แอร์ตาฮีตี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอร์ตาฮีตี
IATA ICAO รหัสเรียก
VT VTA AIR TAHITI
ก่อตั้ง1987; 37 ปีที่แล้ว (1987)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติฟาอา
ขนาดฝูงบิน9
จุดหมาย48
สำนักงานใหญ่เฟรนช์พอลินีเชีย ฝรั่งเศส ตาฮีตี, เฟรนช์พอลินีเซีย, ประเทศฝรั่งเศส
บุคลากรหลัก
  • James Estall (CEO)
  • Manate Vivish (ผู้บริหาร)
เว็บไซต์https://www.airtahiti.com/

แอร์ตาฮีตี (อังกฤษ: Air Tahiti) เป็นสายการบินสัญชาติฝรั่งเศส โดยให้บริการเที่ยวบนในบริเวณเฟรนช์พอลินีเซีย แอร์ตาฮีตีมีท่าหลักอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติฟาอา

ประวัติ[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

สายการบินได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1950 โดยJean Arbelot และ Marcel Lasserre[1] เริ่มแรกให้บริการเที่ยวบินระหว่างปาเปเอเต, ราอีอาเตอา, และบอราบอรา[2] โดยใช้เครื่องบินทะเล กรัมแมน วิดเจียน จี-4F

ในปี ค.ศ. 1951 กระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศสได้ซื้อเครื่องบินทะเลกรัมแมน มัลลาร์ด ให้กับสายการบิน[1]  ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1951 ได้มีการเปิดบริการไปรษณีย์รายปักษ์ระหว่างปาเปเอเตและไอตูตากีในหมู่เกาะคุก ในเที่ยวบินแรกมีการปฏิเสธเที่ยวบินเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับโรคโปลิโอ[3] แล้วจึงได้ทำการบินในเที่ยวต่อมา ก่อนที่จะถูกยกเลิกในปีค.ศ. 1952 เมื่อทีล (TEAL) ขยายเส้นทางมายังปาเปเอเต[4] แอร์ตาฮิติค่อยๆ ขยายเส้นทางบินไปยังเกาะต่างๆ ของเฟรนช์พอลินีเซีย

อาร์เอไอ: RAI[แก้]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 ดินแดนได้โอนย้ายเครื่องบินให้กับ Régie Aérienne Interinsulaire (RAI "interisland Aviation board") ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Transports Aériens Intercontinentaux ซึ่งเข้ามารับช่วงต่อการขนส่งทางอากาศในเฟรนช์โปลินีเซีย[1]  RAI ได้ซื้อเครื่องบินทะเล PBY Catalina รวมสองลำเพื่อขยายการเชื่อมโยงระหว่างหมู่เกาะเฟรนช์โปลินีเซีย[5]

ในปี 1958 RAI ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Réseau Aérien Interinsulaire (Inter-Island Aviation Network)[1]  แต่ยังคงใช้งานเครื่องบินทะเลต่อไปและมีการขยายเครือข่ายเพิ่มเติม[1]  และยังใช้เรือบินชอร์ตแซนดริงแฮมในการทำเที่ยวบินระหว่างบอราบอราและปาเปเอเต[6][7] ต่อมาในปีค.ศ. 1960 ก็ได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติฟาอา รวมถึงท่าอากาศยานอีกหลายๆแห่ง RAI จึงได้เปลี่ยนแปลงฝูงบินไป

แอร์พอลินีซีย์[แก้]

ในปี 1970 RAI ได้เปลี่ยนชื่อแบรนด์อีกครั้งในชื่อ แอร์พอลินีซีย์[1]  ชื่อเล่นว่า "แอร์โพ" โดยชาวโพลินีเซียน[8] บริษัทยืนยันอัตลักษณ์ของโพลินีเซียนมากขึ้นและให้บริการตามปกติทั่วเฟรนช์พอลินีเซีย สายการบินมี "การผูกขาดเสมือน" เนื่องจากการประชุมกับรัฐบาลดินแดน[9] ในขั้นต้นปฏิบัติการเรือบินชอร์ตแซนดริงแฮม, ดักลาส ดีซี-4 และเดอฮาวิลแลนด์แคนาดา ดีเอชซี-6 ต่อมาได้เพิ่มบริทเทน-นอร์มัน บีเอ็น-2 และฟอกเกอร์ 72 สองลำ เริ่มดำเนินการที่ฮัวเฮเน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1971[10]

แอร์ตาฮีตี[แก้]

ในปีค.ศ. 1985 อดีตสายการบิน UTA ขายหุ้นส่วนใหญ่ของแอร์พอลินีซีย์โดยมอบ 25% ให้กับรัฐบาลพอลินีเซียฝรั่งเศสและอีก 45% ขายให้กับนักลงทุนในท้องถิ่น  ในปีค.ศ. 1987 สายการบินถูกเปลี่ยนชื่อเป็นแอร์ตาฮีตีอีกครั้ง โดยใช้เครื่องบินใบพัดระดับภูมิภาค เอทีอาร์ 42 และ 72[11]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

แอร์ตาฮีตีให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทาง 48 จุดหมายในเฟรนช์พอลินีเซีย, นิวซีแลนด์, และหมู่เกาะคุก

ฝูงบิน[แก้]

เอทีอาร์ 72 ในลวดลายเฉลิมฉลอง 60 ปีของสายการบิน

ณ เดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 แอร์ตาฮีตีมีเครื่องบินประจำการในฝูงบิน ดังนี้:[12][13]

ฝูงบินของแอร์ตาฮีตี
เครื่องบิน จำนวน ผู้โดยสาร หมายเหตุ
เอทีอาร์ 42-600 2 48
เอทีอาร์ 72-600 7 78
Total 9

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์[แก้]

  • วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1991; แอร์ตาฮีตี เที่ยวบินที่ 805 เครื่องบินดอร์เนีย 228 ได้ลงจอดในน้ำหลังจากเครื่องยนต์ล้มเหลว ขณะที่กำลังลงจอดที่ท่าอากาศยานนูกูฮิวา ผู้โดยสารและลูกเรือ 10 ใน 20 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุนี้[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Une histoire du ciel polynésien / A history of the Polynesian skies" (PDF). Air Tahiti Magazine. No. 94. 2017. pp. 90–98. Retrieved 12 November 2021.
  2. "Tahiti at the Hour of Jets". Pacific Islands Monthly. Vol. XXXI, no. 11. 1 June 1961. pp. 111–115. Retrieved 12 November 2021 – via National Library of Australia.
  3. "SENT AWAY AGAIN Extraordinary Treatment of French Mail Plane in Cook Is". Pacific Islands Monthly. Vol. XXI, no. 11. 1 June 1951. p. 9. Retrieved 12 November 2021 – via National Library of Australia.
  4. "AIR TAHITI DISCONTINUES COOK IS. SERVICE". Pacific Islands Monthly. Vol. XXII, no. 12. 1 July 1952. p. 58. Retrieved 12 November 2021 – via National Library of Australia.
  5. "Vol. XXV, No. 4 (Nov. 1, 1954)". Trove (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Vol. XXXI, No. 11 ( Jun. 1, 1961)". Trove (ภาษาอังกฤษ).
  7. "Airline Timetable Images". www.timetableimages.com.
  8. "Air Polynésie - Official website - Air Tahiti". Official website (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. "Vol. 50, No. 7 ( Jul. 1, 1979)". Trove (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Vol. 42, No. 5 ( May. 1, 1971)". Trove (ภาษาอังกฤษ).
  11. "AIR TAHITI SET FOR A BIG YEAR". Le Courrier Australien. 10 เม.ย. 1987. สืบค้นเมื่อ 2022-10-08.
  12. "Air Tahiti Fleet Details and History". www.planespotters.net.
  13. "Notre flotte - Siteweb officiel - Air Tahiti". Siteweb officiel (ภาษาฝรั่งเศส).
  14. Ranter, Harro. "ASN Aircraft accident Dornier 228-212 F-OHAB Nuku Hiva Airport (NHV)". www.aviation-safety.net.