แวนนีวาร์ บุช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แวนนีวาร์ บุช
ประธานบอร์ดบริหารการพัฒนาและวิจัย
ประธานาธิบดีแฮร์รี ทรูแมน
ก่อนหน้าตำแหน่งแต่งตั้งใหม่
ถัดไปคาร์ล คอมป์ตัน
ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
แฮร์รี ทรูแมน
ก่อนหน้าตำแหน่งแต่งตั้งใหม่
ถัดไปตำแหน่งถูกยุบ
ประธาน คณะกรรมการวิจัยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
ก่อนหน้าตำแหน่งแต่งตั้งใหม่
ถัดไปเจมส์ บี. โคนันต์
ประธาน คณะกรรมการที่ปรึกษาทางการบินแห่งชาติสหรัฐ
ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์
ก่อนหน้าโจเซฟ เอมส์
ถัดไปเจอโรม ฮันเซเกอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มีนาคม ค.ศ. 1890(1890-03-11)
เอเวอเรตต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐ
เสียชีวิต28 มิถุนายน ค.ศ. 1974(1974-06-28) (84 ปี)
เบลมอนต์, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐ
รางวัลEdison Medal (1943)
Hoover Medal (1946)
Medal for Merit (1948)
IRI Medal (1949)
John Fritz Medal (1951)
John J. Carty Award for the Advancement of Science (1953)
William Procter Prize (1954)
National Medal of Science (1963)
See below
ลายมือชื่อ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาElectrical engineering
สถาบันที่ทำงานTufts University
Massachusetts Institute of Technology
Carnegie Institution of Washington
วิทยานิพนธ์Oscillating-current circuits; an extension of the theory of generalized angular velocities, with applications to the coupled circuit and the artificial transmission line (1916)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกDugald C. Jackson
Arthur E. Kennelly[1]
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงClaude Shannon
Frederick Terman
Charles Manneback
Perry O. Crawford Jr.
ได้รับอิทธิพลจากDouglas Engelbart
Ted Nelson

แวนนีวาร์ บุช (อังกฤษ: Vannevar Bush, ออกเสียง: /væˈniːvɑːr/; 11 มีนาคม ค.ศ. 1890 – 28 มิถุนายน ค.ศ. 1974) เป็นวิศวกร นักประดิษฐ์ ชาวอเมริกัน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นผู้นำในการปฏิบัติการของสำนักงานการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (OSRD), ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาและวิจัยอุปกรณ์ทางการทหาร รวมถึงการพัฒนาที่สำคัญของเรดาร์ และเป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ โครงการแมนแฮตตัน เขายังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำไปใช้ในความปลอดภัยของชาติ และความคล่องตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นถึงในบุคคลสำคัญต่อการนำไปสู่การก่อตั้ง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา[2]

บุชเข้าศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งบริษัทที่กลายมาเป็น บริษัทเรเธียน ในปีค.ศ. 1922 บุชกลายเป็นรองประธานของ MIT และคณบดีของ โรงเรียนวิศวกรรมเอ็มไอที ในปี ค.ศ. 1932 และเป็นประธานของ สถาบันคาร์เนกีแห่งวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1938

ในอาชีพการงานของเขา บุชได้จดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของเขาเอง เขาเป็นที่รู้จักโดยเฉพาะจากงานด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์แอนะล็อก และสำหรับ มีเมกซ์ [2] เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1927 บุชได้สร้างเครื่อง วิเคราะห์อนุพันธ์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แอนะล็อกที่มีส่วนประกอบดิจิทัลที่สามารถแก้สมการเชิงอนุพันธ์ ได้มากถึง 18 ตัวแปรอิสระ ผลงานที่แตกแขนงมาจาก MIT โดย บุชและคนอื่นๆ เป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีการออกแบบวงจรดิจิทัล มีเมกซ์ที่เขาเริ่มพัฒนาในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1930 (ได้รับแรบันดาลใจอย่างมากจาก "Statistical Machine" ของ เอมานูเอล โกลด์เบิร์ก ในปี ค.ศ. 1928) เป็นโปรแกรมดู ไมโครฟิล์ม ที่ปรับได้ตามสมมุติฐานโดยมีโครงสร้างคล้ายกับ ไฮเปอร์เท็กซ์ บทเรียงความของมีเมกซ์และบุชปี 1945 เรื่อง แอสวิเมย์ติง มีอิทธิพลต่อนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์รุ่นต่อรุ่น ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์ของเขาเกี่ยวกับอนาคต [3]

บุชได้รับการแต่งตั้งให้เป็น คณะกรรมการที่ปรึกษาทางการบินแห่งชาติสหรัฐ (NACA) ในปี ค.ศ. 1938 และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน ในฐานะประธาน คณะกรรมการวิจัยเพื่อความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ (NDRC) จากนั้นเป็นผู้อำนวยการ OSRD บุชได้ประสานงานกิจกรรมของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของอเมริการาว 6,000 คน ในการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในการทำสงคราม บุชเป็นผู้กำหนดนโยบายและปัญญาชนที่มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อเขาดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ประจำประธานาธิบดีคนแรก ในฐานะหัวหน้า NDRC และ OSRD เขาได้ริเริ่มโครงการแมนแฮตตัน และทำให้มั่นใจว่าโครงการดังกล่าวได้รับความสำคัญสูงสุดจากรัฐบาล ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ดิเอนเลสฟรันเทียร์ รายงานของเขาต่อประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1945 บุชเรียกร้องให้มีการขยายการสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์จากรัฐบาล และเขาผลักดันให้มีการจัดตั้ง มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

การเสียชีวิต[แก้]

หลังจากป่วยด้วยโรคหลอดเลือดในสมอง บุชเสียชีวิตใน เมืองเบลมอนต์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ขณะอายุได้ 84 ปี จากโรคปอดบวม เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1974 ภรรยาของบุชเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1969 [4] เขาถูกฝังอยู่ที่สุสานเซาธ์เดนนิสใน เซาท์เดนนิส รัฐแมสซาชูเซตส์ [5] หลังจากพิธีศพแบบปิด ที่อนุสรณ์สาธารณะซึ่งจัดโดย MIT ต่อมา [6] เจอโรม ไวสเนอร์ ประกาศว่า "ไม่มีชาวอเมริกันคนใดมีอิทธิพลต่อการเติบโตของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากไปกว่า แวนนีวาร์ บุช" [4]

รางวัลและเกียรติประวัติ[แก้]

  • บุชได้รับ เหรียญรางวัลเอดิสัน จาก เอไออีอี ในปี ค.ศ. 1943 "สำหรับการสนับสนุนความก้าวหน้าของวิศวกรรมไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการพัฒนาการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ใหม่กับปัญหาทางวิศวกรรม และสำหรับบริการที่โดดเด่นของเขาต่อประเทศชาติในการชี้นำโครงการวิจัยสงคราม " [7]
  • ในปี ค.ศ. 1945 บุชได้รับ รางวัลเหรียญสวัสดิการสาธารณะ จาก สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ [8]
  • ในปี ค.ศ. 1949 เขาได้รับ เหรียญไออาร์ไอ จาก สถาบันวิจัยอุตสาหกรรม เพื่อยกย่องการมีส่วนร่วมของเขาในฐานะผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนา [4]
  • ประธานาธิบดี แฮร์รี ทรูแมนได้มอบรางวัล บุชเดอะเมดัลออฟเมริต ด้วยพวงใบโอ๊กสีบรอนซ์ในปี ค.ศ. 1948
  • ประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสัน มอบรางวัล เหรียญวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในปี ค.ศ. 1963 [9]
  • ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน มอบรางวัล อะตอมิกไพโอเนียร์สอะวอร์ด จาก คณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณู ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970 ให้แก่เขา เช่นเดียวกับ เจมส์ บี. โคนันต์ และนายพล เลสลี อาร์. โกรฟส์ [10]
  • บุชได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการอัศวินของภาคีแห่งจักรวรรดิอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1948 และเป็นเจ้าหน้าที่ กองทหารเกียรติยศ ของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1955 [4]

ในปี ค.ศ. 1980 มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้ก่อตั้ง รางวัลแวนนิวาร์บุชอะวอร์ด เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานของเขาในการรับใช้สาธารณะ [11] เอกสารเพิ่มเติมจัดทำโดย MIT Institute Archives and Special Collections, Carnegie Institution และ National Archives and Records Administration [12] [13] [14]

  1. "Vannevar Bush". Computer Science Tree. สืบค้นเมื่อ November 8, 2015.
  2. 2.0 2.1 Meyer, Michal (2018). "The Rise and Fall of Vannevar Bush". Distillations. Science History Institute. 4 (2): 6–7. สืบค้นเมื่อ August 20, 2018.
  3. Houston, Ronald D.; Harmon, Glynn (2007). "Vannevar Bush and memex". Annual Review of Information Science and Technology. 41 (1): 55–92. doi:10.1002/aris.2007.1440410109.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Wiesner 1979.
  5. "Dennis 1974 Annual Town Reports" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ June 14, 2012.
  6. Zachary 1997.
  7. "Vannevar Bush". IEEE Global History Network. IEEE. สืบค้นเมื่อ July 25, 2011.
  8. "Public Welfare Award". National Academy of Sciences. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 4, 2011. สืบค้นเมื่อ February 14, 2011.
  9. "The President's National Medal of Science". National Science Foundation. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
  10. Nixon, Richard (February 27, 1970). "Remarks on Presenting the Atomic Pioneers Award". The American Presidency Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 1, 2013. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
  11. "Vannevar Bush Award". National Science Foundation. สืบค้นเมื่อ April 22, 2012.
  12. "Vannevar Bush Papers, 1921–1975". MIT Institute Archives & Special Collections. MC 78. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-15. สืบค้นเมื่อ May 26, 2012.
  13. "Vannevar Bush Papers 1901–1974". Library of Congress. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.
  14. "Carnegie Institution of Washington Administration Records, 1890–2001". Carnegie Institution of Washington. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-19. สืบค้นเมื่อ May 21, 2012.