เจ้าทิพเนตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แม่เจ้าทิพเนตรราชเทวี)
เจ้าทิพเนตร
ภรรยาเจ้านครเชียงใหม่
ดำรงพระยศ28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 – 5 มกราคม พ.ศ. 2453
ก่อนหน้าเจ้าทิพเกสร
ถัดไปเจ้าจามรีวงศ์
ประสูติ22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402
นครเชียงใหม่ ราชอาณาจักรสยาม
ถึงแก่กรรม3 หรือ 13 มีนาคม พ.ศ. 2461 (58 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ มณฑลพายัพ ราชอาณาจักรสยาม
พระสวามีเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
พระโอรสเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
เจ้าบิดาเจ้ามหาเทพ ณ เชียงใหม่
เจ้ามารดาเจ้าทิพโสม ณ เชียงใหม่
ศาสนาพุทธ

แม่เจ้าทิพเนตร์[1] หรือ เจ้าทิพเนตร อินทวโรรสสุริยวงศ์[2] (22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 — 13 มีนาคม พ.ศ. 2461) เป็นภรรยาของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ 8[3] และเป็นพระนัดดาของพระเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ที่ 5[4]

ประวัติ[แก้]

ชีวิตตอนต้น[แก้]

เจ้าทิพเนตร เป็นพระธิดาลำดับที่สามของเจ้ามหาเทพ กับเจ้าทิพโสม ณ เชียงใหม่ เจ้าบิดาเป็นพระโอรสในพระเจ้ามโหตรประเทศ ส่วนเจ้ามารดาเป็นบุตรเจ้าราชบุตร (ทนันไชย ณ เชียงใหม่) และเป็นหลานของพระยาพุทธวงศ์ และทั้งสองก็เป็นผู้สืบสันดานชั้นที่สี่จากพระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ต้นวงศ์ตระกูล[3]

หลังเจ้าดารารัศมี พระราชชายา พระธิดาในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ถวายตัวเข้าเป็นฝ่ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้ส่งหญิงจากตระกูล ณ เชียงใหม่สามคน คือ เจ้าทิพเนตร เจ้าทิพโสตา และเจ้าบัวผัน เป็นพระพี่เลี้ยงรุ่นแรกที่ลงไปอยู่ในพระบรมมหาราชวังด้วยกัน[5] จำเดิมเจ้ามหาเทพ ผู้บิดา ไม่ใคร่ลงรอยกับพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ จนถึงขั้นวิวาท เจ้ามหาเทพจึงถูกกักไปรับราชการที่กรุงเทพมหานครหลายปี เมื่อเจ้าทิพเนตรทรงเจริญพระชันษาสมควรแก่การสมรส พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระชามาดาของพระเจ้ากาวิโลรส ทรงเห็นควรที่จะผูกไมตรีกับพระญาติวงศ์สายพระเจ้ามโหตรประเทศ จึงทรงจัดพิธีสู่ขอเจ้าทิพเนตรแก่เจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่ พระโอรสที่ประสูติแต่เจ้ารินคำ ทั้งสองมีพระโอรสเพียงองค์เดียวคือเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) ซึ่งก็รับราชการในนครเชียงใหม่[3]

ครั้นเมื่อเจ้าสุริยะ ได้ตำแหน่งเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2444 เจ้าทิพเนตรจึงเป็นภรรยาเอกของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ที่นครเชียงใหม่ เธอได้รับการยกย่องว่าเป็นหญิงมีสกุล เหมาะควรกับตำแหน่ง[3]

บั้นปลายและถึงแก่กรรม[แก้]

เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารหริภญไชย ระบุว่า ในช่วงบั้นปลายเจ้าทิพเนตรป่วยเป็นวัณโรคภายในเรื้อรังมานานหลายปี ต้องรักษาพยาบาลอยู่แต่ในเรือน เคยมีอาการหนักจวนจะสิ้นใจอยู่หลายครั้งแต่ก็ฟื้นขึ้นมาได้ เมื่อเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ถึงแก่กรรมไปก่อน เจ้าทิพเนตรได้อยู่ปลงศพสนองคุณสามีจึงสิ้นชีพลงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2460[3] ขณะที่ ราชกิจจานุเบกษา ระบุว่าเจ้าทิพเนตรโรคชรา ถึงแก่กรรม ณ คุ้มเจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2460 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2461) สิริอายุ 58 ปี[6]

การทำงาน[แก้]

เจ้าทิพเนตรเริ่มต้นการทำงานด้วยการเข้าเป็นพระพี่เลี้ยงในเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ซึ่งได้ถวายตัวเข้าเป็นฝ่ายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพมหานคร[5] จากนั้นกลับไปยังนครเชียงใหม่เพื่อทำการวิวาหมงคลกับเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์[3] ช่วงที่ภัสดาเป็นเจ้าอุปราชเป็นต้นมา เจ้าทิพเนตรทำหน้าที่จัดแจงการรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีโอกาสเสด็จไปเยือนนครเชียงใหม่อยู่เสมอ จนเจ้านายหลายพระองค์คุ้นเคยกับเจ้าทิพเนตรอยู่มาก อีกทั้งยังเคยเฝ้าแหนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวติดตามสามีไปกรุงเทพมหานครอยู่เนือง ๆ[3] ในเวลาเดียวกันที่ที่ภัสดาเป็นเจ้าอุปราชอยู่นั้น รัฐบาลสยามไม่พอใจการทำงานของเจ้าอุปราช (น้อยสุริยะ) เป็นอย่างมาก รัฐบาลสยามถึงกับต้องว่าจ้างชายาของเจ้าอุปราชคอยดูแลและกำกับตัวเจ้าอุปราช ดังโทรเลขของพระยาศรีสหเทพต่อกรมหลวงดำรงราชานุภาพเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2443 ใจความตอนหนึ่งว่า "...ได้จัดตั้งเบี้ยหวัดเจ้าทิพเนตร ปีละ ๕๐๐ รูเปีย เท่ากับแม่นางภัณฑารักษ์ ยกขึ้นให้เปนข้าราชการฝ่ายผู้หญิง เงินเบี้ยหวัดรายนี้ ได้บอกให้เจ้าทิพเนตรเข้าใจว่า ถ้าเจ้าอุปราชเมา หรือไม่รับราชการดี จะลดหย่อนเงินเดือนเสีย ถ้ายังไม่ฟัง ขืนเมาหรือขืนเชื่อคำคนสอพลอยุยง ให้เจ้าทิพเนตรฟ้องต่อข้าหลวงใหญ่ อนึ่งเงินค่าตอไม้ แม่ปิง แม่ฮ่องสอน ซึ่งเจ้าผู้ครองเมืองเก็บได้ จะยกเอาเปนของหลวง..."[7]

เจ้าทิพเนตร ในฐานะที่เป็นเจ้านายในนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาเมือง และความเจริญทางเศรษฐกิจ จึงได้จัดตั้งตลาดสดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยใช้ชื่อว่า "ตลาดทิพเนตร" ซึ่งเจ้านายฝ่ายเหนือหลายท่าน ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการก่อสร้าง

ในทางศาสนา เจ้าทิพเนตร มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา โดยได้บริจาคทรัพย์สร้างกุฏิที่วัดหอธรรม จำนวน 2 หลัง ในปี พ.ศ. 2453[1] เพื่อเป็นการทำนุบำรุงศาสนา

เกียรติยศ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง แม่เจ้าทิพเนตรกับเจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ได้สร้างกุฎิขึ้นที่วัดหอธรรม ๒ หลัง
  2. พระโพธิรังสี. เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย : ทั้งภาษาบาฬีและคำแปล. กรุงเทพฯ:โสภณพิพรรฒนากร. 2463
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "เรื่องจามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย (คำนำ)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. เจ้าหญิงทิพเนตร
  5. 5.0 5.1 "พระพี่เลี้ยง นางใน ข้าหลวง ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ตอนที่ 1". สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 8 มกราคม 2565. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-12. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (ง): 3742. 24 มีนาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. พระบารมีปกเกล้าฯ ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปีนามพระราชทาน. นครเชียงใหม่ : ประวัติศาสตร์ พัฒนาการ การศึกษาและสสังคมเมืองนครเชียงใหม่. 2548, หน้า 455
  8. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน และฝ่ายน่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 18 (34): 1157. 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1157. 23 ธันวาคม พ.ศ. 2451. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)