แอ็นสท์ ฟรีดริช ชูมัคเคอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอ็นสท์ ฟรีดริช ชูมัคเคอร์
เกิด19 สิงหาคม ค.ศ. 1911(1911-08-19)
บ็อน, จักรวรรดิเยอรมนี
เสียชีวิต19 สิงหาคม ค.ศ. 1977(1977-08-19) (66 ปี)
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
การศึกษามหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดและมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
อาชีพนักเศรษฐศาสตร์

แอ็นสท์ ฟรีดริช "ฟริทซ์" ชูมัคเคอร์ (เยอรมัน: Ernst Friedrich "Fritz" Schumacher; 19 สิงหาคม ค.ศ. 1911 – 4 กันยายน ค.ศ. 1977) เป็นผู้มีอิทธิพลระดับนานาชาติ ในการเป็นนักคิดทางสถิติและเศรษฐศาสตร์ในสหราชอาณาจักร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและเป็นหัวหน้าคณะกรรมการถ่านหินแห่งสหราชอาณาจักร[1] ความคิดของเขากลายเป็นที่พูดถึงไปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และเขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับบทวิจารณ์เศรษฐกิจตะวันตกและข้อเสนอเกี่ยวกับสำหรับเทคโนโลยีระดับมนุษย์ เทคโนโลยีการกระจายอำนาจ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม

วัยเด็กและในวิทยาลัย[แก้]

ชูมัคเคอร์เกิดที่เมืองบ็อน ประเทศเยอรมนี ในปี ค.ศ. 1911 พ่อของเขาเป็นอาจารย์เศรษฐศาสตร์การเมือง ชูมัคเคอร์เรียนที่เมืองบ็อนและเบอร์ลิน และประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนโรดส์ และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ในปี 1930[2] ภายหลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐ เขาทำงานในธุรกิจ, ฟาร์ม และวารสารศาสตร์[2]

เศรษฐศาสตร์[แก้]

การคิดนอกกรอบ[แก้]

ในปี ค.ศ. 1955 ชูมัคเคอร์ได้เดินทางไปยังประเทศพม่า เพื่อเป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจในขณะนั้น เขาได้พัฒนาหลักการเศรษฐกิจโดยเขาเรียกว่า "พุทธเศรษฐศาสตร์" บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า บุคคลต้องทำงานที่ดีสำหรับการพัฒนามนุษย์ที่เหมาะสม

นอกจากนั้นเขายังประกาศอีกว่า "การผลิตทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับความต้องการของท้องถิ่น เป็นวิธีการที่มีเหตุผลมากที่สุดของชีวิตบนทางเศรษฐกิจ" ชูมัคเคอร์ได้เดินทางไปยังประเทศแถบกลุ่มโลกที่สามเพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นสร้างเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง ประสบการณ์ของของชูมัคเคอร์ ทำให้เขากลายเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีแบบ appropriate technology:เทคโนโลยีระบบนิเวศที่เหมาะใช้บังคับกับขนาดชุมชน เป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับอีวาน อิลลิช

ในปี ค.ศ. 1966 ทฤษฎีของเขาได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับการรวมลักษณะประจำตัว เช่น ขนาดกลาง", และ "เทคโนโลยีระดับกลาง" เขาเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของ สกอตต์ แบเดอร์ คอมมอนเวลท์[3] และในปี 1970 เขาก็ได้เป็นประธานสมาคมดิน

ชูมัคเคอร์ได้รับอิทธิพลจากมหาตมา คานธี และเจซี คุมาราปปา และแนวคิดของคานธี เรื่อง "เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และในปี ค.ศ. 1973 ชูมัคเคอร์กล่าวถึงแนวคิดของคานธีว่า เป็นแนวคิด 'เศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคน' และเข้ากันได้เมื่อเทียบกับวัตถุนิยม[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Biography on the inner dustjacket of Small Is Beautiful
  2. 2.0 2.1 Biography on the inner dustjacket of Small Is Beautiful
  3. "Scott Bader Commonwealth website: Governance page". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-26. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
  4. "Surur Hoda (1928–2003)". Gandhi Foundation. 7 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-23. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]