แวร์มัคท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แวร์มัคท์
[Wehrmacht] ข้อผิดพลาด: {{Lang}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)
เครื่องหมายกางเขนเหล็ก บัลเคนครอยซ์
และตราทางการของ แวร์มัคท์
ธงศึกไรช์ (ค.ศ. 1938–1945)
คำขวัญ"หนึ่งชน หนึ่งไรช์ หนึ่งฟือเรอร์"
ก่อตั้งค.ศ. 1935
ยุบเลิกค.ศ. 1945
เหล่าแฮร์ (ทัพบก)

ครีคส์มารีเนอ (ทัพเรือ)

ลุฟท์วัฟเฟอ (ทัพอากาศ)
กองบัญชาการเบอร์ลิน
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.สส.แวร์มัคท์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
กำลังพล
อายุเริ่มบรรจุ18 ขึ้นไป
ยอดประจำการ20,700,000 (ทั้งหมดที่เคยรับประจำการ)
2,200,000 (ค.ศ. 1945)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ยศตารางเทียบยศทหารเหล่าทัพแวร์มัคท์
ตารางเทียบยศทหารบกกับเอ็สเอ็ส

แวร์มัคท์ (เยอรมัน: Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1945 ประกอบด้วยแฮร์ (กองทัพบก) ครีคส์มารีเนอ (กองทัพเรือ) ลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) นอกจากนี้ยังมีองค์กึ่งทหาร วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ซึ่งโดยพฤตินัยเป็นเหล่าทัพที่สี่ของแวร์มัคท์

ประวัติ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีผู้พ่ายแพ้สงครามได้ถูกกำหนดให้กำลังพลกองทัพบกเยอรมันตามสนธิสัญญาแวร์ซายจำกัดได้ไม่เกิน 100,000 นาย กองทัพอากาศถูกยุบ เรือรบถูกจำกัดจำนวน และรวมไปถึงห้ามผลิตอาวุธหรือครอบครองยุทโธปกรณ์ต่างๆเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้กองทัพเยอรมันก่อสงครามขึ้นอีก แต่ต่อมาภายหลังพรรคนาซีได้เรืองอำนาจ ฮิตเลอร์แอบฟื้นฟูแสนยานุภาพทางทหารอย่างลับๆ จากนั้นก็สั่งระดมพลทั่วประเทศในปี ค.ศ. 1935 ซึ่งชาวเยอรมันอายุตั้งแต่ 18 – 45 ปีต้องไปเกณฑ์ทหาร รวมถึงจัดตั้งกองทัพอากาศในปีเดียวกันด้วย ทว่าอังกฤษและฝรั่งเศสต่างไม่ได้ต่อต้านแต่ประการใดเพราะเชื่อมั่นว่าฮิตเลอร์ปรารถนาสันติภาพ ต่อมามีการทำข้อตกลงการเดินเรืออังกฤษ–เยอรมัน ซึ่งเป็นการขยายขนาดกองทัพเรือเยอรมัน

มโนทัศน์ก้าวหน้าของกองทัพบกเยอรมันบุกเบิกระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยการรวมกำลังภาคพื้นและทางอากาศมาเป็นชุดอาวุธผสม ประกอบกับวิธีการสู้รบสงครามแต่เดิม เช่น การโอบล้อมและ "การยุทธ์การทำลายล้าง" กองทัพเยอรมันจึงคว้าชัยชนะรวดเร็วปานสายฟ้าหลายครั้งในปีแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้นักหนังสือพิมพ์ต่างชาติสร้างคำใหม่แก่สิ่งที่เขาพบเห็นว่า "บลิทซครีก" จำนวนทหารทั้งหมดที่รับรัฐการในแวร์มัคท์ระหว่างที่มีอยู่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 – ค.ศ. 1945 เชื่อกันว่าถึง 18.2 ล้านนาย ตัวเลขอย่างเป็นทางการระบุว่ามีทหารเยอรมันเสียชีวิตตลอดสงครามราว 5.3 ล้านนาย

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีได้ใช้กองทัพในการทำฮอโลคอสต์ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีตั้งแต่นายทหารชั้นสัญญาบัตรจนถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูง และยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมและการสังหารหมู่ชาวยิวและอื่น ๆ ในเขตยึดครอง ซึ่งถือว่าเป็นอาชญากรรมสงครามต่อมวลมนุษยชาติ แต่ถึงอย่างไรก็มีเจ้าหน้าที่นายทหารเยอรมันหลายนายก็ไม่ได้เห็นด้วยกับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เช่น จอมพลแอร์วิน รอมเมิล เป็นต้นแต่พวกเขากลับทำอะไรไม่ได้เพราะฮิตเลอร์และหน่วยเอ็สเอ็สมีอำนาจเหนือกว่า บางคนทำได้แต่นิ่งเฉยและไม่ให้ความสนใจใดๆหรือยอมปฏิบัติตามคำสั่งอย่างไม่มีเงื่อนไข บางคนก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวยิวอย่างลับๆ

แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1943 สถานการณ์สงครามโลกกลับพลิกพลัน กองทัพแวร์มัคท์ได้ริเริ่มปราชัยครั้งใหญ่ให้แก่สหภาพโซเวียตในศึกสตาลินกราด ยิ่งปราชัยเมื่อสหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมสงครามกับสัมพันธมิตรทำการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ทำให้กองทัพแวร์มัคท์ต้องทำศึกพร้อมกันถึงสองด้านคือแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออก แม้จะพยายามต้านทานสักเพียงไรแต่ก็ไม่อาจเอาชนะกองทัพขนาดมหึมาของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ จนกระทั่งเยอรมนีถูกพิชิตลงได้ในช่วงปี ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นเป็นต้นมากองทัพแวร์มัคท์ได้ถูกยุบลงในที่สุด

โครงสร้าง

 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กองบัญชาการใหญ่กองทัพบก
 
 
กองบัญชาการใหญ่กองทัพเรือ
 
 
กองบัญชาการใหญ่กองทัพอากาศ
 
 
 
 
 
 

ผู้บัญชาการ

แวร์เนอร์ ฟอน บลอมแบร์ค
วิลเฮล์ม ไคเทิล
คาร์ล เดอนิทซ์
แฮร์มันน์ เกอริง

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Megargee 2000, pp. 18, 42.
  2. Megargee 2000, pp. 20, 42.
  3. Megargee 2000, pp. 42.