ข้ามไปเนื้อหา

แม่น้ำเอ็กซ์

พิกัด: 50°36′53″N 3°25′30″W / 50.61472°N 3.42500°W / 50.61472; -3.42500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำเอ็กซ์
River Exe
ทิวทัศน์ปากแม่น้ำเอ็กซ์จากบนบอลลูนเหนือเมืองเอ็กซิเตอร์ ด้านหน้าคือมอเตอร์เวย์ M5 ฝั่งซ้ายคือทอปชัม และเอ็กซ์มัทตั้งอยู่ปากน้ำตรงข้ามกับดอว์ลิชวอร์เรน
ที่ตั้ง
ประเทศสหราชอาณาจักร (อังกฤษ)
เทศมณฑลซัมเมอร์เซตและเดวอน
เมืองเอ็กซิเตอร์
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำเอ็กซ์เฮด
 • ตำแหน่งใกล้กับไซมอนส์บาท ซัมเมอร์เซต ประเทศอังกฤษ
 • พิกัด51°09′33″N 3°47′12″W / 51.15917°N 3.78667°W / 51.15917; -3.78667
 • ระดับความสูง440 เมตร
ปากน้ำอ่าวไลม์
 • ตำแหน่ง
ช่องแคบอังกฤษ
 • พิกัด
50°36′53″N 3°25′30″W / 50.61472°N 3.42500°W / 50.61472; -3.42500
 • ระดับความสูง
ระดับน้ำทะเล
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งทอร์เวอร์ตัน
 • เฉลี่ย15.89 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
 • ต่ำสุด0.44 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (27 สิงหาคม ค.ศ. 1976)
 • สูงสุด492.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (4 ธันวาคม ค.ศ. 1960)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายแม่น้ำฮัดเดโอ แม่น้ำคูล์ม แม่น้ำคลิสต์
 • ขวาแม่น้ำบาร์ล แม่น้ำเครดี
แม่น้ำเอ็กซ์ตั้งอยู่ในDevon
ปากแม่น้ำเอ็กซ์
ปากแม่น้ำเอ็กซ์
ต้นแม่น้ำเอ็กซ์
ต้นแม่น้ำเอ็กซ์
แผนที่แสดงตำแหน่งของต้นน้ำในซัมเมอร์เซตและปากน้ำในเดวอน
ปากแม่น้ำเอ็กซ์ และมีปราสาทพาวเดอรัมอยู่ด้านหลัง

แม่น้ำเอ็กซ์ (อังกฤษ: River Exe, /ˈɛks/ eks) เป็นแม่น้ำในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ มีต้นน้ำอยู่ที่เอ็กซ์เฮด (Exe Head) ใกล้กับหมู่บ้านไซมอนส์บาธ (Simonsbath) ในเทศมณฑลซัมเมอร์เซต ห่างจากช่องแคบบริสตอลที่อยู่ทางทิศเหนือประมาณ 8.4 กิโลเมตร แต่ไหลลงไปทางทิศใต้ โดยความยาวส่วนใหญ่ของแม่น้ำเอ็กซ์อยู่ในเทศมณฑลเดวอน แม่น้ำเอ็กซ์มีความยาว 96 กิโลเมตร[1] และไหลลงช่องแคบอังกฤษที่ปากแม่น้ำเอ็กซ์บนชายฝั่งด้านใต้ของเดวอน สะพานที่อยู่ใกล้ปลายน้ำที่สุดเคยอยู่ที่นครเอ็กซิเตอร์ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่สุดริมแม่น้ำนี้ แต่ในปัจจุบัน มอเตอร์เวย์ M5 ตัดผ่านทางใต้ของเดวอน และข้ามแม่น้ำเอ็กซ์ถัดลงไปทางใต้ 3 กิโลเมตรจากตัวเมือง

ลักษณะทั่วไป

[แก้]
แม่น้ำเอ็กซ์ช่วงที่ไหลผ่านเอ็กซิเตอร์คีย์

ชื่อแม่น้ำมีที่มาจากคำว่า *Iska ซึ่งเป็นรากศัพท์ในภาษาบริตโตนิกดั้งเดิมหมายถึง "น้ำ" หรือ "ที่ที่มีปลาอาศัย" ซึ่งเป็นรากศัพท์ร่วมกับคำว่า pysg ในภาษาเวลส์ซึ่งเป็นรูปพหูพจน์ของปลา[2][3] คำเดียวกันนี้ยังเป็นที่มาของชื่อแม่น้ำอีกหลายสายเช่นแม่น้ำแอกซ์ (River Axe) และแม่น้ำเอสก์ (River Esk) ในอังกฤษ และแม่น้ำอัสก์ (River Usk) ในเวลส์ เป็นต้น ชื่อแม่น้ำนี้เป็นที่มาของชื่อนครเอ็กซิเตอร์ ("ป้อมบนแม่น้ำเอ็กซ์") และชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง รวมทั้งหมู่บ้านเอ็กซ์บริดจ์ (Exebridge)[4] ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำบาร์ล (River Barle) ไหลมาบรรจบ เมืองชายฝั่งสองเมืองตั้งอยู่คนละฟากของปากแม่น้ำเอ็กซ์ โดยเมืองเอ็กซ์มัท (Exmouth) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออก และเมืองดอว์ลิชวอร์เรน (Dawlish Warren) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก โดยมีสันดอนทรายเชื่อมระหว่างสองเมืองทอดขวางปากแม่น้ำ

แม่น้ำสายนี้ส่งผลทำให้เอ็กซิเตอร์เจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างมากในยุคกลาง อุตสาหกรรมในเอ็กซิเตอร์เริ่มมีขึ้นในบริเวณเกาะเอ็กซ์ ซึ่งสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 จากการขุดคลองส่งน้ำเข้าไปในบริเวณหาดทรายและที่ลุ่มริมแม่น้ำ ก่อนที่เกาะเอ็กซ์จะกลายเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตกระดาษและสิ่งทอโดยใช้พลังงานจากน้ำ[5]

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อิซาเบล เด ฟอร์ซ เคาน์เตสที่ 8 แห่งเดวอนได้สั่งให้สร้างฝายกั้นแม่น้ำในนครเอ็กซิเตอร์ ฝายดังกล่าวต่อมาจึงมีชื่อเรียกว่าเคาน์เตสแวร์ (Countess Wear) อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเคาน์เตสแวร์ได้กลายเป็นชื่อชุมชนหนึ่งในนครเอ็กซิเตอร์ ส่วนฝายแห่งใหม่ได้แก่ทรูส์แวร์ (Trews Weir) สร้างย้อนขึ้นไปทางต้นน้ำจากเคาน์เตสแวร์เดิม 2 กิโลเมตร[6] คลองเอ็กซิเตอร์ถูกขุดขึ้นเพื่อเป็นทางเลี่ยงให้เรือสามารถเดินทางเข้ามาในตัวเมืองได้ เนื่องจากปากแม่น้ำกว้าง ช่วงน้ำขึ้นผู้คนจึงนิยมเล่นกีฬาทางน้ำโดยเฉพาะเรือใบ วินด์เซิร์ฟ และสกีน้ำในบริเวณปากแม่น้ำ

ทั้งสองฝั่งของบริเวณปากแม่น้ำมีทางรถไฟตัดผ่าน โดยฝั่งตะวันออกมีทางรถไฟสายอาโวเซ็ตจากเอ็กซิเตอร์ไปยังเอ็กซ์มัท และฝั่งตะวันตกมีทางรถไฟสายหลักเซาท์เดวอน โดยสายหลักเซาท์เดวอนตัดเลียบชายฝั่งทะเล และช่วงระหว่างพาวเดอรัม (Powderham) และดอว์ลิชวอร์เรนนั้นตัดผ่านแนวกำแพงกันคลื่น นอกจากนี้ยังมีเรือโดยสารข้ามฟากระหว่างเอ็กซ์มัทและสตาร์ครอสในช่วงฤดูร้อน เชื่อมระหว่างเอ็กซ์มัทและสถานีรถไฟสตาร์ครอสที่อยู่ในสายหลักเซาท์เดวอน บริเวณปากแม่น้ำเอ็กซ์ยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับนกอพยพในช่วงฤดูหนาว ทำให้ดอว์ลิชวอร์เรนเป็นที่นิยมสำหรับนักดูนก นอกจากนี้แม่น้ำเอ็กซ์ยังมีปลาเทราต์สีน้ำตาลและปลาชนิดอื่น ๆ ชุกชุม

อ้างอิง

[แก้]
  1. The Statesman’s Year-Book World Gazetteer ed. John Paxton
  2. Eilert Ekwall (1981). The Concise Oxford Dictionary of English Place-names. Oxford [Eng.]: OUP. p. 171. ISBN 0-19-869103-3.
  3. Owen, H.W. & Morgan, R. 2007 Dictionary of the Place-names of Wales Gomer Press, Ceredigion; Gwasg Gomer / Gomer Press; page 484.
  4. A.D. Mills (2003). A Dictionary of British Place-Names. Oxford Paperbook Reference. ISBN 978-0198527589.
  5. "The Leats of Exeter – a short history". Exeter Memories. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-15. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  6. "Exeter Memories - Countess Wear". www.exetermemories.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]