แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 นัดชิงชนะเลิศ
สนามกีฬาโอเลมเบเป็นสถานที่แข่งขันนัดชิงชนะเลิศ
รายการแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021
หลังต่อเวลาพิเศษ
เซเนกัลชนะการดวลลูกโทษ 4–2
วันที่6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 (2022-02-06)
สนามสนามกีฬาโอเลมเบ, ยาอุนเด
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
Mohamed Abou Gabal (อียิปต์)[1]
ผู้ตัดสินวิกตูร์ โกมึซ (แอฟริกาใต้)
2019
2023

แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 นัดชิงชนะเลิศ จะเป็นการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะจากการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 โดนเป็นการพบกันระหว่างเซเนกัลกับอียิปต์[2][3] นัดชิงชนะเลิศจะแข่งขันกันในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ที่สนามกีฬาโอเลมเบที่ยาอุนเดในประเทศแคเมอรูน

ภูมิหลัง[แก้]

แอฟริกาคัพออฟเนชันส์เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ระดับทวีปของฟุตบอลทีมชาติในทวีปแอฟริกา อยู่ภายใต้การดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา การแข่งขันปี 2021 เป็นการแข่งขันครั้งที่ 33 ของรายการนับตั้งแต่ที่จัดแข่งครั้งแรกในปี 1957 เจ้าภาพในการแข่งขันครั้งแรกนี้คือแคเมอรูน ซึ่งเดิมจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันปี 2019 อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าในการก่อสร้างสนามและปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ทำให้ซีเอเอฟตัดสินใจยกเลิกสิทธิ์การเป็นเจ้าภาพในปี 2019 ของแคเมอรูน[4] และให้อียิปต์เป็นเจ้าภาพแทน ประธานซีเอเอฟ อามัด อามัด ได้กล่าวว่าแคเมอรูนจะได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันปี 2021 แทน[5] การแข่งขันครั้งนี้เป็นเพียงครั้งที่สองของรายการที่มีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 24 ทีม โดยทีมทั้งหมดจะถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม ทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่ม รวมถึงทีมอันดับที่สามที่ดีที่สุดอีกสี่ทีม จะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก

อียิปต์เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 25 และเข้าชิงชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่ 10 โดยก่อนหน้านี้ พวกเขาชนะเลิศ 7 ครั้ง (1957, 1959, 1986, 1998, 2006, 2008, 2010) และแพ้ 2 ครั้ง (แพ้เอธิโอเปียในปี 1962[6][7] และแพ้แคเมอรูนในปี 2017) ก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์ อียิปต์เป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้มากที่สุดที่ 9 ครั้ง เทียบเท่ากับกานา[6] แต่หลังจากที่พวกเขาชนะแคเมอรูนในรอบรองชนะเลิศ อียิปต์จึงกลายเป็นทีมที่เข้าชิงชนะเลิศแอฟริกาคัพออฟเนชันส์มากที่สุดเพียงทีมเดียว เซเนกัลเข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 16 และได้เข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่ 3 โดย 2 ครั้งก่อนหน้านี้ที่เข้าชิง พวกเขาแพ้ทั้งหมด (แพ้แคเมอรูนในปี 2002 และแพ้แอลจีเรียในปี 2019) เซเนกัลเป็นทีมที่สองที่เข้าชิงชนะเลิศรายการนี้สองครั้งติดต่อกัน ต่อจากอียิปต์ที่เคยทำได้สามครั้งติดต่อกันในปี 2006, 2008 และ 2010 และนี่เป็นครั้งที่ทั้งสองทีมได้พบกันในนัดชิงชนะเลิศ

ก่อนที่เริ่มทัวร์นาเมนต์ เซเนกัลเป็นทีมจากทวีปแอฟริกาที่มีอันดับโลกฟีฟ่าดีที่สุด (อันดับที่ 20) ในขณะที่อียิปต์อยู่อันดับที่ 6 ของทวีป (อันดับที่ 45 ของโลก)[8]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

ธงชาติเซเนกัล เซเนกัล รอบ ธงชาติอียิปต์ อียิปต์
คู่แข่ง ผล รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่ง ผล
ธงชาติซิมบับเว ซิมบับเว 1–0 นัดที่ 1 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 0–1
ธงชาติกินี กินี 0–0 นัดที่ 2 ธงชาติกินี-บิสเซา กินี-บิสเซา 1–0
ธงชาติมาลาวี มาลาวี 0–0 นัดที่ 3 ธงชาติซูดาน ซูดาน 1–0
ชนะเลิศ กลุ่มบี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 ธงชาติเซเนกัล เซเนกัล 3 5
2 ธงชาติกินี กินี 3 4
3 ธงชาติมาลาวี มาลาวี 3 4
4 ธงชาติซิมบับเว ซิมบับเว 3 3
แหล่งที่มา : CAF
ตารางคะแนน รองชนะเลิศ กลุ่มดี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย 3 9
2 ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 3 6
3 ธงชาติซูดาน ซูดาน 3 1
4 ธงชาติกินี-บิสเซา กินี-บิสเซา 3 1
แหล่งที่มา : CAF
คู่แข่ง ผล รอบแพ้คัดออก คู่แข่ง ผล
ธงชาติกาบูเวร์ดี กาบูเวร์ดี 2–0 รอบ 16 ทีมสุดท้าย ธงชาติโกตดิวัวร์ โกตดิวัวร์ 0–0
(ต่อเวลา)
(ดวลลูกโทษ 5–4)
ธงชาติอิเควทอเรียลกินี อิเควทอเรียลกินี 3–1 รอบก่อนรองชนะเลิศ ธงชาติโมร็อกโก โมร็อกโก 2–1
(ต่อเวลา)
ธงชาติบูร์กินาฟาโซ บูร์กินาฟาโซ 3–1 รอบรองชนะเลิศ ธงชาติแคเมอรูน แคเมอรูน 0–0
(ต่อเวลา)
(ดวลลูกโทษ 3–1)

การแข่งขัน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

เซเนกัล
อียิปต์
GK 16 เอดัวร์ แมนดี
RB 20 Bouna Sarr
CB 3 Kalidou Koulibaly (c) โดนใบเหลือง ใน 44 นาที 44'
CB 22 Abdou Diallo โดนใบเหลือง ใน 54 นาที 54'
LB 2 Saliou Ciss
CM 8 แชกู กูยาเต Substituted off in the 66 นาที 66'
CM 6 Nampalys Mendy โดนใบเหลือง ใน 17 นาที 17'
CM 5 Idrissa Gueye
RW 18 อิสมาอีลา ซาร์ Substituted off in the 77 นาที 77'
LW 10 ซาดีโย มาเน โดนใบเหลือง ใน 88 นาที 88'
CF 19 Famara Diédhiou Substituted off in the 77 นาที 77'
ผู้เล่นสำรอง:
FW 26 Pape Gueye Substituted on in the 66 minute 66'
FW 9 Boulaye Dia Substituted on in the 77 minute 77'
FW 15 Bamba Dieng Substituted on in the 77 minute 77'
ผู้ฝึกสอน:
Aliou Cissé
GK 16 Mohamed Abou Gabal
RB 8 Emam Ashour
CB 2 Mohamed Abdelmonem โดนใบเหลือง ใน 5 นาที 5'
CB 15 Mahmoud Hamdy
LB 13 Ahmed Abou El Fotouh
CM 5 Hamdy Fathy โดนใบเหลือง ใน 37 นาที 37' Substituted off in the 99 นาที 99'
CM 17 มุฮัมมัด อันนินนี
CM 4 Amr El Solia Substituted off in the 59 นาที 59'
RW 10 มุฮัมมัด เศาะลาห์ (c)
LW 22 Omar Marmoush Substituted off in the 59 นาที 59'
CF 14 Mostafa Mohamed Substituted off in the 59 นาที 59'
ผู้เล่นสำรอง:
MF 7 เทรเซแก Substituted on in the 59 minute 59'
MF 21 Zizo Substituted on in the 59 minute 59'
FW 28 Marwan Hamdy Substituted on in the 59 minute 59'
FW 18 Mohanad Lasheen Substituted on in the 99 minute 99'
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน:
Diaa El-Sayed

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
Mohamed Abou Gabal (อียิปต์)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
Zakhele Siwela (แอฟริกาใต้)
Souru Phatsoane (เลโซโท)
ผู้ตัดสินที่สี่:
Jean Jacques Ndala Ngambo (สป.คองโก)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:
Olivier Safari (สป.คองโก)
ผู้ตัดสินวิดีโอ:
Adil Zourak (โมร็อกโก)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
Bouchra Karboubi (โมร็อกโก)
Zakaria Brinsi (โมร็อกโก)

กติกาการแข่งขัน[9][10]

  • แข่งขันในเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที หากยังเสมอกัน
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกโทษ หากยังเสมอกัน
  • ส่งรายชื่อผู้เล่นสำรองได้ทีมละ 12 คน
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้มากที่สุด 5 คน โดยเปลี่ยนตัวคนที่ 6 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 1]

สถิติ[แก้]

สถิติ[11] เซเนกัล อียิปต์
ประตู 0 0
โอกาสยิง 13 7
ยิงตรงกรอบ 8 3
การครองบอล 57% 43%
ผ่านบอลสำเร็จ 82% 76%
เตะมุม 3 4
เซฟ 3 8
ทำฟาล์ว 23 30
ลำหน้า 1 1
ใบเหลือง 4 2
ใบแดง 0 0

หมายเหตุ[แก้]

  1. แต่ละทีมมีโอกาสเปลี่ยนตัวได้ 3 ครั้ง และสามารถเปลี่ยนตัวครั้งที่ 4 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ทั้งนี้ ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวในช่วงพักก่อนเริ่มครึ่งหลังและช่วงต่อเวลาพิเศษ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Confederation of African Football [@CAF_Online] (6 February 2022). "With an out-of-the-world performance, the spectacular @mohmedabogabal is awarded the Total Energies Man of the Match award in the final! #TotalEnergiesAFCON2021 | #AFCON2021 | #SENEGY | #TeamEgypt | @Football2Gether" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ 6 February 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  2. "Sadio Mané seals Senegal's passage to Afcon final as Burkina Faso blown away". Guardian. 2 February 2022. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
  3. "Salah's Egypt to face Mané's Senegal in final after shootout win over Cameroon". Guardian. 3 February 2022. สืบค้นเมื่อ 4 February 2022.
  4. "Cameroon stripped of hosting 2019 Africa Cup of Nations". BBC. 30 November 2018.
  5. "Nations Cup prepares for kick off". BBC Sport. 13 January 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  6. 6.0 6.1 "Africa Cup of Nations". Encyclopædia Britannica. 17 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.
  7. Abul-Oyoun, Khaled; Cruickshank, Mark; Knight, Ken; Morrison, Neil; Stokkermans, Karel (30 March 2021). "African Nations Cup 1962". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
  8. "Men's Ranking, 23 December 2021". FIFA. 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Regulations of the Africa Cup of Nations" (PDF). Confederation of African Football. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-06. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  10. "TotalEnergies AFCON 2021: Update on number of substitutions and Minimum number of players in case of positive COVID19 tests". Confederation of African Football. 8 January 2022. สืบค้นเมื่อ 5 February 2022.
  11. "Senegal vs. Egypt - Football Match Stats - February 6, 2022". ESPN. 6 February 2022. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]