แอนะล็อกออเรอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แอนะล็อกออเรอ (อังกฤษ: Analog Horror) หรือ ความสยองขวัญในรูปแบบสัญญาณแอนะล็อก เป็นประเภทย่อยของกลวิธีเรื่องเล่าแนวสยองขวัญและเป็นประเภทย่อยของรูปแบบการถ่ายทำภาพยนตร์และวิดิโอในลักษณะฟาวด์ฟุตเทจ[1][2][3] แอนะล็อกออเรอไม่ทราบปีที่กำเนิดอย่างแน่ชัด แต่คาดว่ามีจุดกำเนิดราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21[4][5] หรืออาจมีจุดกำเนิดขึ้นในต้นปี พ.ศ. 2553

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

แอนะล็อกออเรอมีลักษณะเฉพาะคือกราฟิกที่มีความละเอียดต่ำ ข้อความและรูปภาพลึกลับ รวมถึงองค์ประกอบที่ชวนให้นึกถึงระบบโทรทัศน์แบบแอนะล็อกหรือวิดิโอเทปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20[6][7] โดยปกติแล้วฉากในวิดิโอประเภทนี้มักนำแบบมาจากยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1960 จนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ ด้วยเหตุนี้รูปแบบวิดิโอประเภทดังกล่าวจึงถูกตั้งชื่อว่า "แอนะล็อกออเรอ" เนื่องจากผสมผสานความสยองขวัญควบคู่กับลักษณะการบันทึกภาพและวิดิโอในยุคแอนะล็อกได้เป็นอย่างดี

มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า แอนะล็อกออเรออาจได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์แนวสยองขวัญทั่วไป อาทิ สอดรู้ สอดเห็น สอดเป็น สอดตาย, เดอะริง[8] รวมไปถึงภาพยนตร์ซีรีส์ อินแลนด์เอมไพรส์ กำกับโดยเดวิด ลันช์ ในตอน โนทรอตโรด และ เพทสคอป ซึ่งเป็นภาพยนตร์สั้นมีการปรากฎรูปแบบแอนะล็อกออเรออยู่ ก่อนที่จะแพร่หลายไปในรูปแบบวิดิโอเกมในเวลาต่อมา[9][10]

แอนะล็อกออเรอมักมีความยาวประมาณหนึ่งถึงสิบห้านาที ไม่มีกฎตายตัวและมักจะยืดหยุ่นแล้วแต่ธีมของวีดีโอรวมถึงจินตนาการของผู้สร้างสรรค์ มีหลากหลายเนื้อหาทั้งประเภทประกาศเตือนภัยจากธรรมชาติ การส่งสัญญาณด้วยระบบที่แปลกประหลาด รวมถึงการเล่าประวัติศาสตร์แบบโลกคู่ขนานซึ่งชวนให้เกิดความกลัวจากความไม่รู้ของผู้ชม[11][12]

ประวัติศาสตร์[แก้]

แอนะล็อกออเรอถูกสันนิษฐานว่าอาจเป็นประเภทย่อยของคริปปีปาสตา[13] โดยมีการบันทึกว่าแอนะล็อกออเรอมีจุดกำเนิดในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 2000 แต่เป็นรูปธรรมใน พ.ศ. 2553 จากวิดิโอ โนทรอตโรด ของสตีเฟน แชมเปอเรน สื่อประเภทนี้เริ่มเป็นที่นิยมหลังการปรากฎตัวของช่องยูทูบ โลคัลฟิฟตีเอต เมื่อปี พ.ศ. 2558 ซึ่งเจ้าของคือคริสต์ สตัฟ โดยมีแนวคิด "แอนะล็อกออเรอ ที่ 476 เมกกะเฮิร์ตซ์" ซึ่งทำให้เป็นต้นแบบของวิดิโอประเภทนี้ที่ตามมาอย่าง เดอะแมนเดลาแคตะล็อค เดอะว็อลเทนไฟล์ รวมไปถึง กรายนา กชือบุฟ ทีวี (kraina grzybów tv) ซึ่งเป็นช่องยูทูบสัญชาติโปแลนด์ สื่อประเภทนี้เคยมีแนวคิดจะเผยแพร่ในเน็ตฟลิกซ์ เมื่อปี พ.ศ. 2563 โดย อาร์ชีฟเอตตีวัน ซึ่งเป็นพอตแคสต์แนวสยองขวัญ แต่ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป[14][15]

ตัวอย่าง[แก้]

โลคัลฟิฟตีเอต[แก้]

คริสต์ สตัฟ ได้ผลิตวิดิโอชุดภายใต้ช่องยูทูบ โลคัลฟิฟตีเอต (Local 58) ซึ่งเป็นการสมมติชื่อสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งที่มักถูกแย่งสัญญาณจากแหล่งปริศนาเป็นประจำ และเนื้อหาส่วนมากมักมีความเกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องของพระจันทร์[5] โดยวิดิโอแรกถูกเผยแพร่ในปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ช่วงเทศกาลฮาโลวีน[16][17]

เจมินายโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์[แก้]

เจมินายโฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ (Gemini Home Entertainment) เป็นผลงานวิดิโอชุดที่เผยแพร่บนยูทูบโดยเดมี อโปฟ ซึ่งเปิดตัวใน พ.ศ. 2562 โดยสมมติตัวเองให้เป็นบริษัทจัดจำหนายเทปวิดิโอที่บันทึกเหตุการณ์ที่ผิดปกติมากมายที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงการปรากฏตัวของสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่อันตรายต่อสหรัฐและการโจมตีระบบสุริยะอย่างต่อเนื่องโดยดาวเคราะห์ชื่อ ดิ ไอริส (The Iris) โดยวิดิโอชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานพื้นบ้านของชนพื้นเมืองอเมริกันเกี่ยวกับสกินวอล์กเกอร์และเวนดิโก[18]

เดอะแมนเดลาแคตะล็อค[แก้]

เดอะแมนเดลาแคตะล็อค (The Mandela Catalogue) เป็นวิดิโอชุดที่เผยแพร่บนยูทูบโดยอเล็กซ์ คิสเตอร์ ในปี พ.ศ. 2563 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับภัยอันตรายในเทศมณฑลแมนเดลา รัฐวิสคอนซินในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 ซึ่งถูกคุกคามโดยผู้บุกรุกปริศนาที่ไม่มีตัวตนที่เรียกกันว่า "อัลเทอร์เนต (อังกฤษ: Alternate(s))" ที่มีความสามารถในการปลอมตัว เลียนแบบตัวต้นแบบได้ อีกทั้งยังสามารถบังคับให้ผู้คนกระทำอัตวินิบาตกรรมรวมถึงควบคุมสัญญาณวิทยุและโทรทัศน์ได้[19][20]

แอนะล็อกออเรอในประเทศไทย[แก้]

แซนไบรต์ ช่องยูทูบช่องหนึ่งในประเทศไทยได้อัปโหลดวิดิโอประเภทดังกล่าวภายใต้ชื่อ ไทยแอนะล็อกออเรอ – การประกาศฉุกเฉิน (ฉบับภาษาไทย)[12] ซึ่งแปลมาจาก คอนทิเจนซี ของโลคัลฟิฟตีเอต โดยถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ซึ่งมียอดเข้าชมร่วม 338,503 ครั้ง (ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2566) หลังจากนั้นได้มีช่องยูทูบที่ผลิตวิดิโอประเภทดังกล่าวตามมาได้แก่ เฮียส์เตอร์ทีวี[21] ซึ่งเผยแพร่วิดิโอประเภทนี้เป็นครั้งแรกในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ภายใต้ชื่อ การนอนหลับอย่างแท้จริง ซึ่งแปลมาจากวิดิโอ เรียลสลีฟ ของโลคัลฟิฟตีเอต หลังจากนั้นเขามีผลงานประเภทดังกล่าวที่เป็นที่รู้จักตามมาภายหลัง อาทิ บทพระรอง กระสืออาละวาดที่เดิมบาง และ บันทึกรักดา-เชษฐ์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของความขัดแย้งระหว่าง พิเชษฐ์ สมภักดี และ ดาริกา สุรศักดิ์ช่วงโชติ สองสามีภรรยาคู่หนึ่ง รวมไปถึง ไข้ผีห่า ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคระบาดชนิดหนึ่งที่ไม่มีทางรักษา สายที่คุณไม่ควรรับ ซึ่งดัดแปลงมาจาก เวทเทอร์เซอร์วิส ของโลคัลฟิฟตีเอต และ แบบทดสอบต้องห้ามของวิมานสีชมภู

อ้างอิง[แก้]

  1. Wehs, Garet (2022-02-22). "Analog horror: The bizarre and the unsettling". The Signal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Georgia State Signal. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  2. Maison, Jordan (14 October 2022). "Everything there is to know about the analog horror genre". Videomaker. สืบค้นเมื่อ 6 February 2023.
  3. Kok, Nestor (March 18, 2022). "Ghosts in the Machine: Trick-Editing, Time Loops, and Terror in "No Through Road"". F Newsmagazine. สืบค้นเมื่อ March 18, 2022. No Through Road” has amassed over two million views, spawned three sequels, and is considered a foundational work for both analog horror enthusiasts and indie found footage buffs.
  4. Cases, Kenneth (2022-09-16). "Local 58: The Analog Horror Series (An Introduction)". Robots.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Robots.net. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  5. 5.0 5.1 Szczesniak, Alicia (2022-01-13). "A look into analog horror". The Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). The Post, Athens OH. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  6. Saucier, Emily (2022-04-25). "What Makes Things Creepy?". The Delta Statement. Delta State University. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  7. Evangelista, Chris (2022-01-11). "Archive 81 Review: Analog Horrors Haunt Netflix's Uneven New Supernatural Series". SlashFilm.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Static Media. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  8. Heath, David (2023-01-24). "12 Scariest Analog Horror Series". Game Rant. gamerant.com. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  9. Peters, Lucia (November 16, 2020). "The Weird Part Of YouTube: The Making Of "No Through Road" And The Power Of Unanswered Questions". The Ghost in My Machine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ November 16, 2020.
  10. Moyer, Philip (2020-03-18). "There's Something Hiding in Petscop". EGM. EGM Media LLC. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  11. เมื่อความเก่าทำให้เราหลอน รู้จัก Analog Horror การเล่าเรื่องสยองขวัญที่เล่นกับภาพจำในยุคอนาล็อก
  12. 12.0 12.1 Analog Horror วีดีโอแนวสยองขวัญชวนหลอนประกอบสร้างจากฟุตเตจยุคม้วนวีดีโอ
  13. Tee, Samiee (2022-05-28). "Public Memory: Crafting Analog Horror in Video Games". Uppercut (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Uppercut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-04. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  14. Romanchick, Shane (2021-11-30). "'Archive 81' Images Reveal a Time-Bending Horror Show on Netflix". Collider. สืบค้นเมื่อ 2021-12-21.
  15. Andreeva, Nellie (2022-03-24). "Archive 81 Canceled By Netflix After One Season". Deadline Hollywood. Deadline Hollywood, LLC. สืบค้นเมื่อ 2022-03-24.
  16. Levesque, Eamon (2021-10-29). "This Halloween's Scariest Horror Movie Is a YouTube Series By a Wisconsin 18 Year-Old". GQ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Condé Nast. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  17. Kok, Nestor (2022-02-04). "Ghosts in the Machine: Examining the Origins of Analog Horror in "CH/SS"". F Newsmagazine (ภาษาอังกฤษ). School of the Art Institute of Chicago. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  18. Kok, Nestor (2022-02-15). "Ghosts in the Machine: Archiving the End of the World with "Gemini Home Entertainment"". F Newsmagazine (ภาษาอังกฤษ). School of the Art Institute of Chicago. สืบค้นเมื่อ 2023-01-26.
  19. Levesque, Eamon (October 29, 2021). "This Halloween's Scariest Horror Movie Is a YouTube Series By a Wisconsin 18 Year-Old". GQ (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ December 17, 2021.
  20. The Mandela Catalogue Vol. 1, สืบค้นเมื่อ 2023-10-04
  21. Herester TV ความหลอนฉบับ “ภาพ” และ “เสียง” สัญชาติไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]