แม่น้ำหุน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แม่น้ำหุน

浑河 / Hún Hé / Hun River
สะพานฟู่หมินและสะพานฉางชิงข้ามแม่น้ำหุน ที่นครเฉิ่นหยาง
ลำน้ำและพื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหุน [1]
ที่มาของชื่อแม่น้ำโคลน
ชื่อท้องถิ่น浑河
  • ᡥᡠᠨᡝᡥᡝᠪᡳᡵᠠ[1][2][3]  (แมนจู)
  • hunehe bira  (แมนจู)
ที่ตั้ง
ประเทศจีน
มณฑลเหลียวหนิง
ลักษณะทางกายภาพ
ความยาว415 km (258 mi)
พื้นที่ลุ่มน้ำ11,500 km2 (4,400 sq mi)
แม่น้ำหุน
ภาษาจีน浑河
ความหมายตามตัวอักษรแม่น้ำหุน
ตำแหน่งของแม่น้ำหุน ในที่ราบลุ่มแม่น้ำเหลียว ของประเทศจีน
สะพานหุนเหอ ในนครเฉิ่นหยาง
ประติมากรรมที่จัดแสดงที่สวนหุนเหอหว่านตู้


แม่น้ำหุน (จีนตัวย่อ: 浑河; จีนตัวเต็ม: 渾河; พินอิน: hún hé, แปลตามตัว แม่น้ำโคลน) เป็นแม่น้ำในมณฑลเหลียวหนิง ประเทศจีน และเคยเป็นลำน้ำสาขาที่ใหญ่ที่สุดสายหนึ่งของแม่น้ำเหลียว เดิมชื่อแม่น้ำเฉิ่น (จีนตัวย่อ: 沉水; จีนตัวเต็ม: 瀋水; พินอิน: chén shuǐ) แม่น้ำหุนมีความยาว 415 กิโลเมตร (258 ไมล์) และระบายน้ำผ่านที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีพื้นที่กว่า 11,500 ตารางกิโลเมตร (4,400 ตารางไมล์) แม่น้ำหุนมีแควสาขาหลายสาย จำนวนแควสาขาที่มีพื้นที่เก็บกักน้ำมากกว่า 100 ตารางกิโลเมตร ทั้งหมด 31 สาย แม่น้ำหุนไหลผ่านพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของมณฑลเหลียวหนิง ได้แก่ นครเฉิ่นหยางซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมืองฝู่ชุ่นที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ด

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

ชื่อของแม่น้ำหุน (河) หมายถึง "แม่น้ำโคลน" ซึ่งมาจากการไหลที่รวดเร็วของแม่น้ำหุนประกอบกับปริมาณตะกอนที่สูง ซึ่งทำให้มีลักษณะเป็นน้ำโคลน

ในอดีตแม่น้ำหุนยังเป็นที่รู้จักในชื่อ แม่น้ำเหลียวน้อย (小辽水) ส่วนตอนกลางของแม่น้ำยังเป็นที่รู้จักกันในนามแม่น้ำเฉิ่น (瀋水) นครเฉิ่นหยางที่ตั้งบนฝั่งเหนือของแม่น้ำได้รับการตั้งชื่อตามแม่น้ำเฉิ่นนี้ ส่วนตอนล่างเรียกอีกอย่างว่า แม่น้ำเก๋อหลี (蛤蜊河, แปลตามตัว แม่น้ำหอย)

ภูมิศาสตร์[แก้]

ต้นน้ำของแม่น้ำหุนเกิดจากเทือกเขาเชียน (千山) ซึ่งเป็นสาขาของเทือกเขาฉางไป๋ ต้นน้ำของแม่น้ำหุนยังเรียกอีกชื่อว่าลำน้ำน่าลู (纳噜水) หรือแม่น้ำแดง (红河) และไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำต้าหั่วฝาง (大伙房水库) ที่มีความจุ 5,437 ลูกบาศก์กิโลเมตร (1,304 ลูกบาศก์กิโลเมตร) เป็นแหล่งน้ำประปาให้กับเมืองโดยรอบ ได้แก่ เฉิ่นหยาง ฝูซุ่น เหลียวหยาง อานชาน ผานจิ่น หยิงโข่ว และต้าเหลียน

กระทั่งปี 1958 แม่น้ำหุนเข้าร่วมกับแม่น้ำไว่เหลียว และแม่น้ำไท่จื่อ ใกล้เมืองไห่เฉิง (ของเมืองอานชาน) จากโครงการวิศวกรรมชลประทานเพื่อแก้ไขปัญหาการควบคุมอุทกภัยในพื้นที่ชายฝั่งทะเลใกล้เมืองหยิงโข่ว แล้วรวมกันเป็นแม่น้ำต้าเหลียว ซึ่งไหลลงสู่อ่าวเหลียวตง การบรรจบกันของแม่น้ำสามสายนี้เรียกว่า แม่น้ำสามง่าม (三岔河) ตั้งแต่ปี 1958 จึงถือว่าแม่น้ำหุนเป็นลำน้ำที่แยกออกเป็นอิสระจากแม่น้ำเหลียว โดยทั้งแม่น้ำหุนและแม่น้ำไท่จื่อไม่ได้เป็นสาขาของแม่น้ำเหลียวอีกต่อไป

ยุทธการที่มุกเดน[แก้]

หนึ่งในการสู้รบทางบกที่ใหญ่ที่สุดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และเป็นการรบทางบกครั้งสุดท้ายในสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น[4] เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ถึง 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 ระหว่างกองทัพญี่ปุ่นและกองทัพรัสเซีย ที่บริเวณสองฝั่งของแม่น้ำหุนใกล้กับมุกเดน ในแมนจูเรีย ปัจจุบันเมืองนี้ที่ชื่อว่า เฉิ่นหยาง กำลังพลที่ร่วมในการรบ 610,000 คนและผู้เสียชีวิต 164,000 คน ซึ่งญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในการรบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 官修史料.清實錄.中華書局,2008
  2. 滿洲實錄·上函(卷一) 遼寧省檔案館, 遼寧教育出版社, 2012
  3. 御制增訂清文鑑·卷十·人部一·人類一·滿洲 紀昀, 1771
  4. Palmer, Colton & Kramer 2007, p. 673