แผ่นดินไหวในภาคกลางของประเทศอิตาลี สิงหาคม พ.ศ. 2559
![]() | |
เวลาสากลเชิงพิกัด | 2016-08-24 01:36:32 |
---|---|
รหัสเหตุการณ์ ISC | 611462212 |
USGS-ANSS | ComCat |
วันที่ท้องถิ่น | 24 สิงหาคม 2559 |
เวลาท้องถิ่น | 03:36 CEST |
ขนาด | 6.2 Mw[1][3] |
ความลึก | 4.4 กิโลเมตร (2.7 ไมล์)[1][2] |
ศูนย์กลาง | 42°42′22″N 13°13′23″E / 42.706°N 13.223°E[2] |
ประเภท | ตามแนวมุมเท (ปกติ)[1] |
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ | อิตาลีตอนกลาง |
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้ | XI (สุดขีด) [4] |
ผู้ประสบภัย | เสียชีวิต 299 ราย[5] บาดเจ็บ ≈ 388 ราย[6] ไร้ที่อยู่อาศัย 4,500 ราย[7] |
ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เมื่อเวลา 03:36 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง (08:36 น. ตามเวลาในไทย) เกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 6.2 ± 0.016 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ในภาคกลางของประเทศอิตาลีใกล้เมืองนอร์ชา บริเวณรอยต่อระหว่างแคว้นอุมเบรีย, ลาซีโอ และมาร์เก ห่างจากเมืองเปรูจาไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 75 km (47 mi) และห่างจากเมืองลากวีลาไปทางทิศเหนือ 45 km (28 mi) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 292 ราย และมีผู้สูญหายอีกจำนวนมาก[8]
Background
[แก้]ภาคกลางของอิตาลีเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดของประเทศ โดยได้รับผลกระทบเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกแอฟริกากับแผ่นเปลือกโลกยูเรเชีย ทั้งยังมีรอยเลื่อนพาดผ่านตามแนวเทือกเขาแอเพนไนน์[9] แผ่นดินไหวครั้งนี้ถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวใกล้เมืองลากวีลาในแคว้นอาบรุซโซเมื่อปี พ.ศ. 2552[10] ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 300 ราย และส่งผลให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกประมาณ 65,000 ราย
แผ่นดินไหว
[แก้]หลังจากแผ่นดินไหวครั้งแรก ได้เกิดแผ่นดินไหวตามอย่างรุนแรงอย่างน้อย 40 ครั้ง[11] ในเบื้องต้น สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า แผ่นดินไหวหลักมีศูนย์เกิดลึกลงไป 10.0 km (6.2 mi) วัดขนาดความรุนแรงได้ 6.4[1][12] ต่อมาปรับเหลือ 6.2 ในขณะที่ศูนย์วิทยาแผ่นดินไหวยุโรป-เมดิเตอร์เรเนียนวัดขนาดความรุนแรงได้ 6.1[13][14] และสถาบันธรณีฟิสิกส์และวิทยาภูเขาไฟแห่งชาติอิตาลีขนาดความรุนแรงได้ 6.0[15]
รายงานในช่วงแรกระบุถึงความเสียหายอย่างรุนแรงในเมืองอามาตรีเช (ใกล้จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว)[16] รวมทั้งในเมืองอัคคูโมลีและอาร์ควาตาเดลตรอนโต แซร์โจ ปีรอซโซ นายกเทศมนตรีเมืองอามาตรีเชกล่าวว่า "ที่นี่ไม่มีอามาตรีเชอีกแล้ว ครึ่งหนึ่งของเมืองถูกทำลายหมด"[17] ภาพถ่ายความเสียหายแสดงให้เห็นกองซากปรักหักพังขนาดใหญ่ในใจกลางเมือง โดยเหลือสิ่งปลูกสร้างไม่กี่แห่งที่ยังตั้งมั่นอยู่ได้ในพื้นที่รอบนอก[18] แรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหวตามอีกหลายระลอกสามารถรู้สึกได้ทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคกลางของอิตาลี ซึ่งรวมถึงโรม, เนเปิลส์ และฟลอเรนซ์[19]
นอกจากความเสียหายแก่ชีวิตแล้ว แผ่นดินไหวครั้งนี้ยังสร้างความเสียหายแก่มรดกทางวัฒนธรรมเป็นวงกว้าง ในเมืองอามาตรีเช ด้านหน้าและหน้าต่างกลมของโบสถ์ซานตากอสตีโนพังทลาย ส่วนในกรุงโรม แรงสั่นสะเทือนยังก่อให้เกิดรอยร้าวในโรงอาบน้ำการากัลลาสมัยโรมันด้วย[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "M6.2 – 10km SE of Norcia, Italy". United States Geological Survey. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "Relazione di dettaglio: Rieti Mw 6.0 del 2016-08-24 01:36:32 UTC" (PDF). INGV (ภาษาอิตาลี). 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.
- ↑ "Origin". USGS Technical. USGS. สืบค้นเมื่อ 26 August 2016.
- ↑ Paolo Galli; Sergio Castenetto; Edoardo Peronace (2017). "The Macroseismic Intensity Distribution of the 30 October 2016 Earthquake in Central Italy (Mw 6.6): Seismotectonic Implications". Tectonics. 36 (10): 2179–2191. doi:10.1002/2017TC004583. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-24. สืบค้นเมื่อ 2022-09-02.
- ↑ "Terremoto nell'Italia centrale. È morta una donna ricoverata: le vittime sono 299" (ภาษาอิตาลี). Rai News24. 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2016.
- ↑ Santalucia, Paolo (26 August 2016). "Italy Earthquake: Death toll reaches 278 while road damage could see town 'isolated'". The Independent. สืบค้นเมื่อ 26 November 2016.
- ↑ Terremoto, Curcio: 4500 nelle tende, ma presto via da lì. Per le casette 7 mesi
- ↑ "Terremoto, Renzi spegne la rabbia delle famiglie: "Niente funerali a Rieti, si celebreranno ad Amatrice"" [Earthquake,Renzi calms down the madness of the families:"No funerals at Rieti,it will be celebrate at Amatrice"]. tgcom24 (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 29 August 2016.
- ↑ "Italy earthquake: Death toll rises to at least 120". BBC Online. 24 August 2016. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Breslin, Sean (24 August 2016). "6.2 Magnitude Earthquake Hits Italy; Residents Trapped, Major Damage Reported". Weather.com. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Povoledo, Elisabetta (24 August 2016). "6.2-Magnitude Earthquake Rattles Italy, Killing Dozens". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Scherer, Steve (24 August 2016). "Magnitude 6.4 quake hits Italy near Perugia: USGS" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-26. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Park, 1Madison; Karimi, Faith (24 August 2016). "Earthquake hits central Italy". CNN. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Santalucia, Paola; Winfield, Nicole (24 August 2016). "6.2-magnitude earthquake rattles Rome, central Italy". The Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ "Earthquake with magnitude of 6.0 on date 24-08-2016 and time 01:36:32 (UTC) in region Rieti". cnt.rm.ingv.it. Istituto Nazionale di Geofisica e Vulcanologia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-27. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.
- ↑ Povoledo, Elisabetta; Mele, Christopher (23 August 2016). "Large Earthquake Strikes Central Italy". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Chrisafis, Angelique (24 August 2016). "Mayor of Amatrice: 'the town isn't here any more' after strong earthquake". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Lorenzi, Rossella (August 24, 2016). "taly Quake: Famous Village 'Isn't Here Any More'". Seeker. สืบค้นเมื่อ August 24, 2016.
- ↑ Palazzo, Chiara; Graham, Chris; Squires, Nick (24 August 2016). "Italy quake: 6.4 magnitude tremor rocks heart of the country". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 24 August 2016.
- ↑ Kennedy, Maev. "Art experts fear serious earthquake damage to historic Italian buildings". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 August 2016.