้ง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีขนปกคลุมทั่วทั้งต้น รากเป็นหัวใต้ดินอวบหนา รูปกระสวย เมื่อสดเป็นสีส้ม ใบออกที่โคนต้นเป็นกระจุก ดอกช่อออกตามซอกใบหรือปลายยอด เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศจีน ปัจจุบันมีปลูกเป็นการค้าในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อนำรากมาทำยา

สรรพคุณทางยา[แก้]

รากสดเรียกเซียนตี่หวาง ใช้แก้ไข้ที่ทำให้คอแดง กระหายน้ำ ไอเป็นเลือด รากแห้งเรียกกานตี่หวาง (จีน: 干地黄) ใช้แก้ไข้ ไอเป็นเลือด เลือดออกจากมดลูก แก้ท้องผูก รากที่เคี่ยวกับเหล้าแล้วนำมาตากแห้งเรียกซู่ตี่หวาง หรือเสกตี่อึ้งในภาษาจีนแต้จิ๋ว ใช้แก้ปวดตะโพก ปวดเบา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โลหิตจาง ประจำเดือนมากเกินไป สารออกฤทธิ์ส่วนใหญ่เป็นไกลโคไซต์ อิชิคอยด์

อ้างอิง[แก้]

  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 5 คณาเภสัช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2548.
  1. "Rehmannia glutinosa information from NPGS/GRIN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.