แม่เหล็กไฟฟ้า (ชนิดแม่เหล็ก)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่เหล็กไฟฟ้าอย่างงา่ยประกอบด้วยขดลวดพันอยู่กับแกนเหล็ก ความเข้มของสนามแม่เหล็กแปรผันตรงกับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวด[1]

แม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: electromagnet) เป็นแม่เหล็กชนิดหนึ่งที่สนามแม่เหล็กของมันผลิตจากกระแสไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าปกติประกอบด้วยลวดพันเข้ากับคอยล์ (coil) กระแสที่ไหลผ่านลวดจะก่อให้เกิดสนามแม่เหล็กซึ่งกระจุกอยู่ในหลุมซึ่งเป็นศูนย์กลางของคอยล์ สนามแม่เหล็กจะหายไปเมื่อปิดกระแสไฟฟ้า ความโค้งของลวดมักพันอยู่รอบแกนแม่เหล็กที่ทำจากวัสดุเฟร์โรแม็กเนติก (ferromagnetic) หรือเฟร์ริเม็กนิติก (ferrimagnetic) เช่น ธาตุเหล็ก แกนแม่เหล็กจะรวมฟลักซ์แม่เหล็กและสร้างแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงขึ้น

ประโยชน์สำคัญของแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อเทียบกับแม่เหล็กถาวร คือ สามารถเปลี่ยนสนามแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็วโดยการควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในขด แต่แม่เหล็กไฟฟ้าต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสนามแม่เหล็กอยู่ตลอดเวลา

แม่เหล็กไฟฟ้าใช้กันแพร่หลายเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น มอเตอร์ เครื่องปั่นไฟ ลำโพง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องเอ็มอาร์ไอ หรืออุปกรณ์คัดแยกแม่เหล็ก เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. Nave, Carl R. (2012). "Electromagnet". Hyperphysics. Dept. of Physics and Astronomy, Georgia State Univ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2014. สืบค้นเมื่อ September 17, 2014.