แลนซ์ สโตรลล์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
แลนซ์ สโตรลล์ | |
---|---|
![]() สโตรลล์ที่มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์ 2017 | |
เกิด | แลนซ์ สตรูโลวิช 29 ตุลาคม ค.ศ. 1998 มอนทรีออล เกแบ็ก แคนาดา |
บุพการี | ลอว์เรนซ์ สโตรลล์ (บิดา) |
ฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก | |
สัญชาติ | ![]() |
ทีมในปี 2025 | แอสตันมาร์ติน อะแรมโค-เมอร์เซเดส[1] |
หมายเลขรถ | 18 |
แข่ง | 173 (ออกตัว 170) |
แชมป์โลก | 0 |
ชนะ | 0 |
โพเดียม | 3 |
คะแนน | 302 |
ตำแหน่งโพล | 1 |
ทำรอบได้เร็วที่สุด | 0 |
แข่งครั้งแรก | ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ 2017 |
แข่งครั้งล่าสุด | บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2025 |
อันดับในปี 2024 | 13 (24 คะแนน) |
รายการที่แล้ว | |
ตำแหน่งแชมป์ | |
เว็บไซต์ | www |
แลนซ์ สตรูโลวิช (อังกฤษ: Lance Strulovitch; เกิด 29 ตุลาคม ค.ศ. 1998) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ แลนซ์ สโตรลล์ (อังกฤษ: Lance Stroll) เป็นนักแข่งรถชาวแคนาดา ปัจจุบันแข่งรถในการแข่งขันฟอร์มูลาวันให้แก่แอสตันมาร์ติน
สโตรลล์เกิดและเติบโตที่เมืองมอนทรีออล โดยเขาเป็นบุตรของนักธุรกิจมหาเศรษฐี ลอว์เรนซ์ สโตรลล์ ผู้เป็นเจ้าของแอสตันมาร์ตินเอฟวันทีมคนปัจจุบัน[2] สโตรลล์เริ่มแข่งรถคาร์ตเมื่ออายุแปดขวบ และเป็นแชมป์ในหลายการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับชาติ[3][4] เขาเป็นสมาชิกแฟร์รารีไดร์เวอร์อะแคเดมีตั้งแต่ ค.ศ. 2010 และเลื่อนขั้นสู่การแข่งขันฟอร์มูลาระดับรองใน ค.ศ. 2014 โดยเขาได้รับตำแหน่งแชมป์แรกในการแข่งขันอิตาเลียนฟอร์มูลาโฟร์แชมเปียนชิปในปีเดียวกันกับพรีมา[5][6] ต่อเขาชนะการแข่งขันโตโยต้าเรซซิงซีรีส์ ฤดูกาล 2015 กับเอ็มทู และทำผลงานทำลายสถิติด้วยการเป็นแชมป์ในรายการเอฟไอเอฟอร์มูลาทรีชิงแชมป์ยุโรป ฤดูกาล 2016 กับพรีมา[7][8][a]
สโตรลล์ย้ายมาเป็นสมาชิกวิลเลียมส์ยังไดรเวอร์โปรแกรมใน ค.ศ. 2015 และเซ็นสัญญากับวิลเลียมส์ในฤดูกาล 2017 โดยจับคู่กับ ฟีลีปี มัสซา[10][11][12] เขาเข้าแข่งขันฟอร์มูลาวันรายการแรกที่ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์ ขณะอายุ 18 ปี[13] ในฤดูกาลเดียวกันนั้น เขาได้สร้างผลงานให้แก่ตนเองด้วยการจบในอันดับบนโพเดียมครั้งแรกที่อาเซอร์ไบจาน ทำให้เขากลายเป็นนักขับที่อายุน้อยที่สุดอันดับสองที่มีอันดับบนโพเดียม[14] ทว่าเขาจบการแข่งขันในอันดับที่แปดในรายการเดียวกันของฤดูกาล 2018 ซึ่งเป็นผลงานที่ดีที่สุดของเขาทั้งฤดูกาล[15] สโตรลล์ย้ายมายังเรซซิงพอยต์ในฤดูกาล 2019 หลังจากบิดาของเขาเป็นเจ้าของทีมได้ไม่นาน โดยจับคู่กับเซร์ฆิโอ เปเรซ[16][17] เขาทำผลงานที่ดีที่สุดของฤดูกาลที่เยอรมันกรังด์ปรีซ์ ด้วยอันดับที่สี่ในการแข่งขันภายใต้สภาพอากาศชื้น[18] ในฤดูกาล 2020 เขาได้ตำแหน่งโพลแรกในอาชีพที่เตอร์กิชกรังด์ปรีซ์ พร้อมกับอันดับบนโพเดียมที่อิตาเลียนและเศาะคีรกรังด์ปรีซ์[19][20][21] สโตรลล์ยังคงอยู่ต่อกับทีมที่ปรับภาพลักษณ์ใหม่เป็นแอสตันมาร์ตินในฤดูกาล 2021 เคียงคู่กับ เซบัสทีอัน เฟ็ทเทิล เป็นเวลาสองฤดูกาล ก่อนที่จะคู่กับ เฟร์นันโด อาลอนโซ ตั้งแต่ฤดูกาล 2023[22][23] โดยเขาจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สิบในการชิงแชมป์โลกประเภทนักขับ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดในการแข่งขันฟอร์มูลาวันของเขา[24]
จากสถิติ ณ บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2025 สโตรลล์มีผลงานด้วยการได้ตำแหน่งโพลหนึ่งครั้ง และมีอันดับบนโพเดียมสามครั้งในการแข่งขันฟอร์มูลาวัน สโตรลล์เซ็นสัญญาอยู่กับแอสตันมาร์ตินอย่างน้อยจนสิ้นสุดฤดูกาล 2026[1] นอกเหนือจากการแข่งขันฟอร์มูลาวัน สโตรลล์ได้เข้าแข่งขันในรายการ 24 ชั่วโมง เดย์โทนา ฤดูกาล 2016 และ 2018 กับซีจีอาร์ และแจ็กกี ชานดีซีตามลำดับ[25][26]
สถิติการแข่งรถคาร์ต
[แก้]สรุปอาชีพนักแข่งรถคาร์ต
[แก้]ฤดูกาล | รายการ | ทีม | อันดับ |
---|---|---|---|
2008 | กุปเดอเกแบ็ก – รุ่นไมโครแมกซ์ | 1 | |
กุปเดอมงเรอาล – รุ่นไมโครแมกซ์ | 1 | ||
แคนาเดียนเนชันแนลคาร์ตติงแชมเปียนชิปส์ – รุ่นโรแท็กซ์ไมโครแมกซ์ | 1 | ||
2009 | กุปเดอมงเรอาล – รุ่นมินิแมกซ์ | 1 | |
กุปเดอเกแบ็ก – รุ่นมินิแมกซ์ | 1 | ||
แคนาเดียนเนชันแนลคาร์ตติงแชมเปียนชิปส์ – รุ่นโรแท็กซ์มินิแมกซ์ | 2 | ||
อาร์โอเคคัพอินเตอร์เนชันแนลไฟนอล – รุ่นมินิอาร์โอเค | แอดวานซ์คาร์ตติง | 7 | |
ฟลอริดาวินเทอร์ทัวร์ – รุ่นโรแท็กซ์ไมโครแมกซ์ | เอสเอชคาร์ตติง | 2 | |
2010 | ฟลอริดาวินเทอร์ทัวร์ – รุ่นโรแท็กซ์มินิแมกซ์ | 1 | |
กุปเดอเกแบ็ก – รุ่นโรแท็กซ์จูเนียร์ | 2 | ||
แคนาเดียนเนชันแนลคาร์ตติงแชมเปียนชิปส์ – รุ่นโรแท็กซ์จูเนียร์ | 1 | ||
ซูเปอร์คาร์ตส์ยูเอสเอซูเปอร์เนชันแนลส์ – รุ่นทัชแอนด์โกจูเนียร์ | 39 | ||
2011 | เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟทรี | NC | |
โตรเฟโอกรีโฟเน – รุ่นเคเอฟทรี | 3 | ||
อิตาเลียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟทรี | 18 | ||
กอปปาเดลเวซูวีโอ – รุ่นเคเอฟทรี | 14 | ||
เยอรมันคาร์ตติงแชมเปียนชิป – รุ่นจูเนียร์ | กีเอซากอร์เซ | 11 | |
ซีไอเค-เอฟไอเอยูโรเปียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟทรี | NC | ||
ดับเบิลยูเอสเคยูโรซีรีส์ – รุ่นเคเอฟทรี | 9 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์คัพ – รุ่นเคเอฟทรี | 25 | ||
บริดจสโตนคัพยูโรเปียนไฟนอล – รุ่นเคเอฟทรี | 16 | ||
ดับเบิลยูเอสเคไฟนอลคัพ – รุ่นเคเอฟทรี | 15 | ||
ซูเปอร์คาร์ตส์ยูเอสเอซูเปอร์เนชั่นแนลส์ – รุ่นทัชแอนด์โกจูเนียร์ | ซานาร์ดีอเมริกา | 8 | |
อีอาร์ดีเอฟมาสเตอส์คาร์ต – รุ่นจูเนียร์ | 10 | ||
2012 | กุปเดอเกแบ็ก – รุ่นโรแท็กซ์จูเนียร์ | 10 | |
เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟทรี | กีเอซากอร์เซ | NC | |
โตรเฟโออันเดรอามาร์กุตตี – รุ่นเคเอฟทรี | 2 | ||
ดับเบิลยูเอสเคมาสเตอร์ซีรีส์ – รุ่นเคเอฟทรี | 4 | ||
สเปนิชแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟทรี | 25 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอยูโรเปียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟทรี | 21 | ||
ดับเบิลยูเอสเคยูโรซีรีส์ – รุ่นเคเอฟทรี | 12 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์คัพ – รุ่นเคเอฟทรี | 10 | ||
ดับเบิลยูเอสเคไฟนอลคัพ – รุ่นเคเอฟทรี | 12 | ||
โตรเฟโอเดลเลอินดุสตรีเอ – รุ่นเคเอฟทรี | NC | ||
ซูเปอร์คาร์ตส์ยูเอสเอซูเปอร์เนชั่นแนลส์ – รุ่นทัชแอนด์โกจูเนียร์ | 1 | ||
2013 | เซาท์การ์ดาวินเทอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ | กีเอซากอร์เซ | 22 |
ดับเบิลยูเอสเคยูโรซีรีส์ – รุ่นเคเอฟ | 13 | ||
ดับเบิลยูเอสเคซูเปอร์มาสเตอร์ซีรีส์ – รุ่นเคเอฟ | 5 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอยูโรเปียนแชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ | 32 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเออินเตอร์เนชันแนลซูเปอร์คัพ – รุ่นเคเอฟ | 12 | ||
ซีไอเค-เอฟไอเอเวิลด์แชมเปียนชิป – รุ่นเคเอฟ | 6 | ||
แหล่งที่มา:[27][28] |
สถิติการแข่งรถ
[แก้]สรุปอาชีพนักแข่งรถ
[แก้]- หมายเหตุ
- * ฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่
ผลการแข่งขันฟอร์มูลาวัน
[แก้]- (คำสำคัญ) (การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวหนา หมายถึงนักขับได้ตำแหน่งโพล; การแข่งขันที่กำหนดเป็น ตัวเอียง หมายถึงนักขับทำรอบได้เร็วที่สุด)
- หมายเหตุ
- † ไม่จบการแข่งขันแต่ถูกจัดอันดับ เนื่องจากแข่งขันมากกว่าร้อยละ 90 ของระยะทางการแข่งขัน
- * ฤดูกาลกำลังดำเนินอยู่
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สถิติของสโตรลล์ในการแข่งขันเอฟไอเอฟอร์มูลา 3 ชิงแชมป์ยุโรป ฤดูกาล 2016 ประกอบด้วยนักขับที่ได้รับชัยชนะมากที่สุดในฤดูกาลเดียว (14 ครั้ง) นักขับที่ทำรอบได้เร็วที่สุดมากที่สุดในฤดูกาลเดียว (13 ครั้ง ร่วมกับ เฟลิกซ์ รูเซนควิสต์) และนักขับที่เป็นแชมป์โดยมีคะแนนชิงแชมป์ทิ้งห่างมากที่สุด (187 คะแนน)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Aston Martin confirm Stroll to remain at team". Formula One. 27 June 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 27 June 2024.
- ↑ Duncan, Philip (14 July 2021). "Whatever it takes – Lawrence Stroll determined to lead Aston Martin to F1 glory". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2023. สืบค้นเมื่อ 6 March 2023.
- ↑ Klutt, Gary (17 June 2022). "Lance Stroll on his career from Karting to F1 & what it took to get to Formula 1". The Gary Klutt Podcast (Podcast). สืบค้นเมื่อ 18 February 2025 – โดยทาง YouTube.
- ↑ Barretto, Lawrence (3 June 2019). "NFL, motorbikes and Schumacher fandom - Getting to know the real Lance Stroll". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2024. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ Soltani, Khatir (9 June 2010). "Karting: 11 years old driver Lance Stroll joins the Ferrari Driver Academy". Auto123. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2023. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ Wood, Ida (8 June 2020). "The day Lance Stroll made motorsport history". Formula Scout. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2020. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ "Lance Stroll takes the double: New Zealand Grand Prix and Toyota Racing Series". Toyota Gazoo Racing New Zealand. 16 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2024. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ "F3 - Lance Stroll is the new FIA Formula 3 European Champion". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 2 October 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 November 2016. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ "Stroll and Williams - the pros and potential cons". Formula One. 4 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ "Williams select Stroll for young driver programme". Formula One. 26 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2025. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ "Williams Confirms Driver Line Up for the 2017 Season". Williams Martini Racing. 3 November 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2016. สืบค้นเมื่อ 7 December 2016.
- ↑ Barretto, Lawrence (16 January 2017). "Valtteri Bottas joins Mercedes for F1 2017, Felipe Massa to Williams". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2017.
- ↑ Gibson, Sean (22 February 2017). "F1 2017: Race calendar and rule changes explained ahead of new season". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 March 2017. สืบค้นเมื่อ 23 March 2017.
- ↑ "Montrealer Stroll places third in Azerbaidjan Grand Prix". CTV News. 25 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017.
- ↑ Fagnan, René (30 April 2018). "Lance Stroll scores first points of 2018 in Azerbaijan". Motorsport.com. Motorsport Network. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ Benson, Andrew (30 November 2018). "Force India: Lance Stroll confirms switch from Williams". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2018.
- ↑ Mitchell, Scott (30 November 2018). "Force India F1 team finally announces Lance Stroll's 2019 deal". Autosport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
- ↑ "Verstappen storms to sensational win in extraordinary rain-hit German GP". Formula One. 28 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2024. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ Gupta, Sahil (14 November 2020). "F1: Stroll On Pole For Turkey GP, Becomes 1st Canadian Since Villeneuve To Get P1". Carandbike.com. Fifth Gear Ventures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2020. สืบค้นเมื่อ 14 November 2020.
- ↑ "Gasly beats Sainz to maiden win in Monza thriller, as Hamilton recovers to P7 after penalty". Formula One. 6 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2020. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ Benson, Andrew (6 December 2020). "Sakhir Grand Prix: Sergio Perez claims maiden win as Mercedes error costs George Russell". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 July 2020.
- ↑ Benson, Andrew (10 September 2020). "Sebastian Vettel: Ferrari driver to join renamed Aston Martin team in 2021". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2022. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.
- ↑ "Fernando Alonso signs to Aston Martin for 2023 on multi-year contract". Formula One. 1 August 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2022. สืบค้นเมื่อ 21 February 2023.
- ↑ Parkes, Ian (13 December 2023). "Aston Martin Went Zoom, Then Sputtered". The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2024. สืบค้นเมื่อ 19 February 2025.
- ↑ Wilkins, Robert (30 December 2015). "Williams development driver Stroll to race at Daytona". Crash. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2020. สืบค้นเมื่อ 2 January 2020.
- ↑ Khorounzhiy, Valentin (24 December 2017). "Da Costa, Habsburg join DC Racing for Daytona". Motorsport.com. Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2018.
- ↑ 27.0 27.1 "Lance Stroll – Racing career profile". Driver Database. The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2024. สืบค้นเมื่อ 29 November 2021.
- ↑ "Stroll, Lance – Results". Kartcom (ภาษาฝรั่งเศส). KSP Reportages. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2023. สืบค้นเมื่อ 29 November 2021.
- ↑ "Lance Stroll – Results". Motorsport Stats. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2024. สืบค้นเมื่อ 22 February 2025.
- ↑ "Lance Stroll – Involvement". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2024. สืบค้นเมื่อ 20 February 2025.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- แลนซ์ สโตรลล์ สรุปอาชีพนักแข่งรถที่ไดร์เวอร์ดีบี.คอม