ข้ามไปเนื้อหา

แอนน์ บุลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แอนน์ โบลีน)
แอนน์ บุลิน
มาร์เชอเนสแห่งเพมโบรก
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ดำรงพระยศ28 พฤษภาคม พ.ศ. 2076 (ค.ศ. 1533) — 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536)
ราชินยาภิเษก1 มิถุนายน 1533
พระราชสมภพประมาณปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507)
ศาลาบลิกลิง หรือ ปราสาทเฮฟเวอร์ อังกฤษ
สวรรคต19 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ.1536)
หอคอยแห่งลอนดอน อังกฤษ
คู่อภิเษกพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ
พระราชบุตรเจ้าชายเฮนรี ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (ที่ 3)
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
พระราชโอรสไม่ปรากฏพระนาม
ราชวงศ์ทิวดอร์ (สมรส)
พระราชบิดาทอมัส บุลิน เอิร์ลที่ 1 แห่งวิลต์เชอร์
พระราชมารดาเลดีเอลิซาเบธ ฮอเวิร์ด
ลายพระอภิไธย
พระมเหสีทั้งหกของ
พระเจ้าเฮนรีที่ 8
กาตาลินาแห่งอารากอน
แอนน์ บุลิน
เจน ซีมอร์
แอนน์แห่งคลีฟส์
แคเทอริน เฮาเวิร์ด
แคเทอริน พาร์

แอนน์ โบลีน (อังกฤษ: Anne Boleyn; /ˈbʊlɪn, bʊˈlɪn/)[1][2][3] เป็นบุตรีของทอมัส บุลิน เอิร์ลที่ 1 แห่งวิลต์เชอร์ กับเอลิซาเบธ บุลิน เคาน์เตสแห่งวิลต์เชอร์ และเป็นพระมเหสีพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ และเป็นพระราชมารดาในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

พระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราว พระราชอำนาจหลังพระราชบัลลังก์ฉายเด่นชัดจากสมเด็จพระราชินีพระองค์นี้ ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ "คนของพระราชา" และ "คนของพระราชินี" แม้จนเมื่อท้ายที่สุดแล้วสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 จะทรงมีชัยชนะเหนือพระมเหสี สามารถสำเร็จโทษพระนางได้ ด้วยการกล่าวหาว่าพระนางสมสู่กับน้องชายแท้ ๆ ของพระนางเอง แต่ความแตกร้าวก็ยังคงมีอยู่ไม่รู้จบ พระองค์ถูกกล่าวขานถึงว่า "ราชินีแห่งอังกฤษที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดเท่าที่เคยมี"

ช่วงต้นของพระชนม์

[แก้]
แมรี บุลิน พระเชษฐภคินีของพระนางแอนน์

แอนน์ บุลินเป็นบุตรีของเซอร์ทอมัส บุลิน กับ เลดีเอลิซาเบธ บุลิน แอนน์พระราชสมภพราว พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507)เซอร์ทอมัส บุลินเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าเฮนรีที่ 7 แห่งอังกฤษ ผู้ส่งเขาไปทำหน้าที่การทูตระหว่างประเทศ แอนน์ บุลินมีพระพี่น้องอยู่ 5 คน เสียชีวิตแต่เล็ก 2 คน เชษฐภคินีของแอนน์คือ แมรี บุลิน และพระอนุชาของแอนน์คือ จอร์จ บุลิน

ในเนเธอร์แลนด์

[แก้]

บิดาของแอนน์ บุลินได้ทำงานทางการทูตอย่างต่อเนื่อง ในยุโรป ทอมัส บุลินเป็นที่นับถือมาก รวมทั้งอาร์ชดัชเชสมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย พระราชธิดาของจักรพรรดิมักซีมีเลียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระนางได้เสด็จไปประเทศเนเธอร์แลนด์ในนามของพระบิดาและพระนางทรงประทับใจในทอมัส บุลินพระนางเสนอให้แอนน์ บุลินมาเป็นครอบครัวเดียวกัน แอนน์ บุลินเป็นที่รักใคร่ เอ็นดูต่ออาร์ชดัชเชสมาก กิริยาท่าทางของแอนน์สร้างความประทับใจในเนเธอร์แลนด์ได้มากและนางอยู่ที่นั่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2056 (ค.ศ. 1513) หลังจากนั้นพระบิดาก็ให้นางไปคอยรับใช้พระขนิษฐภคินีของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 คือ แมรี ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสในฤดูหนาว พ.ศ. 2057 (ค.ศ. 1514)

ในฝรั่งเศส

[แก้]

ในประเทศฝรั่งเศสแอนน์ได้เป็นนางสนองโอษฐ์ของพระราชินีแมรี ซึ่งพระนางแมรีทรงไม่โปรดแอนน์ หลังจากนั้นได้เป็นนางสนองโอษฐ์ของพระนางโกลด สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระนางโกลดทรงเอ็นดูแอนน์มากและทรงเรียกแอนน์ว่า "แม่บุลินตัวน้อย" แอนน์ได้เรียนภาษาฝรั่งเศส, การแต่งกาย และศาสนา ปรัชญา แอนน์ บุลินได้รับความรู้อย่างละเอียด และได้สอนพระขนิษฐาของพระราชาคือพระนางมาร์เกอริตแห่งอองกูแลมแอนน์ได้สนใจด้านกวีและวรรณกรรม การเรียนรู้ในฝรั่งเศสทำให้แอนน์ได้เป็นนางสนองโอษฐ์ของพระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ คนทั่วไปมักพูดถึงความงดงาม มีเสน่ห์ของแอนน์ ประสบการณ์ในฝรั่งเศสทำให้ชื่นชอบในโปรแตสแตนต์ ในปี พ.ศ. 2064(ค.ศ. 1521)นางได้ถูกเรียกกลับไปอังกฤษโดยพระบิดา

ในราชสำนักของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

[แก้]
สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8

แอนน์ได้ถูกเรียกกลับมาเพื่อแต่งงานกับญาติของพระนางคือ เจมส์ บัตเลอร์ เอิร์ลแห่งออร์มอนด์ที่ 5 แต่เจมส์ก็เสียชีวิตเสียก่อน น้องสาวของแอนน์ แมรี บุลินได้เป็นสตรีรับใช้พระราชา แอนน์ บุลินได้ถูกส่งเข้าราชสำนักเพื่อรับใช้พระนางแคเธอรีนแห่งอารากอน

การอภิเษกสมรสถือเป็นอันโมฆะ

[แก้]
แคเธอรีนแห่งอารากอน พระราชินีแห่งอังกฤษ

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษได้ทรงเบื่อพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเนื่องจากโดยเวลานี้พระนางแคทเทอรีนประสบปัญหาจากการมีบุตร และพระนางแคทเทอรีนนั้นมีพระชนมายุสูงวัยกว่าพระเจ้าเฮนรี

ในปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ได้ตกหลุมรักแอนน์ บุลินนางสนองโอษฐ์ในพระราชินีแคทเทอรีน แห่งอรากอนและพระเจ้าเฮนรีต้องการนาง พระเจ้าเฮนรีเริ่มเชื่อว่าการสมรสครั้งนี้ต้องคำสาปและหาคำยืนยันจากคัมภีร์ไบเบิล และเอาสาเหตุที่ว่าพระนางแคทเทอรีนเคยอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอาเทอร์แล้วซึ่งเป็นการผิดบัญญัติแห่งพระเจ้า พระองค์ต้องการหย่ากับพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนพระองค์ได้ส่งคำร้องไปยังพระสันตปาปา แต่พระสันตปาปาทรงไม่ยินยอม เนื่องจากพระนางแคทเทอรีนเป็นพระปิตุจฉาของสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งตอนนี้พระสันตปาปาได้ถูกครอบงำโดยพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ถ้ายินยอมไปตัวพระสันตปาปาเองอาจไม่ปลอดภัย

พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษได้ตั้งนิกายโปรเตสแตนต์นิกายหนึ่งคือคริสตจักรแห่งอังกฤษ โดยมีพระองค์เองเป็นประมุข 1 ปีต่อมาพระนางแคทเทอรีนทรงถูกขับไล่ออกไปจากพระราชวัง ห้องของพระองค์ตกเป็นของแอนน์ บุลิน เมื่อวิลเลียม วอร์แฮม อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี มรณภาพ ทอมัส แครนเมอร์ อนุศาสนาจารย์ของตระกูลบุลินได้รับการแต่งตั้งเป็นอาร์ชบิชอปต่อมา เครนเมอร์ได้ประกาศว่า การอภิเษกสมรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับพระนางแคเธอรีนแห่งอารากอนถือเป็นโมฆะ

อภิเษกสมรส

[แก้]

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2075 (ค.ศ. 1532) แอนน์ บุลินได้รับการแต่งตั้งเป็นมาชันเนสเพมโบรค และกลายเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์เป็นที่เคารพนับถือ ทั้งๆที่ตำแหน่งเพมโบรคนั้นสำหรับเชื้อพระวงศ์ทิวดอร์เท่านั้น แอนน์ บุลินได้อภิเษกสมรสแบบลับ ๆ กับพระเจ้าเฮนรี และมีพระประสูติกาลและได้อภิเษกสมรสเป็นครั้งที่ 2 ที่ลอนดอนในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2076 (ค.ศ. 1533) ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2076 (ค.ศ. 1533) ทอมัส แครนเมอร์ได้พิพากษาการอภิเษกสมรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนเป็นสิ่งไม่ถูกต้องและต่อมาวันที่ 28 พฤษภาคม ได้ประกาศว่าการสมรสกับแอนน์ บุลินเป็นอันถูกต้อง

แอน บุลินและพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ในขณะล่าสัตว์

สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

[แก้]

พระนางแคทเทอรีนต้องสูญเสียตำแหน่งราชินีให้แก่แอนน์ บุลิน พระนางแอนน์ บุลินได้ทำพิธีสวมมงกุฎราชินีในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2076 พระสันตปาปากรุงโรมได้ทำตัดพระเจ้าเฮนรีและทอมัส แครนเมอร์ พระนางแคทเทอรีนต้องถูกขับไล่ไปจากพระราชวังเนื่องจากทรงศรัทธาในโรมันคาทอลิก คริสตจักรแห่งอังกฤษนั้นควบคุมโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 8 มิใช่สันตปาปาแห่งโรม พระนางแอนน์ บุลินนั้นฝักใฝ่นิกายนี้มาก

การกำเนิดของเจ้าหญิงเอลิซาเบธ

[แก้]

หลังจากพิธีสวมมงกุฎมีพระประสูติกาลที่พระราชวังกรีนิช ได้ทรงคลอดก่อนกำหนดในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2076 พระนางได้ให้กำเนิดพระธิดา พระเจ้าเฮนรีทรงให้พระนามว่า เอลิซาเบธ ตามพระนามของพระมารดาของพระเจ้าเฮนรี คือพระนางเอลิซาเบธแห่งยอร์ก

พระธิดานั้นทรงเป็นโปรแตสแตนต์ แต่พระนางทรงหวั่นพระทัยว่าพระธิดาอาจถูกข่มขู่โดยเจ้าหญิงแมรี พระธิดาของพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอนซึ่งเป็นโรมันคาทอลิก พระเจ้าเฮนรีจึงส่งเจ้าหญิงแมรีไปที่อื่นเพื่อให้พระนางแอนน์สบายพระทัย

พระนางแอนน์ทรงมีบ่าวรับใช้จำนวนมากซึ่งมาจากพระนางแคทเทอรีนแห่งอรากอน มีบ่าวรับใช้มากกว่า 250 คน และนางสนองโอษฐ์มากกว่า 60 คน พระนางมักจะจ้างอนุศาสนาจารย์มามาก

การขัดแย้งกับพระเจ้าเฮนรี

[แก้]
จอห์น ฟริชเชอร์ วาดโดย ฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก)

ในช่วงแรกชีวิตคู่ก็มีความสุข แต่พอนาน ๆ เข้าความสัมพันธ์เริ่มตึงเครียด พระเจ้าเฮนรีทรงไม่ชอบท่าทางของแอนน์ที่ทำเพื่อตนเองและชอบโต้แย้งกับพระองค์ หลังจากการล้มเหลวจากการได้บุตรในปี พ.ศ. 2077 (ค.ศ. 1534) พระเจ้าเฮนรีมองการล้มเหลวจากการให้บุตรชายของแอนน์ซึ่งเป็นการทรยศพระองค์ ในวันคริสต์มาสพระเจ้าเฮนรีได้สนทนากับทอมัส เครนเมอร์ และ ทอมัส ครอมเวลล์ในเรื่องการขับไล่พระนางแอนน์ บุลิน และให้พระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนกลับมา

พระนางแอนน์ไม่เกรงกลัวต่ออันตรายใดๆทรงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย พระนางพยายามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง ข้าราชการแบ่งฝักฝ่ายเป็นสองพวกคือ "คนของพระราชา" และ "คนของพระราชินี" และได้มีการสั่งประหารศัตรูของพระนางคือ บิชอปแห่งโรเชสเตอร์, จอห์น ฟริชเชอร์ และ ทอมัส มอร์ ผู้ซึ่งต่อต้านคริสตจักรแห่งอังกฤษ

หายนะและการประหารชีวิต

[แก้]
เจน ซีมัวร์ พระราชินีแห่งอังกฤษ พระมเหสีพระองค์ที่ 3 ของพระเจ้าเฮนรี

ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) ข่าวการสวรรคตของพระนางแคทเทอรีนก็ได้ทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าเฮนรีและพระนางแอนน์ ทั้งคู่ได้ทรงฉลองพระองค์สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่ไม่เป็นมงคลสำหรับสเปนจัดงานเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ หลังจากมีการชันสูตรพระบรมศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอนได้พบว่าพระหฤทัยของพระนางกลายเป็นสีดำ บางคนเชื่อว่าไม่พระเจ้าเฮนรีก็พระนางแอนน์ได้ลอบวางยาพิษพระนางแคทเทอรีน แต่บ้างก็ว่าพระเจ้าเฮนรีทรงเสียพระทัยในการจากไปของพระนางแคทเทอรีนอย่างมาก

พระนางแอนน์ทรงพระครรภ์อีกครั้ง ในเดือนต่อมาพระเจ้าเฮนรีได้ทรงตกม้าจากการแข่งขันทำให้ทรงบาดเจ็บมาก ดูเหมือนว่าพระองค์อาการหนักมาก เมื่อข่าวล่วงรู้ถึงพระนางแอนน์ ทำให้พระนางตกพระทัยเป็นอันมากจนถึงขนาดทรงแท้งพระโอรสในพระครรภ์ที่มีอายุเพียง 15 สัปดาห์ เหตุการณ์ครั้งนี้บังเกิดขึ้นในวันฝังพระบรมศพของพระนางแคทเทอรีน แห่งอรากอน วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) พระนางแอนน์จึงมีพระราชธิดาพระองค์เดียวที่ดำรงพระชนม์ชีพ คือ เจ้าหญิงเอลิซาเบธ เหตุการ์ณเริ่มเปลี่ยนไปเมื่อนางเจน เซมัวร์ นางสนองโอษฐ์ในพระราชาเข้ามาอยู่ในราชวัง

การคบชู้สู่ชาย การร่วมประเวณีกับผู้ใกล้ชิด และการทรยศ

[แก้]

ในวันสุดท้ายของเดือนเมษายน นักดนตรีชาวเฟลมมิชที่พระนางแอนน์เรียกไปรับใช้ชื่อว่า มาร์ก สเมียตัน ได้ถูกจับกุมและทรมานร่างกาย เพราะได้ถูกตั้งข้อหาว่าคบชู้กับพระราชินีแต่ระหว่างการทรมานเขาได้สารภาพผิด ต่อมาชาวต่างชาติ เฮนรี นอร์ริส ได้ถูกจับในเดือนพฤษภาคมแต่เนื่องจากเขาเป็นชนชั้นสูงจึงไม่ถูกทรมาน เขาได้ปฏิเสธและสาบานว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ 2 วันต่อมาเซอร์ฟรานซิส เวสตันได้ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาเดียวกัน วิลเลียม แบร์ตันบ่าวรับใช้ของพระเจ้าเฮนรีก็ถูกจับกุมในข้อกล่าวหานี้เช่นกัน สุดท้ายก็มีการจับกุมพระอนุชาของพระนางแอนน์ จอร์จ บุลินในข้อหาคบชู้กับสายเลือดเดียวกัน

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) พระนางแอนน์ได้ถูกจับกุมและส่งไปหอคอยแห่งลอนดอน นักโทษคนอื่นได้รับการปลดปล่อยเหลือแต่พระนางแอนน์และจอร์จ บุลิน 3 วันต่อมาแอนน์ได้ถูกกล่าวหาว่าได้คบชู้สู่ชายกับสายเลือดเดียวกัน และทรงเป็นผู้ทรยศ

เวลาสุดท้าย

[แก้]

หลังจากการตัดสิน จอร์จ บุลินพระอนุชาได้ถูกประหารในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2079 (ค.ศ. 1536) แอนโทนี คิงส์ตันผู้เป็นยามเฝ้าประตูได้บันทึกไว้ว่า พระนางแอนน์นั้นดูมีความสุขและเตรียมตัวเตรียมใจที่จะได้รับการประหาร พระเจ้าเฮนรีได้ทำตามคำขอของพระนางแอนน์เป็นครั้งสุดท้ายโดยได้จ้างเพชรฆาตชาวฝรั่งเศสมาทำการประหารโดยใช้ดาบตามธรรมเนียมฝรั่งเศส เนื่องจากพระนางแอนน์กลัวการประหารด้วยขวานทื่อๆตามธรรมเนียมอังกฤษ ในเช้าของวันที่ 19 ทหารได้มาเชิญพระนางเข้ารับการประหาร แอนโทนี คิงส์ตันได้เขียนบันทึกเป็นภาษาอังกฤษว่า

The This morning she sent for me, that I might be with her at such time as she received the good Lord, to the intent I should hear her speak as touching her innocency always to be clear. And in the writing of this she sent for me, and at my coming she said, 'Mr. Kingston, I hear I shall not die afore noon, and I am very sorry therefore, for I thought to be dead by this time and past my pain.' I told her it should be no pain, it was so little. And then she said, 'I heard say the executioner was very good, and I have a little neck,' and then put her hands about it, laughing heartily.

พระนางแอนน์ได้ทรงฉลองพระองค์สีแดง พระเกศารวบด้วยผ้าลินินสีขาวซึ่งเป็นธรรมเนียมฝรั่งเศส พระนางทรงมีนางสนองโอษฐ์ 4 คนเดินตามจนถึงแท่นประหาร พระนางได้ทรงกล่าวประโยคสั้นๆก่อนถูกประหารว่า

Good Christian people, I am come hither to die, for according to the law, and by the law I am judged to die, and therefore I will speak nothing against it. I am come hither to accuse no man, nor to speak anything of that, whereof I am accused and condemned to die, but I pray God save the king and send him long to reign over you, for a gentler nor a more merciful prince was there never: and to me he was ever a good, a gentle and sovereign lord. And if any person will meddle of my cause, I require them to judge the best. And thus I take my leave of the world and of you all, and I heartily desire you all to pray for me. O Lord have mercy on me, to God I commend my soul

การสวรรคตและการฝังพระบรมศพ

[แก้]
ทอมัส เครนเมอร์

พระนางแอนน์รู้สึกดีขึ้นกับการประหารในแบบฝรั่งเศส พระนางได้สวดครั้งสุดท้ายว่า "แด่พระเยซูคริสต์ ข้ายินดีที่จะมอบวิญญาณของข้า องค์เยซูโปรดรับวิญญาณข้า" นางสนองโอษฐ์ได้นำผ้ามาปิดพระเนตรของพระนาง เพชรฆาตนั้นตื่นเต้นและพบว่าการประหารครั้งนี้สำเร็จยากเนื่องจากพระศอของพระนางนั้นสั้น เพื่อเป็นการเบนความสนใจพระนาง เพชรฆาตได้ตะโกนเสียงดังว่า "ดาบข้าอยู่ไหน" และได้ทำการบั่นพระเศียรของพระนางโดยที่พระนางไม่รู้ตัวว่าดาบมาเมื่อไร การประหารนี้เป็นการประหารอย่างรวดเร็วและเป็นการประหารในดาบเดียว

อเล็กซานเดอร์ อารส์ และทอมัส เครนเมอร์ได้เดินอยู่ในสวนของพระราชวังเลมเบิร์ธ เมื่อทั้ง 2 ได้ยินเสียงปืนใหญ่ยิงขึ้นจากหอคอยแห่งลอนดอนซึ่งเป็นสัญญาณในการสวรรคตของแอนน์ บุลิน อาร์คบิชอปได้มองและพูดขึ้นว่า"พระนางผู้ซึ่งเป็นราชินีแห่งพื้นแผ่นดิน วันนี้ได้กลายเป็นราชินีแห่งสรวงสวรรค์" เขาได้นั่งลงบนม้านั้งและร้องไห้

พระเจ้าเฮนรีไม่สามารถหาหีบพระบรมศพที่ดีเยี่ยมให้แอนน์ บุลินได้ ดังนั้นจึงต้องนำร่างและพระเศียรของพระนางใส่หีบ และฝังโดยมิได้สวมหน้ากากให้ ฝังไว้ในห้องสวดมนต์ของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ร่างของพระนางได้มีการระบุชื่อในระหว่างการปฏิสังขรณ์โบสถ์ในสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และได้มีการสวมหน้ากากให้พระศพของพระนาง ปัจจุบันหลังจากการสวรรคตของพระนางแอนน์ไปเกือบ 500 ปี มีคนเสนอให้รัฐบาลอังกฤษยกโทษให้พระนางแอนน์อย่างเป็นทางการเพื่อจะได้เคลื่อนย้ายพระบรมศพจากโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา ไปยังมหาวิหารเวสมินเตอร์เหมือนพระราชวงศ์อื่นๆแต่ได้รับการปฏิเสธจากรัฐบาล อ้างว่าคดีนี้เก่าจนไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ว่าพระนางทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ พระบรมศพจึงถูกฝังที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา เช่นเดียวกับพระบรมศพของ สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน ฮาวเวิร์ดและสมเด็จพระราชินีนาถเจน เกรย์ ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน

ดวงพระวิญญาณของพระนางแอนน์ บุลิน

[แก้]

กล่าวกันว่าหลังจากที่พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ประหารชีวิตพระนางแอนน์ บุลิน ด้วยการตัดพระเศียร (ทรงจ้างเพชรฆาตมือหนึ่งและดาบที่คมที่สุดจากฝรั่งเศสตามคำขอของพระนางแอนน์ บุลิน ซึ่งโดยปรกติแล้วการประหารชีวิตในอังกฤษจะใช้ขวานทื่อๆในการตัดคอ) แล้วที่Tower Green ดวงวิญญาณของพระนางก็ยังคงสิงสถิตอยู่ที่นั่น กล่าวคือ มีทหารยามพบเป็นสตรีสวมผ้าคลุมศีรษะออกมาเดินเล่นริมระเบียงที่ถูกปิดตาย เพียงแต่สตรีผู้นั้นได้ถือศีรษะของตนออกมาเล่นด้วย ไม่ก็พระนางจะลากโซ่ตรวนในห้องประหารแล้วกรีดร้องเสียงดัง และเห็นพระนางแอนน์ บุลิน นำทหารในสมัยนั้นและเลดีหรือสตรีระดับสูงเข้ามาในโบสถ์ที่หอคอยแห่งลอนดอน จนเงาพวกนั้นค่อย ๆ หายไป แล้วปล่อยให้โบสถ์นั้นเงียบสงัดไปดื้อ ๆ เป็นต้น จนบัดนี้เหตุการณ์แปลกๆที่ว่านี้ก็ยังมีให้เห็นทุกที่

อ้างอิง

[แก้]
  1. การออกเสียงที่เน้นพยางค์อันหลังนั้นหายากจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ และไม่มีการกล่าวถึงโดยงานอ้างอิงจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ดู The Big Book of Beastly Mispronunciations (2006) by Charles Harrington Elster
  2. Jones, Daniel Everyman's English Pronouncing Dictionary 12th edition (1963)
  3. Wells, John C. (1990). Longman pronunciation dictionary. Harlow, England: Longman. p. 83. ISBN 0-582-05383-8. entry "Boleyn"
  • Lehmberg, Stanford E. The Reformation Parliament, 1529-1536 (1970).
  • Hibbert, Christopher. Tower Of London: A History of England From the Norman Conquest (1971).
  • Williams, Neville. Henry VIII and His Court (1971).
  • Lacey, Robert. The Life and Times of Henry VIII (1972).
  • Scarisbrick, J.J. Henry VIII (1972) ISBN 978-0-520-01130-4.
  • Anne Boleyn by Professor Eric Ives (1986).
  • Warnicke, R. M. The Rise and Fall of Anne Boleyn: Family politics at the court of Henry VIII (1989) ISBN 0-521-40677-3.
  • Weir, Alison. The Six Wives of Henry VIII (1991) ISBN 0-8021-3683-4.
  • The Wives of Henry VIII by Lady Antonia Fraser (1992) ISBN 0-679-73001-X.
  • Haigh, Christopher. English Reformations (1993).
  • Lindsey, Karen. Divorced Beheaded Survived: A Feminist Reinterpretation of the Wives of Henry VIII (1995) ISBN 0-201-40823-6.
  • Morris, T. A. Europe and England in the Sixteenth Century (1998).
  • Brigden, Susan. New Worlds, Lost Worlds (2000).
  • Schama, Simon. A History of Britain: At the Edge of the World?: 3000 BC–AD 1603 (19 October 2000) ISBN 0-563-38497-2.
  • Ashley, Mike. British Kings & Queens (2002) ISBN 0-7867-1104-3.
  • Weir, Alison. Henry VIII: The King and His Court (2002) ISBN 0-345-43708-X.
  • Starkey, David. Six Wives: The Queens of Henry VIII. ISBN 0-06-000550-5; New York: HarperCollins (2003) ISBN 0-694-01043-X.
  • Denny, Joanna. Anne Boleyn: A New Life of England's Tragic Queen (2004) ISBN 0-7499-5051-X.
  • Ives, Eric. The Life and Death of Anne Boleyn (2004) ISBN 1-4051-3463-1.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า แอนน์ บุลิน ถัดไป
กาตาลินาแห่งอารากอน
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ใน พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ

เจน ซีมอร์
ไม่มี (สถาปนาใหม่) มาชันเนสเพมโบรค
สิ้นสุด