แย้ม อินทร์กรุงเก่า
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
แย้ม อินทร์กรุงเก่า | |
---|---|
เกิด | 27 มิถุนายน พ.ศ. 2498 |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | • นักธรรมชั้นเอก • เปรียญธรรม 3 ประโยค • รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
มีชื่อเสียงจาก | เป็นอดีตเจ้าคณะภาค 14 และอดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง ลาสิกขาเนื่องด้วยถูกกล่าวหาว่ายักยอกทรัพย์เพื่อการพนัน |
แย้ม อินทร์กรุงเก่า หรือ อดีตพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) อดีตพระสงฆ์ชาวไทย เคยดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม อดีตรองแม่กองธรรมสนามหลวงหนกลาง อดีตเจ้าคณะภาค 14 และอดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม
ประวัติ
[แก้]แย้มเป็นบุตรของ นายหยวก อินทร์กรุงเก่า และนางทวี ศรีบุญรอด เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ณ บ้านคลองรางไทร ตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ขณะมีอายุได้ 12 ปี ณ วัดไร่ขิง โดยมีพระปัญญาวิมลมุนี (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดไร่ขิง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2519 โดยมีพระปฐมนคราภิรักษ์ (ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ) วัดวังตะกู เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูไพศาลคณารักษ์ (ปราณี อินฺทวํโส) วัดไร่ขิง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุปจิตบุญวัฒน์ (บุญธรรม จารุวณฺโณ) วัดบางเลน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า กิตฺตินฺธโร [กิด-ติน-ทะ-โร] จำพรรษาอยู่ที่วัดไร่ขิงตลอดมา จวบจนได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. 2551 มีตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าคณะภาค 14 เมื่อปี พ.ศ. 2564 และมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวชิรานุวัตร เมื่อปี พ.ศ. 2565[1][2]
กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เกิดเหตุต้องอธิกรณ์ จึงต้องลาสิกขา[3] และถูกดำเนินคดี
อธิกรณ์
[แก้]เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09:00 น. พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผู้บังคับการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 5 นำพยานหลักฐานเข้ายื่นคำร้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อขอออกหมายจับพระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง และเจ้าคณะภาค 14 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ หรือ จัดการรักษาทรัพย์ แต่กลับเบียดบัง หรือ ทุจริตทรัพย์นั้นมาเป็นของตน, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และ เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต[4]
จากกรณีมีการตรวจสอบพบว่า พระธรรมวชิรานุวัตรกระทำการทุจริตยักยอกเงินจากบัญชีธนาคารของวัดไร่ขิงเข้าบัญชีธนาคารส่วนตัว เพื่อนำไปเล่นพนันออนไลน์กว่า 300 ล้านบาท ผ่านโบรกเกอร์คนหนึ่ง มีผู้ร้องเรียนมายังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตำรวจจึงส่งสายลับแฝงตัวเพื่อสืบหาหลักฐานในวัดไร่ขิงเป็นระยะเวลานานกว่า 8 เดือน จนพบว่ามีพฤติการณ์ตามที่ถูกกล่าวหาจริง[5]
ต่อมาเมื่อเวลา 10:00 น. พระธรรมวชิรานุวัตรพร้อมด้วยที่ปรึกษาด้านกฎหมายและคณะพระผู้ติดตาม เดินทางมาที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เข้าพบ พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง, พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผู้บังคับการปราบปราม และ พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผู้บังคับการป้องกันปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ ขอเข้าพบกับพนักงานสอบสวนเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก่อนศาลจะอนุมัติหมายจับตน[6] สองชั่วโมงต่อมาศาลได้อนุมัติออกหมายจับ พนักงานสอบสวนจึงนำหมายจับมาแสดงต่อพระธรรมวชิรานุวัตรเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและควบคุมตัว[4]
ทั้งนี้ยังมีผู้ต้องหาอีก 1 รายที่ถูกออกหมายจับ คือ น.ส.อรัญญาวรรณ วังทะพันธ์ ซึ่งเป็นผู้ที่สนับสนุนการกระทำความผิด เป็นนายหน้าเครือข่ายเว็บพนัน และมือรับเดิมพันพนันบาคาร่า โดยตำรวจกองปราบปรามสามารถเข้าจับกุมตัวได้ที่บ้านพักแห่งหนึ่งที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ในเย็นวันเดียวกัน[7] เวลาต่อมา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ได้ออกคำสั่งพักพระธรรมวชิรานุวัตรจากตำแหน่งหน้าที่ทุกตำแหน่ง[8]
กระทั่งเวลา 20:42 น. พระธรรมวชิรานุวัตรจึงยอมเปล่งวาจาลาสิกขาด้วยตัวเอง หลังจากถูกเค้นสอบปากคำเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมง[3]
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 พนักงานสอบสวนนำหมายค้นเข้าตรวจค้นภายในกุฏิอดีตพระธรรมวชิรานุวัตรที่วัดไร่ขิง เข้าเก็บหลักฐานและสอบสวนพยานเพิ่มเติมพบว่ามีเส้นทางการเงินโอนตรงไปยังบัญชี น.ส.อรัญญาวรรณ และมีบัญชีของคนสนิทที่ได้เงินจากอดีตพระธรรมวชิรานุวัตรโอนไปยัง น.ส.อรัญญาวรรณ รวมเป็นเงินกว่า 847 ล้านบาท[9][10]
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 พนักงานสอบสวนควบคุมตัวอดีตพระธรรมวชิรานุวัตรกับ น.ส.อรัญญาวรรณ ไปฝากขังยังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง โดยพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีได้ยื่นคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 2 ราย เนื่องจากเป็นคดีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริต และมีมูลค่าความเสียหายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหากได้รับการประกันตัวเกรงว่าผู้ต้องหาอาจยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและหลบหนีคดี ซึ่งยากต่อการติดตามตัวกลับมาดำเนินคดีในภายหลัง[11] เมื่อศาลพิจารณาแล้วจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ฝากขังอดีตพระธรรมวชิรานุวัตรที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร และฝากขัง น.ส.อรัญญาวรรณ ที่ทัณฑสถานหญิงกลาง[12]
ทั้งนี้ พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ) พระนักเทศน์ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนประณามถึงพฤติกรรมของอดีตพระธรรมวชิรานุวัตรขณะดำรงสมณเพศตามปรากฏข้างต้นว่า "ยิ่งกว่ามหาโจร"[13]
การศึกษา/วิทยฐานะ
[แก้]- พ.ศ. 2510 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดรางกำหยาด อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2514 สอบได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน สำนักเรียนคณะจังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2519 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักศาสนศึกษาวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน สำนักเรียนคณะจังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2559 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
- พ.ศ. 2562 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) วิทยาลัยนครราชสีมา
- พ.ศ. 2564 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รป.ด.) มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ตำแหน่ง
[แก้]งานปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2535 — ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง
- พ.ศ. 2538 — เลขานุการรองเจ้าคณะภาค 14
- พ.ศ. 2545 — เลขานุการเจ้าคณะภาค 14
- พ.ศ. 2548 — เจ้าคณะอำเภอพุทธมณฑล
- พ.ศ. 2549 — พระอุปัชฌาย์ (ประเภทวิสามัญ)
- พ.ศ. 2551 — ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง
- พ.ศ. 2551 — เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง
- พ.ศ. 2557 — รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2564 — เจ้าคณะภาค 14 (มีจังหวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ จำนวน 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี)
- พ.ศ. 2568 — พักจากทุกตำแหน่งหน้าที่[8] และพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากลาสิกขา[3]
งานการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2520 — ครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษาวัดไร่ขิง
- พ.ศ. 2522 — อาจารย์สอนวิชาพระพุทธศาสนา โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
- พ.ศ. 2523 — วิทยากรอบรมธรรมศึกษาก่อนสอบ ชั้นตรี โท เอก โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
- พ.ศ. 2525 — กรรมการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงชั้นตรี
- พ.ศ. 2526 — วิทยากรอบรมบาลีก่อนสอบธรรมสนามหลวง ของภาค 14 ณ สนามอบรมวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2538 — คณะกรรมการสอบบาลีสนามหลวง คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2540 — ผู้แทนแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2545 — หัวหน้ากองงานเลขานุการตรวจข้อสอบธรรมสนามหลวงชั้นตรี ณ วัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2551 — เจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดไร่ขิง พระอารามหลวง
- พ.ศ. 2551 — ผู้อำนวยการจัดอบรมบาลีก่อนสอบของคณะสงฆ์ภาค 14 ณ วัดไร่ขิง ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2557 — รองประธานจัดสอบบาลีสนามหลวง คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม
งานเผยแผ่
[แก้]- พ.ศ. 2547 — เลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 1
- พ.ศ. 2548 – 2557 — ประธานหน่วยอบรมประชาชน อำเภอพุทธมณฑล
- พ.ศ. 2557 — รองประธานพระธรรมทูตฝ่ายบริหาร คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2558 — กรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่วนกลาง
- พ.ศ. 2558 — ประธานกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ประจำจังหวัดนครปฐม
- พ.ศ. 2563 — ประธานกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ หมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่วนกลาง
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- พ.ศ. 2541 ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.บ.) สาขาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2548 ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.) สาขาสังคมศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2549 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร และประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทสงเคราะห์ประชาชนและส่งเสริมการพัฒนาชุมชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2552 ได้รับประกาศเกียรติคุณ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ จากกระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2552 ได้รับถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการ จากวิทยาลัยทองสุข
- พ.ศ. 2553 ได้รับถวายปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
- พ.ศ. 2555 ได้รับถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปร.ด.) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2555 ได้รับถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2555 ได้รับถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2555 ได้รับถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศษ.ด.) สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 เป็นพระฐานานุกรม ในพระธรรมมหาวีรานุวัตร (ปัญญา อินฺทปญฺโญ) วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม ที่ พระครูวินัยธร
- พ.ศ. 2535 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูโสภณปัญญาวุธ[14]
- พ.ศ. 2540 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2545 เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์[15]
- พ.ศ. 2554 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชวิริยาลังการ สุวิธานศาสนกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[16]
- พ.ศ. 2558 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพศาสนาภิบาล ไพศาลสังฆกิจธำรง อุบาลีวงศพิพัฒน์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[17]
- พ.ศ. 2565 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมวชิรานุวัตร พิพัฒนกิจวิธาน สีลสมาจารธำรง อุบาลีวงศวราภรณ์ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม กิตฺตินฺธโร ป.ธ.๓) | พระสังฆาธิการ". sangkhatikan.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ "พระธรรมวชิรานุวัตร (แย้ม) อินทร์กรุงเก่า ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศคณะสงฆ์ภาค ๑๔". www.sangha14.org. สืบค้นเมื่อ 2025-05-25.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ""เจ้าคุณแย้ม" ยอมสึกหน้าพระพุทธรูป ก่อน ตร.ส่งศาลฝากขัง". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ 4.0 4.1 "ศาลอาญาคดีทุจริตออกหมายจับเจ้าอาวาสวัดไร่ขิงยักยอกเงิน300ล". posttoday. 2025-05-15. สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ "สะเทือนสงฆ์ "เจ้าคุณแย้ม" ยักยอกเงินวัดไร่ขิง 300 ล้าน "เล่นพนัน"". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ "วงการสงฆ์ฉาว! เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง ดอดมอบตัว บช.ก. ยักยอกเงินวัด 300 ล้าน แทงพนันออนไลน์". mgronline.com. 2025-05-15. สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ "ป.รวบแล้ว! นายหน้าเว็บพนัน ค้านประกันเจ้าอาวาสแม้ชิงมอบตัว จ่อประสานมหาเถรฯหารือเรื่องสึก". mgronline.com. 2025-05-15. สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ 8.0 8.1 matichon (2025-05-15). "สมเด็จธงชัย ลงนาม พักเจ้าคุณแย้ม จากทุกตำแหน่ง ให้พระราชวชิรโมลี รักษาการแทน". สืบค้นเมื่อ 2025-05-15.
- ↑ ข่าวสด (2025-05-16). "ไม่ใช่ 300 ล้าน สอบพบโอนเกือบ 850 ล้าน ทิดแย้ม สั่งโอน เร่งหารหัสเปิดตู้เซฟ". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 2025-05-17.
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2025-05-16). "พบเส้นเงินอดีตเจ้าอาวาสวัดไร่ขิง โอนให้หญิงคนสนิทกว่า 847 ล้าน". pptvhd36.com. สืบค้นเมื่อ 2025-05-17.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "ฝากขัง-ค้านประกัน "ทิดแย้ม" และพวก ยักยอกเงินวัดไร่ขิง". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2025-05-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-17.
- ↑ "คุมส่งเรือนจำ "อดีตเจ้าคุณแย้ม-อรัญญาวรรณ" ศาลไม่ให้ประกัน". สำนักข่าวไทย อสมท (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2025-05-17. สืบค้นเมื่อ 2025-05-17.
- ↑ matichon (2025-05-15). "พระพยอม ส่ายหน้า เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง เล่นพนันสูญเงินกว่า 300 ล้าน ลั่นเป็นพระมหาโจร". สืบค้นเมื่อ 2025-05-16.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 109, ตอนที่ 155 ง ฉบับพิเศษ, 5 ธันวาคม 2535, หน้า 20
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 15 ข, 6 กรกฎาคม 2549, หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 129, ตอนที่ 6 ข, 15 กุมภาพันธ์ 2555, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 132, ตอนที่ 33 ข, 4 ธันวาคม 2558, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ [จำนวน 59 รูป 1. พระเทพวินยาภรณ์ ฯลฯ], เล่ม 139, ตอนที่ 48 ข, 15 พฤศจิกายน 2565, หน้า 4
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
- เจ้าอาวาสวัดไร่ขิง
- พระราชาคณะชั้นธรรม
- ภิกษุจากจังหวัดนครปฐม
- เปรียญธรรม 3 ประโยค
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร
- บุคคลจากวิทยาลัยทองสุข
- บุคคลจากอำเภอบางเลน
- บุคคลจากอำเภอสามพราน
- เจ้าคณะภาค 14
- อดีตภิกษุ