แร้งโลกเก่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แร้งโลกเก่า
แร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) เป็นแร้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อยแร้งโลกเก่า พบกระจายพันธุ์ในแนวเทือกเขาหิมาลัย และยูเรเชีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
วงศ์ย่อย: Aegypiinae
สกุล

แร้งโลกเก่า (อังกฤษ: Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง

นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม[1] ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้[2]

วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซา่ก แร้งโลกเก่าจึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค[1]

พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา่ว[3]

ปัจจุบัน แร้งโลกเก่าหลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ[4] [1]

ไข่ของแร้งโลกเก่า

การจำแนก[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 แร้ง - ชีวิตพิศดารของสัตว์ (๒) โดย ประพันธ์ บุญกลิ่นขจร: ต่วยตูน เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๐ ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙
  2. แร้ง ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. แร้งหิมาลัยหนีหนาวตกไทย นำอนุบาลก่อนปล่อยกลับถิ่น จากไทยรัฐ
  4. "พบอาณานิคมของอีแร้งสีน้ำตาลในกัมพูชา และภัตตาคารของอีแร้งในเนปาล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-10. สืบค้นเมื่อ 2012-11-01.
  5. AnimalDiversity.ummz.umich.edu. Retrieved 2011-05-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]