ข้ามไปเนื้อหา

แผ่นดินไหวในหมู่เกาะซามัว พ.ศ. 2552

พิกัด: 15°32′S 171°52′W / 15.53°S 171.87°W / -15.53; -171.87
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในหมู่เกาะซามัว พ.ศ. 2552
เวลาสากลเชิงพิกัด2009-09-29 17:48:10
รหัสเหตุการณ์ ISC15162203
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น29 กันยายน พ.ศ. 2552
เวลาท้องถิ่น06:48:10
ขนาด8.1 Mw[1]
ความลึก15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง15°32′S 171°52′W / 15.53°S 171.87°W / -15.53; -171.87[1]
ประเภทรอยเลื่อนตามแนวมุมเท[2][3]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบธงของประเทศซามัว ซามัว
ธงของอเมริกันซามัว อเมริกันซามัว
ธงของประเทศตองงา ตองงา
ธงของหมู่เกาะคุก หมู่เกาะคุก
ธงของประเทศฟีจี ฟีจี
ธงของเฟรนช์พอลินีเชีย เฟรนช์พอลินีเชีย
ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VI (แรง) [3]
สึนามิใช่
ผู้ประสบภัยอย่างน้อย 189 คน[4]
บาดเจ็บร้อยกว่าคน[5]

แผ่นดินไหวในหมู่เกาะซามัว พ.ศ. 2552 เกิดขึ้นในหมู่เกาะซามัวเมื่อเวลา 06:48:11 น. ตามเวลาท้องถิ่นในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552 (17:48:11 น. UTC, 29 กันยายน)[6] โดยมีแผ่นดินไหว 2 ครั้งขนาด 7.8 แมกนิจูด ซึ่งรวมขนาดได้ที่แมกนิจูด 8.0[2]

แผ่นดินไหวในครั้งนี้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ 5 ลูก โดยคลื่นลูกใหญ่ที่สุดมีความสูงถึง 9.2 เมตร (13.7 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล ศูนย์เตือนภัยสึนามิมหาสมุทรแปซิฟิกตรวจจับว่าน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น 3 นิ้ว (76 มม.) ใกล้กับจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเกิดขึ้นใกล้กับเขตเคอร์มาเดก-ตองงา ซึ่งมีแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกที่มุดตัวลงใต้แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลียในวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งบนโลกที่มีแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอยู่เป็นประจำ

ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ได้แก่อเมริกันซามัว, ซามัว และตองงา ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 189 คน โดยเฉพาะเด็ก ๆ ส่วนใหญ่จากซามัว[7] มีรายงานคลื่นขนาดใหญ่ที่ไม่สร้างความเสียหายอย่างหนักที่ชายฝั่งฟีจี ชายฝั่งทางเหนือของนิวซีแลนด์[8] และราโรตองงาในหมู่เกาะคุก และไม่มีรายงานคลื่นสูงจากวานูวาตู, คิริบาส, นิวแคลิโดเนีย และหมู่เกาะโซโลมอน[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ISC-GEM
  2. 2.0 2.1 Thorne Lay; Charles J. Ammon; Hiroo Kanamori; Luis Rivera; Keith D. Koper; Alexander R. Hutko (2010). "The 2009 Samoa–Tonga great earthquake triggered doublet". Nature. 466: 964–968. doi:10.1038/nature09214.
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USGS
  4. "tvnz.co.nz-Search continues as death rises". tvnz.co.nz. 2 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  5. Perry, Michael (29 September 2009). "Samoa tsunami toll may exceed 100, hundreds injured". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 29 September 2009.
  6. "Magnitude 8.0 - SAMOA ISLANDS REGION". earthquake.usgs.gov. 2009-09-29. สืบค้นเมื่อ 2009-09-30.
  7. "Search for bodies continue, death toll rises in South Pacific | NATIONAL News". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  8. "Pacific tsunamis: Countries hit". news.bbc.co.uk. 29 September 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 30 September 2009.
  9. "Waves hit Tonga, damage but no casualties". Stuff.co.nz. 30 September 2009. สืบค้นเมื่อ 10 September 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]