แผ่นดินไหวในมณฑลส่านซี พ.ศ. 2099

พิกัด: 34°30′01″N 109°18′00″E / 34.50028°N 109.30000°E / 34.50028; 109.30000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในมณฑลส่านซี พ.ศ. 2099
แผนที่ปัจจุบันของประเทศจีนแสดงมณฑลส่านซี (สีแดง) และมณฑลอื่นที่ได้รับผลกระทบ (สีส้ม)
แผ่นดินไหวในมณฑลส่านซี พ.ศ. 2099ตั้งอยู่ในประเทศจีน
แผ่นดินไหวในมณฑลส่านซี พ.ศ. 2099
วันที่ท้องถิ่น23 มกราคม ค.ศ. 1556 (1556-01-23) ในปฏิทินจูเลียน[1]
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1556 (1556-02-02) ในปฏิทินกริกอเรียน
วันที่ 12 เดือน 12 ศักราชเจียจิ้งที่ 34 ในปฏิทินจีน
เวลาท้องถิ่นเช้าตรู่
ขนาด8.0 Mw[2]
ความลึกไม่ทราบ
ศูนย์กลาง34°30′01″N 109°18′00″E / 34.50028°N 109.30000°E / 34.50028; 109.30000
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจีนสมัยราชวงศ์หมิง
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้XI (สุดขีด)
ผู้ประสบภัย
  • 100,000+ (เสียชีวิตโดยตรง)[3][4][5]

แผ่นดินไหวที่มณฑลส่านซี พ.ศ. 2099 หรือ แผ่นดินไหวฮว่าเซี่ยน (จีน: 华县大地震; พินอิน: Huà xiàn dà dìzhèn) หรือ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เจียจิ้ง (จีน: 嘉靖大地震; พินอิน: jiājìng dà dìzhèn) เกิดขึ้นเมื่อเช้าวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) เป็นปีที่ 35 ในรัชสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่หุบเขาแม่น้ำเว่ย ใกล้กับเมืองหัวเซี่ยนในมณฑลส่านซี และสร้างความเสียหายให้กับมากกว่า 97 เมืองโดยรอบในเขตมณฑลส่านซี มณฑลซานซี มณฑลเหอหนาน มณฑลกานซู มณฑลเหอเป่ย์ มณฑลซานตง มณฑลหูเป่ย์ มณฑลหูหนาน มณฑลเจียงซู และมณฑลอานฮุย [6] พื้นที่ในระยะ 840 กิโลเมตร (520 ไมล์) โดยรอบถูกทำลาย การประมาณการสมัยใหม่จัดให้มีผู้เสียชีวิตในแผ่นดินไหวที่มากกว่า 100,000 คน กับผู้ที่อพยพหรือเสียชีวิตจากโรคมีมากกว่า 700,000 คน ซึ่งรวมกันมีจำนวน 830,000 คนในบันทึกของจักรวรรดิ[3][4][5] นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สร้างความสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์[7]

แผ่นดินไหวครั้งนี้ประมาณการว่ามีขนาดประมาณแมกนิจูด 8.0 และเกิดอาฟเตอร์ช็อกติดตามมาหลายครั้งเป็นเวลาหกเดือน [8]

อ้างอิง[แก้]

  1. International Association of Engineering Geology International Congress. Proceedings. [1990] (1990). ISBN 90-6191-664-X.แม่แบบ:Author?แม่แบบ:Title?[ต้องการเลขหน้า] [ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
  2. Du et al. 2017, p. 84.
  3. 3.0 3.1 高东旗; 王常有; 杜玉萍; 王晓燕 (2008). "大地震后传染病的防疫要点 [Key points of infectious diseases prevention after earthquakes]". 华北国防医药 (3). 1556年陕西发生大地震,当时死亡10万人,而第2年发生大瘟疫,却死亡70多万人 [100,000 died in 1556, while a plague struck the subsequent year and led to a further death of 700,000-odd.]
  4. 4.0 4.1 China Earthquake Administration, บ.ก. (2008). 地震知识百问百答 [100 Q&As on Earthquakes]. 地震出版社. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-09. 实则直接死于地震的只有十数万人,其余70余万人均死于瘟疫和饥荒 [Actually, direct deaths from earthquake amount to 100,000-odd, the remaining 700,000-odd died from plagues and famine]
  5. 5.0 5.1 颤抖的地球—地震科学 [Trembling Earth: On Seismology] (2005). Researched by China Earthquake Administration seismologists 冯万鹏,薑文亮,龚丽霞,公茂盛,胡进军; Revised by CEA seismologists 王文清,续春荣,张宝红; Edited by CEA chiefs 谢礼立,张景发. Tsinghua University Press. Pages XIII, 162. "1556年陕西华县8级大地震,死亡的83万人中, 据估计死于瘟疫者不下七八成" [Among the 830,000 died, it is estimated that no less than 70% or 80% died from plagues]
  6. Science Museums of China Museum of Earthquakes, Ruins of Hua County Earthquake (1556)
  7. "China's History of Massive Earthquakes". 12 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
  8. Kepu.ac.cn, China virtual museums quake

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Houa, Jian-Jun; Hanb, Mu-Kang; Chaib, Bao-Long; Hanc, Heng-Yue (1998), "Geomorphological observations of active faults in the epicentral region of the Huaxian large earthquake in 1556 in Shaanxi Province, China", Journal of Structural Geology, 20 (5): 549–557, Bibcode:1998JSG....20..549H, doi:10.1016/S0191-8141(97)00112-0.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]