แอร์เอเชียฟิลิปปินส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟิลิปปินส์แอร์เอเชีย
IATA ICAO รหัสเรียก
Z2 APG COOL RED
ก่อตั้ง16 ธันวาคม 2010; 13 ปีก่อน (2010-12-16)
เริ่มดำเนินงาน28 มีนาคม 2012; 12 ปีก่อน (2012-03-28)
AOC #2009003[1]
ฐานการบิน
สะสมไมล์BIG Loyalty Programme[2]
ขนาดฝูงบิน15
จุดหมาย30
บริษัทแม่แอร์เอเชีย
สำนักงานใหญ่ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อาคิโน
ปาไซ, เมโทรมะนิลา, ฟิลิปปินส์
บุคลากรหลัก
  • Marianne Victoria B. Hontiveros (หัวหน้า)
  • Ricardo P. Isla (ประธาน & CEO)[3]
  • Atty. Josephine Joy D. Cañeba (Vice President)
  • Dexter P. Comendador (COO)
  • Nancy Jane G. Mejia, CPA (CFO)
เว็บไซต์www.airasia.com

แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ เป็นสายการบินราคาประหยัด ในประเทศฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่า low-cost carrier[4] แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ เกิดจากการร่วมลงทุนของนักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์ ได้แก่ นางแมเรียน บี. ฮอนติเวรอส, นายอันโตนิโอ โคฮวนโก จูเนียร์และนายไมเคิล โรเมโร ในสัดส่วนเท่าๆกันรวม 60% และอีก 40% เป็นของแอร์เอเชีย เบอร์ฮัด แอร์เอเชียมาเลเซีย โดยจัดตั้งบริษัท AirAsia Incorporated (AirAsia Inc.) หรือ แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ บริษัทร่วมทุนได้รับการอนุมัติเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยคณะกรรมการการลงทุน, ซึ่งเป็นหน่วยงานในประเทศฟิลิปปินส์.[5]
โดยมีสนามบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก หรือ สนามบินนานาชาติ Diosdado Macapagal [6] ในเมืองแอนเจลิส โดยใช้เวลาประมาณ 90 นาทีในการเดินทางไปกรุงมะนิลา การเลือกใช้ ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก เป็นหนึ่งในพันธกิจของสายการบินที่จะพัฒนาศูนย์กลางการคมนาคมและการท่องเที่ยวภายนอกกรุงมะนิลา และเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาประเทศในภาพรวม โดยแอร์เอเชีย ฟิลิปปินส์ วางแผนจะสร้าง ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์กให้เป็นศูนย์กลางการบินไปสู่จุดหมายที่ได้รับความนิยม อาทิ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จีน ไทย เกาหลี และญี่ปุ่น เพื่อให้การเดินทางจะเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบาย

ประวัติ[แก้]

เนื่องจากรัฐธรรมนูญของประเทศฟิลิปปินส์ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศฟิลิปปินส์ 100% จึงได้มีการร่วมลงทุนของนักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์ และ แอร์เอเชีย เบอร์ฮัด แอร์เอเชียมาเลเซีย ในสัดส่วน 60% และ 40%. บริษัทร่วมทุนได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553 โดยคณะกรรมการการลงทุน, ซึ่งเป็นหน่วยงานในประเทศฟิลิปปินส์
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554, แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ได้รับมอบ เครื่องบินแอร์บัส A320 ลำใหม่เป็นลำแรก ที่ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์กในเมืองแอนเจลิส ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ได้รับมอบเครื่องบินแอร์บัส A320 เป็นลำที่ 2 เพิ่มเข้าฝูงบินด้วย, รวมเครื่องบินแอร์บัส A320 ในฝูงบิน เป็นจำนวน 2 ลำ และ จะเพิ่มจำนวนเครื่องบินแอร์บัส A320s เข้ามาในฝูงบินขึ้นอีก 4 ลำ ภายในเดือนมิถุนายนของปีพ.ศ. 2555.
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555, สายการบินแอร์เอเชียฟิลิปปินส์ ได้รับหนังสือรับรองผู้ประกอบการการบิน[7] จากหน่วยงานการบินพลเรือนของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะทำให้สายการบินได้รับอนุญาตให้บินในน่านฟ้าของประเทศฟิลิปปินส์ด้วย
ในปัจจุบัน แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ ได้เข้าซื้อกิจการของ สายการบิน เซสต์แอร์ และได้ย้ายฐานการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์กในเมืองแอนเจลิส มาให้บริการที่ ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อควิโน ที่กรุงมะนิลา เป็นท่าอากาศยานหลัก และได้เปลี่ยนชื่อ สายการบิน เซสต์แอร์ เป็น แอร์เอเชียเซสต์ (Z2) โดยให้บริการร่วมกันใน 3 เมืองหลักคือ เมืองเซบู , เมืองคาลิโบ้ และ เมืองดาเวา

จุดหมายปลายทาง[แก้]

แอร์เอเชียฟิลิปปินส์ จะเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A320-200 ลำใหม่ โดยเริ่มดำเนินการภายในประเทศฟิลิปปินส์เป็นอันดับแรก โดยจุดหมายปลายทางดังต่อไปนี้

ฝูงบิน[แก้]

แอร์บัส เอ320-200

ข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2022 จำนวนฝูงบินของสายการบินแอร์เอเชียฟิลิปปินส์:

ฝูงบินของสายการบินแอร์เอเชียฟิลิปปินส์
เครื่องบิน ประจำการ สั่งซื้อ จำนวนผู้โดยสาร หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 15 180
186
รวม 15

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ACTIVE/CURRENT AOC HOLDERS" (PDF). Civil Aviation Authority of the Philippines. May 30, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-18. สืบค้นเมื่อ January 8, 2023.
  2. "Join BIG! AirAsia BIG Loyalty Programme". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 May 2008.
  3. Valdez, Denise A. (31 July 2019). "AirAsia PHL names new CEO". BusinessWorld.
  4. http://www.mb.com.ph/articles/293287/airasia-launches-philippine-joint-venture
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  6. http://www.dmia.ph
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.