แมรี เมลลอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมรี เมลลอน
แมรี เมลลอน ในระหว่างถูกกักตัว
เกิด23 กันยายน ค.ศ. 1869(1869-09-23)
Cookstown, County Tyrone, ไอร์แลนด์
เสียชีวิต11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938(1938-11-11) (69 ปี)
North Brother Island, New York, U.S.
สุสานSaint Raymond's Cemetery
สัญชาติBritish subject by birth; American citizen by naturalization after immigration; Assumed Irish post-1921
ชื่ออื่นแมรี บราวน์
อาชีพแม่ครัว
มีชื่อเสียงจากคนที่เป็นพาหะนำโรคไข้รากสาดน้อย

แมรี เมลลอน (อังกฤษ: Mary Mallon; 23 กันยายน ค.ศ. 1869 – 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) หรือรู้จักในชื่อ ไทฟอยด์ แมรี (Typhoid Mary) เป็นแม่ครัวชาวไอริช เชื่อว่าเธอทำให้คนแพร่เชื้อไข้รากสาดน้อย 51 คน ซึ่งมี 3 คนที่เสียชีวิต และถือเป็นคนแรกในสหรัฐที่ได้รับการระบุว่าเป็นคนที่เป็นพาหะนำโรคของโรคนี้[1] เธอถูกเจ้าหน้าที่บังคับกักตัวสองครั้ง และเสียชีวิตหลังการกักตัวนานร่วม 3 ทศวรรษ[2][3]

ชีวิตช่วงแรก[แก้]

แมรี เมลลอนเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1869 ที่คุกส์ทาวน์ เคาน์ตีไทโรน ปัจจุบันอยู่ในไอร์แลนด์เหนือ เธออพยพมาสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1883 หรือ 1884[4][5] ได้อาศัยอยู่กับลุงและป้าในช่วงนั้น และต่อมาได้งานเป็นแม่ครัวให้กับครอบครัวผู้มีฐานะ[6]

การงาน[แก้]

ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1900 ถึง 1907 เมลลอนทำงานเป็นแม่ครัวในพื้นที่ของนิวยอร์กให้กับเจ็ดครอบครัว[7] ในปี 1900 เธอทำงานในแมมาโรเนก นิวยอร์ก ในช่วงที่เธอได้รับการว่าจ้างนั้น ผู้คนในบ้านพักก็ป่วยเป็นไข้รากสาดน้อย ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 เธอย้ายมาแมนฮัตตัน ครอบครัวที่เธอทำงานด้วยก็เป็นไข้และมีอาการท้องร่วง และหญิงซักผ้าเสียชีวิต เมลลอนได้ทำงานกับทนายความ และได้ออกจากบ้านไปหลังสมาชิกในบ้าน 7 ใน 8 คน ป่วย[8]

ปี ค.ศ. 1906 เมลลอนทำงานในออยสเตอร์เบย์ เกาะลอง และภายในสองอาทิตย์ สมาชิก 10 ใน 11 ครอบครัวก็ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคไข้รากสาดน้อย เธอจึงเปลี่ยนงานอีกครั้ง และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดครั้งซ้ำอีกใน 3 ครอบครัว[8] เธอทำงานเป็นแม่ครัวให้กับครอบครัวของนายธนาคารผู้ร่ำรวยในนิวยอร์ก ที่ชื่อ ชาลส์ เฮนรี วอร์เรน เมื่อวอร์เรนเช่าบ้านในออยสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนปี 1906 เมลลอนก็ไปด้วย และในช่วง 27 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน สมาชิก 6 คน ใน 11 คนของครอบครัวนี้ก็ป่วยเป็นโรคไข้รากสาดน้อย ซึ่งถือเป็นโรคที่ผิดปกติในแถบออยสเตอร์เบย์

การสืบสวน[แก้]

ปลายปี ค.ศ. 1906 มีหนึ่งครอบครัวจ้างนักวิจัยด้านไข้รากสาดน้อย ที่ชื่อ จอร์จ โซเพอร์ เพื่อทำการสืบสวน โซเพอร์ได้เผยแพร่ผลลัพธ์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1907 ใน Journal of the American Medical Association เขาเชื่อว่า เมลลอนอาจเป็นตัวแพร่เชื้อ[9] เขาเขียนไว้ว่า

พบครอบครัวครัวหนึ่งได้เปลี่ยนแม่ครัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ราว 3 อาทิตย์ก่อที่โรคไข้ราดสาดน้อยจะระบาด แม่ครัวคนใหม่ เมลลอนอยู่กับครอบครัวนี้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 3 อาทิตย์ ก็โรคจะแพร่ระบาด เมลลอนเป็นหญิงชาวไอริชอายุราว 40 ปี รูปร่างสูง ใหญ่ เป็นโสด ดูเหมือนเธอมีสุขภาพสมบูรณ์ดี[10]

โซเพอร์พบว่าหญิงคนนี้ เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมาทั้งหมด แต่เขาไม่สามารถระบุสถานที่อยู่ของเธอได้ เพราะเธอจะเริ่มออกจากบ้านไปเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมา โดยไม่ได้บอกที่อยู่ไว้ โซเพอร์ยังทราบถึงโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นในเพนต์เฮาส์บนถนนพาร์กเอเวนิว ซึ่งพบว่าเมลลอนทำงานเป็นแม่ครัว คนรับใช้ในบ้านนั้นสองคนถูกส่งเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ลูกสาวของเจ้าของบ้านเสียชีวิต[8]

เมื่อโซเพอร์สามารถเข้าถึงเมลลอนได้แล้ว เธอปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าจะไม่ให้ตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ[11] เขาจึงรวบรวมประวัติการว่าจ้างงานในรอบ 4–5 ปีของเธอ ก็พบว่ามี 8 ครอบครัวที่ว่าจ้างเมลลอนเป็นแม่ครัว มีคนที่ป่วยเป็นโรคไค้ราดสาดน้อย 7 คน[12] จนเมื่อเขาไปพบเธออีกครั้ง เขานำหมอไปด้วย เธอก็ปฏิเสธอีกครั้ง จนการพบในครั้งถัดมาถึงนำเธอส่งเข้าโรงพยาบาลได้ เขาบอกเธอว่า เขาจะเขียนหนังสือและให้เธอค่าสิทธิ เธอโกรธมากและปฏิเสธไป และขังตัวเองอยุ่ในห้องน้ำ จนกว่าเขาจะออกไป[13]

การกักตัวครั้งแรก (1907–1910)[แก้]

แมรี เมลลอน (ข้างหน้า)

ในที่สุดกรมสุขภาพนิวยอร์ก (The New York City Health Department) ได้ส่งแพทย์ แซรา โจเซฟีน เบเกอร์ เข้าคุยกับเมลลอน เบเกอร์กล่าวว่า "ช่วงเวลานั้นเธอเชื่อว่า ได้มีการใช้กฎหมายลงโทษเธอเพราะด้านเชื้อชาติ เพราะเธอไม่ได้ทำอะไรผิดเลย" หลายวันต่อมา เบเกอร์มาในที่ทำงานของเมลลอนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน จับคุมขังเธอได้[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อของเมลลอนได้รับความสนใจจากสื่อ สื่อเรียกเธอว่า "ไทฟอยด์ แมรี" (Typhoid Mary) ซึ่งตีพิมพ์เธอใน Journal of the American Medical Association ในปี 1908 ต่อมาหนังสือที่นิยามคำว่า โรคไข้สาดน้อย ก็เรียกเธออีกครั้งว่า "ไทฟอยด์ แมรี" ในที่คุมขัง เธอถูกบังคับให้ส่งตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้ตัดถุงน้ำดีเธอทิ้ง เพราะเชื่อว่าเชื้อแบคทีเรียของไทฟอยด์มาจากตรงนี้[14] อย่างไรก็ตามเธอก็ยังคงปฏิเสธอ เพราะเชื่อว่าเธอไม่มีเชื้อโรค และไม่ยอมที่จะหยุดทำงานเป็นแม่ครัวด้วย[8]

สารวัตรสุขภาพนครนิวยอร์ก ลงความเห็นว่าเธอคือตัวพาหะ อ้างจากกฎบัตรเกรเตอร์นิวยอร์ก (Greater New York Charter) มาตรา 1169 และ 1170 เมลลอนถูกจับขังแยกเดี่ยวเป็นเวลาสามปีที่คลินิกแห่งหนึ่งบนเกาะนอร์ทบราเตอร์[8]

ท้ายสุด ยูจีน เอช. พอร์เตอร์ อธิบดีกรมสุขภาพแห่งรัฐนิวยอร์ก ตัดสินใจว่า ผุ้เป็นพาหะนำโรคไม่ควรจะกักขังเดี่ยว และให้ปล่อยตัวเมลลอน แต่เธอต้องยินยอมตกลงว่าจะไม่กลับไปทำงานเป็นแม่ครัวอีก และควรมีมาตรการที่ดีในการป้องกันการแพร่โรคไข้รากสาดน้อยสู่ผู้อื่น วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1910 เมลลอนตกลงที่จะเปลี่ยนอาชีพ และให้สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเธอจะระมัดระวังด้านสุขอนามัย และพยายามไม่ให้คนที่เกี่ยวข้องกับเธอติดโรค เธอถูกปล่อยตัวออกมาและใช้ชีวิตในแผ่นดินใหญ่[15]

ปล่อยตัวและการกักตัวครั้งที่สอง (1915–1938)[แก้]

หลังจากถูกปล่อยตัว เมลลอนทำงานซักผ้า ซึ่งได้รับค่าจ้างน้อยกว่าทำอาหาร หลังจากไม่ประสบความสำเร็จนักกับการทำงานซักผ้ามายาวนานหลายปี เธอเปลี่ยนชื่อมาเป็น แมรี บราวน์ และกลับไปทำอาชีพเดิมที่ถูกห้ามไว้ 5 ปีต่อมา เธอทำงานหลายที่ และทุกที่ที่เธอทำงานก็เกิดโรคไข้ลากสาดน้อย อย่างไรก็ดี เธอเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้โซเพอร์ไม่สามารถหาตัวเธอได้พบ[8]

ปี 1918 เมลลอนเริ่มแพร่โรคครั้งใหญ่ ครั้งนี้ที่โรงพยาบาลสตรีสโลนในนครนิวยอร์ก มี 25 คนติดเชื้อ และมีสองคนเสียชีวิต เธอออกจากงานอีกครั้ง แต่ตำรวจสามารถหาตัวเธอได้พบและจับตัวเธอขณะที่เธอกำลังทำอาหารให้เพื่อนอยู่ในเกาะลอง[8][15] หลังจับเธอ เจ้าหน้าที่ได้กักตัวเธออีกครั้งที่เกาะนอร์ทบราเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1915 เธอก็ยังคงไม่ยอมตัดถุงน้ำดีทิ้ง[15]

เมลลอนใช้ชีวิตที่นั่นที่เหลือตลอดชีวิตของเธอ เธอมีชื่อเสียงและในบางครั้งก็มีสื่อมาสัมภาษณ์ สื่อไม่อนุญาตให้แม้แต่รับน้ำจากเธอ[8] ต่อมาเธอได้รับอนุญาตให้กลับมาทำงานเป็นช่างเทคนิคที่แลบบนเกาะนั้น โดยทำงานล้างขวด[9]

เสียชีวิต[แก้]

ภาพโปสเตอร์เตือนการทำแบบ Typhoid Mary

เมลลอนใช้ชีวิตที่เหลือด้วยการถูกกักขังที่โรงพยาบาลริเวอร์ไซด์ 6 ปี ก่อนเธอเสียชีวิตเธอเป็นอัมพาต วันที่ 11 พฤศจิกายน 1938 เธอเสียชีวิตจากโรคปอดบวมด้วยวัย 69 ปี[1] การชันสูตรศพเธอ พบว่ามีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่ที่บริเวณถุงน้ำดีของเธอ[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'Typhoid Mary' Dies Of A Stroke At 68. Carrier of Disease, Blamed for 51 Cases and 3 Deaths, but Immune". The New York Times. พฤศจิกายน 12, 1938. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2011. สืบค้นเมื่อ February 28, 2010. Mary Mallon, the first carrier of typhoid bacilli identified in America and consequently known as Typhoid Mary, died yesterday in Riverside Hospital on North Brother Island.
  2. The Gospel of Germs: Men, Women, and the Microbe in American Life, ISBN 0674357086
  3. Typhoid Mary: An Urban Historical, ISBN 160819518X
  4. Cliff, Andrew; Smallman-Raynor, Matthew (2013). Oxford Textbook of Infectious Disease Control: A Geographical Analysis from Medieval Quarantine to Global Eradication. Oxford University Press. p. 86. ISBN 978-0-199-59661-4.
  5. Walzer Leavitt, Judith (1996). Typhoid Mary: Captive to the Public's Health. Putnam Publishing Group. ISBN 978-0807021026.
  6. Kenny, Kevin (2014). The American Irish: A History. Routledge. p. 187. ISBN 978-1-317-88916-8.
  7. Job Readiness for Health Professionals: Soft Skills Strategies for Success. Elsevier Health Sciences. 2012. p. 56. ISBN 978-1-455-73771-0.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 Dex and McCaff (August 14, 2000). "Who was Typhoid Mary?". The Straight Dope.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 Ochs, Ridgely (2007). "Dinner with Typhoid Mary". Newsday.
  10. "Dinner With Typhoid Mary" (PDF). FDA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-03-11.
  11. Soper, George A. (June 15, 1907). "The work of a chronic typhoid germ distributor". J Am Med Assoc. 48 (24): 2019–22. doi:10.1001/jama.1907.25220500025002d.
  12. Satin, Morton (2007). Death in the Pot. New York: Prometheus Books. p. 169.
  13. "The Most Dangerous Woman In America". Nova. ตอน 597 (ภาษาอังกฤษ). October 12, 2004. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 28:42-29:52. PBS. สืบค้นเมื่อ August 31, 2014.
  14. Brooks, J (1996-03-15). "The sad and tragic life of Typhoid Mary". CMAJ: Canadian Medical Association Journal. 154 (6): 915–916. ISSN 0820-3946. PMC 1487781. PMID 8634973.
  15. 15.0 15.1 15.2 "Food Science Curriculum" (PDF). Illinois State Board of Education. p. 118. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ ธันวาคม 18, 2010. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 9, 2011.
  16. Marineli, Filio; Tsoucalas, Gregory; Karamanou, Marianna; Androutsos, George (2013). "Mary Mallon (1869-1938) and the history of typhoid fever". Annals of Gastroenterology. 26 (2): 132–133. PMC 3959940. PMID 24714738.