แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์. (ฝรั่งเศส: L.H.O.O.Q., ออกเสียง: [ɛl aʃ o o ky]) เป็นผลงานศิลปะโดยมาร์แซล ดูว์ช็อง เปิดตัวครั้งแรกในปี 1919 และเป็นหนึ่งในผลงานที่มาร์แซลเรียกว่าเป็นเรดีเมดส์ หรือเรียกให้เฉพาะเจาะจงว่า เรดีเมดที่ถูกต้อง (rectified ready-made)[1] ผลงานเรดีเมดของเขาเป็นการประกอบขึ้นจากการนำเอาวัตถุที่เน้นการใช้สอย (utilitarian objects) ซึ่งมักไม่ถือว่าเป็นงานศิลปะมาดัดแปลงหรือแต่เปลี่ยนชื่อและการจัดวาง (เช่นในผลงานชิ้นเอก ฟาวน์เทน)[2] ใน แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์. มีฟาวนด์ออบเจ็กต์ (objet trouvé) เป็นไปรษณียบัตรราคาถูกรูป โมนาลิซา ผลงานที่มีชื่อเสียงของเลโอนาร์โด ดาวินชี ซึ่งดูว์ช็องใช้ดินสอวาดหนวดและเติมชื่อผลงานลงไป[3]

ภาพรวม[แก้]

การนำเอาโมนาลิซามาใช้ในทางเสียดสี ล้อเลียน ปรากฏมาตั้งแต่ปี 1887 โดยเออแฌน บาตาอีย์ เมื่อเขาสร้างผลงานรูปโมนาลิซาสูบไปป์เผยแพร่ในนิตยสาร เลอรีร์[4]

ชื่อของผลงาน แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์. นั้นเป็นการเล่นคำ โดยเมื่อออกเสียงอักษรเหล่านี้ต่อเนื่องกันในภาษาฝรั่งเศสจะฟังดูคล้ายกับประโยค แอลาโชโอกูล (Elle a chaud au cul) ซึ่งแปลว่า "เธอมีก้นที่เร่าร้อน" ("She is hot in the arse"[5] หรือ "She has a hot ass")[6] ดูว์ช็องเคยให้สัมภาษณ์โดยระบุคำแปลคร่าว ๆ ของ แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์. ไว้ว่า "มีไฟเร่าร้อนอยู่ข้างล่างนั่น" ("there is fire down below")

รุ่น[แก้]

  • 1919 – ของสะสมส่วนบุคคล, ปารีส
  • 1920 – ไม่ทราบที่อยู่ปัจจุบัน
  • 1930 – ชิ้นเลียนแบบขนาดใหญ่, ของสะสมส่วนบุคคล, ปารีส, ให้ยืมแก่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งชาติ
  • 1940 – งานสร้างใหม่เป็นรูปสี ถูกขโมยไปในปี 1981 และสูญหายนับจากนั้น
  • 1958 – ของสะสมของอันตอนี ตาปิอัส, บาร์เซโลนา
  • 1960 – สีน้ำมันบนไม้, ของสะสมของโดโรเธีย แทนนิง, นิวยอร์ก
  • 1964 – ชิ้นเลียนแบบสามสิบแปดชิ้น, ของสะสมของอาร์ตูโร ชวาตส์, มิลาน
  • 1965 – L.H.O.O.Q. Shaved ("แอล.อัช.โอ.โอ.กูว์. โกนหนวดแล้ว") งานสร้างใหม่ในรูปไพ่ ซึ่งไม่มีการเติมหนวดบนหน้าโมนาลิซา แต่ปรากฏอักษร LHOOQ rasée ด้านล่าง

อ้างอิง[แก้]

  1. Marcel Duchamp, L.H.O.O.Q. or La Joconde, 1964 (replica of 1919 original) Norton Simon Museum, Pasadena.
  2. Rudolf E. Kuenzli, Dada and Surrealist Film, MIT Press, 1996, p. 47, ISBN 026261121X
  3. More recent scholarship suggests that Duchamp laboriously altered the postcard before adding the moustache, including merging his own portrait with that of Mona Lisa. See Marco de Martino, "Mona Lisa: เก็บถาวร 20 มีนาคม 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Who Is Hidden Behind the Woman With the Moustache?"
  4. Coquelin, Ernest, Le Rire (2e éd.) / par Coquelin cadet ; ill. de Sapeck, Bibliothèque nationale de France
  5. Kristina, Seekamp (2004). "L.H.O.O.Q. or Mona Lisa". Unmaking the Museum: Marcel Duchamp's Readymades in Context. Binghamton University Department of Art History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-12.
  6. Anne Collins Goodyear, James W. McManus, National Portrait Gallery (Smithsonian Institution), Inventing Marcel Duchamp: The Dynamics of Portraiture, National Portrait Gallery, Smithsonian Institution, 2009, contributors Janine A. Mileaf, Francis M. Naumann, Michael R. Taylor, ISBN 0262013002

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Theodore Reff, "Duchamp & Leonardo: L.H.O.O.Q.-Alikes", Art in America, 65, January–February 1977, pp. 82–93
  • Jean Clair, Duchamp, Léonard, La Tradition maniériste, in Marcel Duchamp: tradition de la rupture ou rupture de la tradition?, Colloque du Centre Culturel International de Cerisy-la-Salle, ed. Jean Clair, Paris: Union Générale d'Editions, 1979, pp. 117–44

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]