แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน
แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซิน (อังกฤษ: Alpha 1-antichymotrypsin; สัญลักษณ์ α1AC,[3] A1AC หรือ a1ACT) เป็นไกลโคโปรตีนประเภทแอลฟากลอบูลินในมหาวงศ์เซอร์ปิน ในมนุษย์ โปรตีนชนิดนี้จะถูกถอดรหัสได้โดยยีน SERPINA3 ถูกจัดเป็นหนึ่งในโปรตีนระยะเฉียบพลันที่ตอบสนองต่อกระบวนการอักเสบในระยะต้น มีหน้าที่ในการต้านเอนไซม์โปรตีเอสที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย[4] หากเกิดการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างหรือเกิดความผิดปกติของ α1AC อาจนำไปสู่การเกิดโรคพาร์คินสัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[5] และโรคอัลไซเมอร์ได้[4]
หน้าที่และความสำคัญทางคลินิก[แก้]
แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินถูกสร้างได้ในตับ จัดเป็นโปรตีนระยะเฉียบพลัน (acute phase protein) ที่ถูกกระตุ้นได้ด้วยกระบวนการอักเสบ โดยจะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานเอนไซม์ในกลุ่มโปรตีเอส อาทิ คาเทบซิน จีที่พบในนิวโตรฟิล และไคเมสที่อยู่ในแมสต์เซลล์ ด้วยการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซม์เหล่านั้นจนทำให้มีรูปร่างหรือโครงรูปที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยปกป้องเนื้อเยื่อต่างๆ จากความเสียหายได้ ตัวอย่างเช่น ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อของทางเดินหายใจส่วนล่างจากเอนไซม์ย่อยสลายโปรตีนในร่างกาย[4]
ภาวะพร่องแอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินมักมีความสัมพันธ์กับโรคตับ โดยตรวจพบการกลายพันธุ์ของยีน SERPINA3 ในผู้ป่วยโรคพาร์คินสัน และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง[5] นอกจากนี้ แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของโรคอัลไซเมอร์ด้วยการกระตุ้นการสร้างเส้นใยแอมีลอยด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเกิดการเสื่อมของระบบประสาทในผู้ป่วยโรคดังกล่าว[4]
อันตรกิริยา[แก้]
การทดลองในหลอดทดลองพบว่า แอลฟาวัน-แอนติไคโมทริปซินสามารถเกิดอันตรกิริยากับ DNAJC1 ซึ่งเป็นโปรตีนจากเซลล์มะเร็งของหนู โดย DNAJC1 จะทำให้คุณสมบัติในการยับยั้งไคโมทริปซินของ α1AC หายไป[6]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000196136 - Ensembl, May 2017
- ↑ "Human PubMed Reference:".
- ↑ Logan, Carolynn M.; Rice, M. Katherine (1987). Logan's Medical and Scientific Abbreviations. Philadelphia: J. B. Lippincott Company. p. 3. ISBN 0-397-54589-4.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Kalsheker N (1996). "Alpha 1-antichymotrypsin". Int. J. Biochem. Cell Biol. 28 (9): 961–4. doi:10.1016/1357-2725(96)00032-5. PMID 8930118.
- ↑ 5.0 5.1 "Entrez Gene: SERPINA3 serpin peptidase inhibitor, clade A (alpha-1 antiproteinase, antitrypsin), member 3".
- ↑ Kroczynska B, Evangelista CM, Samant SS, Elguindi EC, Blond SY (March 2004). "The SANT2 domain of the murine tumor cell DnaJ-like protein 1 human homologue interacts with alpha1-antichymotrypsin and kinetically interferes with its serpin inhibitory activity". J. Biol. Chem. 279 (12): 11432–43. doi:10.1074/jbc.M310903200. PMC 1553221. PMID 14668352.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Janciauskiene S, Wright HT (1999). "Inflammation, antichymotrypsin, and lipid metabolism: autogenic etiology of Alzheimer's disease". BioEssays. 20 (12): 1039–46. doi:10.1002/(SICI)1521-1878(199812)20:12<1039::AID-BIES10>3.0.CO;2-Z. PMID 10048303.
- Kalsheker N, Morley S, Morgan K (2002). "Gene regulation of the serine proteinase inhibitors alpha1-antitrypsin and alpha1-antichymotrypsin". Biochem. Soc. Trans. 30 (2): 93–8. doi:10.1042/BST0300093. PMID 12023832.
- ฐานข้อมูลออนไลน์ MEROPS สำหรับเปปทิเดส และสารยับยั้งเปปทิเดส: I04.002
- Alpha 1-antichymotrypsin ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)
- ตำแหน่งจีโนม SERPINA3 ของมนุษย์ และหน้าเพจแสดงข้อมูลเกี่ยวกับยีน SERPINA3 ใน UCSC Genome Browser
- ข้อมูลเชิงโครงสร้างทั้งหมดของ UniProt: P01011 (Human Alpha-1-antichymotrypsin) สามารถเข้าถึงได้ในธนาคารข้อมูลโปรตีนของ PDBe-KB.