แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก พ.ศ. 2557

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในอิกิเก พ.ศ. 2557
แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก พ.ศ. 2557ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้
อิกิเก
อิกิเก
ซันติอาโก
ซันติอาโก
แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก พ.ศ. 2557
เวลาสากลเชิงพิกัด2014-04-01 23:46:47
รหัสเหตุการณ์ ISC610102185
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น1 เมษายน ค.ศ. 2014 (2014-04-01)
เวลาท้องถิ่น20:46 CST (UTC-03:00)
ขนาด8.2 Mw[1]
ความลึก25 กิโลเมตร (16 ไมล์)[1]
ศูนย์กลาง19°36′36″S 70°46′08″W / 19.610°S 70.769°W / -19.610; -70.769[1]
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบชิลี, เปรู, โบลิเวีย
ความเสียหายทั้งหมดบ้านเสียหาย 2,500 หลัง
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้VIII (อย่างรุนแรง)
สึนามิ4.6 เมตร (15 ฟุต)
ผู้ประสบภัยชิลี: เสียชีวิต 6 คน[2][3][4]
เปรู: บาดเจ็บ 9 คน[5]

แผ่นดินไหวในจังหวัดอิกิเก หรือ แผ่นดินไหวในนอร์เตกรันเด พ.ศ. 2557 (สเปน: terremoto del Norte Grande de 2014) เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ทางตอนเหนือของประเทศชิลี จุดเหนือศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกชายฝั่งประเทศชิลีราว 95 กิโลเมตร แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 20:46 น. ตามเวลาในประเทศชิลี (ตรงกับ 06:46 น. ของวันที่ 2 เมษายนตามเวลาในประเทศไทย) มีขนาดความรุนแรง 8.2 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ แผ่นดินไหวยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิ แผ่นดินไหวตามขนาดสูงสุดมีระดับ 7.7 Mw

ธรณีวิทยา[แก้]

แผนที่ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวโดย USGS

แผ่นดินไหวขนาด 8.2 Mw ครั้งนี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนของรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust) ใกล้ชายฝั่งประเทศชิลี ที่มีความลึกไม่มาก บนรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกนัซกากับแผ่นอเมริกาใต้ กลไกของแผ่นดินไหวครั้งนี้สอดคล้องกับการเคลื่อนตัวระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่น แผ่นนัซกา ณ ตำแหน่งนี้เคลื่อนที่มุดลงใต้แผ่นอเมริกาใต้บริเวณร่องลึกเปรู-ชิลี ทางตะวันตกของประเทศชิลี ไปทางตะวันออกด้วยความเร็ว 65 มิลลิเมตรต่อปี ซึ่งการมุดตัวดังกล่าวทำให้เกิดการย่นของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันออกของแผ่นนาซกา ยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาแอนดีสในปัจจุบัน และยังเป็นต้นเหตุของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หลายครั้งซึ่งมีความรุนแรงระดับประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เช่น แผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2553 ขนาด 8.8 Mw และแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของโลกที่เคยบันทึกไว้ ขนาด 9.5 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503[6]

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหวครั้งนี้ แต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเคยถูกเรียกว่าเป็น "ช่องว่างแผ่นดินไหว" (seismic gap) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นแนวใกล้ชายฝั่งประเทศชิลี ยาวประมาณ 450 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเมืองอาริกากับอันโตฟากัสตา เนื่องจากปกติแล้ว บริเวณดังกล่าวถือว่ามีศักยภาพต่อการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แต่ตามบันทึกพื้นที่แห่งนี้ไม่ปรากฏแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เลยตั้งแต่เหตุแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2420 ขนาด 8.8 Mw[7] นักวิทยาแผ่นดินไหวทั้งในและนอกประเทศชิลีกล่าวว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ (พ.ศ. 2557) สามารถลบล้างความเป็น "ช่องว่าง" ได้เพียงบางส่วน เนื่องจากถือว่ามีขนาดไม่ใหญ่มากเมื่อเทียบตามที่คาดการณ์ไว้

แผ่นดินไหว[แก้]

แผ่นดินไหวมีความรุนแรง 8.2 ตามมาตราขนาดโมเมนต์ สามารถรู้สึกได้ในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตา ตาราปากา และอันโตฟากัสตา ประเทศชิลี[8] แคว้นตักนา โมเกกัว และอาเรกิปา ประเทศเปรู[9] แคว้นลาปาซ โกชาบัมบา และโอรูโร ประเทศโบลิเวีย[10] ความรุนแรงที่รู้สึกได้ตามมาตราเมร์กัลลีมีค่าสูงสุดในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตา ซึ่งมีระดับ VIII (ทำลาย) รองลงมาเป็นแคว้นตาราปากา มีระดับ VII (แรงมาก)

แผ่นดินไหวนำ[แก้]

ก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.2 Mw (1 เมษายน) หนึ่งอาทิตย์ ได้เกิดแผ่นดินไหวนำในพื้นที่หลายครั้ง นับได้ทั้งหมด 57 ครั้งที่มีระดับมากกว่า 4.5 ตามมาตราริกเตอร์ โดยครั้งรุนแรงที่สุดเกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ขนาด 6.7 ตามมาตราริกเตอร์ แผ่นดินไหวนำที่มีขนาดมากกว่า 5.5 แสดงในตารางดังนี้

ตารางแสดงแผ่นดินไหวนำในแคว้นตาราปากาที่มีความรุนแรงตั้งแต่ 5.5 ML ขึ้นไป
วันที่ เวลาท้องถิ่น
(UTC–3)
พิกัด ความลึก
(กิโลเมตร)
ML ความรุนแรง
(มาตราเมร์กัลลี)
อ้างอิง
16 มีนาคม 2557 18:16:29 น. 19°57′54″S 70°48′50″W / 19.96500°S 70.81389°W / -19.96500; -70.81389 20.6 6.7 VI [11]
17 มีนาคม 2557 02:11:34 น. 19°55′41″S 70°56′38″W / 19.92806°S 70.94389°W / -19.92806; -70.94389 28.3 6.3 III [12]
18 มีนาคม 2557 18:26:46 น. 19°57′29″S 70°56′38″W / 19.95806°S 70.94389°W / -19.95806; -70.94389 38.1 5.8 V [13]
22 มีนาคม 2557 09:59:54 น. 19°50′10″S 71°23′2″W / 19.83611°S 71.38389°W / -19.83611; -71.38389 31.8 5.8 V [14]
23 มีนาคม 2557 15:20:00 น. 19°47′38″S 70°56′35″W / 19.79389°S 70.94306°W / -19.79389; -70.94306 33.8 6.2 VI [15]
24 มีนาคม 2557 12:45:32 น. 19°35′38″S 70°47′28″W / 19.59389°S 70.79111°W / -19.59389; -70.79111 43.0 5.5 V [16]

แผ่นดินไหวตาม[แก้]

ภาพเคลื่อนไหวแสดงตำแหน่งและขนาดของแผ่นดินไหวนำและแผ่นดินไหวตาม

หลังแผ่นดินไหวหลักขนาด 8.2 Mw ได้เกิดแผ่นดินไหวตามครั้งแรกเมื่อเวลา 20:49 น. ตามเวลาท้องถิ่นชิลี (เกิดหลังแผ่นดินไหวหลัก 3 นาที) มีขนาด 7.5 Mw ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 26.8 กิโลเมตร ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือราว 29 กิโลเมตร แผ่นดินไหวตามขนาดใหญ่อีกครั้งเกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน เวลา 23:43 น. (หลังแผ่นดินไหวหลักหนึ่งวัน) ขนาด 7.7 จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ห่างจากเมืองอิกิเกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 50 กิโลเมตร ซึ่งทำให้ทางการท้องถิ่นต้องประกาศอพยพประชาชนหนีภัยสึนามิอีกครั้งหนึ่ง[17] โดยคลื่นหลักที่กระทบชายฝั่งเมืองอิกิเกมีความสูง 74 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่อื่นไม่มีการประกาศสึนามิถึงระดับเตือนภัย[18] แผ่นดินไหวตามทั้งหมดที่บันทึกได้จนถึงวันที่ 17 เมษายน เวลา 19:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีทั้งสิ้น 717 ครั้ง ในจำนวนนี้ 52 ครั้ง ประชาชนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน[19]

ตารางแสดงแผ่นดินไหวตามในแคว้นตาราปากาที่มีความรุนแรงตั้งแต่ 6.0 Mw ขึ้นไป
วันที่ เวลาท้องถิ่น
(UTC–3)
พิกัด ความลึก
(กิโลเมตร)
MW ความรุนแรง
(มาตราเมร์กัลลี)
อ้างอิง
1 เมษายน 2557 20:49:25 น. 20°5′6″S 70°23′20″W / 20.08500°S 70.38889°W / -20.08500; -70.38889 26.8 7.5 ไม่มีข้อมูล [20]
1 เมษายน 2557 20:57:58 น. 19°53′35″S 70°56′42″W / 19.89306°S 70.94500°W / -19.89306; -70.94500 28.4 6.9 VI [21]
1 เมษายน 2557 22:58:30 น. 20°18′40″S 70°34′34″W / 20.31111°S 70.57611°W / -20.31111; -70.57611 24.1 6.5 VI [22]
1 เมษายน 2557 23:43:13 น. 20°34′16″S 70°29′35″W / 20.57111°S 70.49306°W / -20.57111; -70.49306 22.4 7.7 VII [23]
2 เมษายน 2557 02:26:15 น. 20°47′49″S 70°35′13″W / 20.79694°S 70.58694°W / -20.79694; -70.58694 25.0 6.4 VI [24]
3 เมษายน 2557 22:37:50 น. 20°38′35″S 70°39′14″W / 20.64306°S 70.65389°W / -20.64306; -70.65389 13.7 6.3 V [25]
10 เมษายน 2557 21:01:45 น. 20°39′32″S 70°38′49″W / 20.65889°S 70.64694°W / -20.65889; -70.64694 13.8 6.2 V [26]

ผลกระทบ[แก้]

ประธานาธิบดีชิลี มิเชล บาเชเล ขณะเยือนพื้นที่ประสบภัยเมืองอิกิเก

เหตุแผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ทั้งหมดอยู่ในประเทศชิลี ในจำนวนนี้สี่คนเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว หญิงรายหนึ่งเสียชีวิตจากการถูกกำแพงล้มทับ แรงงานคนหนึ่งบาดเจ็บจากการถูกโครงสร้างเหล็กตกใส่และเสียชีวิตในเวลาต่อมา[27] ผู้บาดเจ็บมากกว่า 200 คน ส่วนใหญ่อยู่ในชิลี และมีรายงานผู้บาดเจ็บอีก 6 คนในเปรู มีผู้ไร้ถิ่นฐานทั้งสิ้นกว่า 80,000 คน[28] หลังแผ่นดินไหวพื้นที่ในแคว้นอาริกา-ปารินาโกตาและตาราปากาของชิลีถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ หลายแห่งไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้[29] พื้นที่หลายแห่งในอำเภอปูเตรและเฆเนรัลลาโกส ของจังหวัดปารินาโกตา แคว้นอาริกา-ปารินาโกตา เกิดดินถล่ม รวมถึงเส้นทางคมนาคมหลักบางเส้นถูกดินทับปิดเส้นทาง[30]

คลื่นสึนามิ[แก้]

ศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิกในรัฐฮาวายได้ประกาศเตือนภัยคลื่นสึนามิครอบคลุมชายฝั่งประเทศชิลี เปรู และเอกวาดอร์ และแจ้งให้ประเทศคอสตาริกา นิการากัว เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เม็กซิโก และฮอนดูรัส เฝ้าระวังและเตรียมพร้อม ซึ่งต่อมาได้ยกเลิกประกาศเตือนประเทศดังกล่าวอย่างรวดเร็ว (ยกเว้นเปรูและชิลี)[30] ทางการชิลีได้อพยพประชาชนหลายพันคนออกห่างจากชายฝั่ง[31] คลื่นสึนามิกระทบชายฝั่งหลังจากแผ่นดินไหวระหว่าง 1–2 ชั่วโมง สึนามิที่สูงที่สุดวัดได้ 2.11 เมตร ที่เมืองอิกิเก ส่วนที่เมืองอาริกาวัดได้ 1.83 เมตร ชายฝั่งอื่นของชิลีส่วนมากวัดได้ต่ำกว่าหนึ่งเมตร[32] สึนามิได้เดินทางถึงฮาวายหลังเกิดแผ่นดินไหวราว 13 ชั่วโมง[33] คลื่นยังเดินทางไปไกลถึงประเทศญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเดินทางถึงเมื่อวันที่ 3 เมษายน ตามเวลาในท้องถิ่น วัดความสูงได้ 60 เซนติเมตรที่เมืองคูจิ จังหวัดอิวาเตะ[34]

การเดินทางของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก
การเดินทางของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก 
ความสูงของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก
ความสูงของคลื่นสึนามิในมหาสมุทรแปซิฟิก 

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  2. "Chile earthquake: 2 dead, 3 seriously injured". Canadian Broadcasting Corporation. 2 April 2014.
  3. Franklin, Jonathan; Davidson, Helen; Farrell, Paul (2 April 2014). "Chile earthquake triggers tsunami warning and evacuation – live updates". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  4. Stout, David; Winograd, David (1 April 2014). "Five Dead After Huge Quake Hits off Coast of Chile". Time. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  5. "Massive earthquake and tsunami at the Tarapaca coast, Northern Chile – The full story from the very beginning". Earthquake-Report.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  6. "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile" (ภาษาอังกฤษ). United States Geological Survey.
  7. M. Chlieh (2547). "Crustal deformation and fault slip during the seismic cycle in the North Chile subduction zone, from GPS and InSAR observations" (PDF). Geophys. J. Int. (ภาษาอังกฤษ). 158: หน้า 695–711. doi:10.1111/j.1365-246X.2004.02326.x. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  8. Oficina Nacional de Emergencia del Ministerio del Interior (1 เมษายน 2557). "Sismo de mayor intensidad en las regiones de Arica y Parinacota, Tarapacá y Antofagasta" (ภาษาสเปน).
  9. "M8.2 - 95km NW of Iquique, Chile" บทความจากหน้าเว็บไซต์ [http://earthquake.usgs.gov/ U. S. Geological Survey Earthquake Hazards Program (อังกฤษ)
  10. Observatorio San Calixto. "Boletín último sismo" (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  11. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  12. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  13. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  14. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  15. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-26. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  16. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  17. "Experts: Strict building codes saved lives in powerful Chile earthquake" (ภาษาอังกฤษ). CNN. 4 เมษายน 2557.
  18. Pacific Tsunami Warning Center (3 เมษายน 2557). "Tsunami bulletin number 3" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-06. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  19. "Monitoreo sismo de mayor intensidad y alarma de tsunami" (ภาษาสเปน). ONEMI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  20. "Informe de sismo". Servicio Sismológico de Chile. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-07. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  21. "M6.9 - 91km WNW of Iquique, Chile". USGS.
  22. "M6.5 - 46km WSW of Iquique, Chile". USGS.
  23. "M7.7 - 53km SW of Iquique, Chile". USGS.
  24. "M6.4 - 78km SW of Iquique, Chile". USGS.
  25. "M6.3 - 70km SW of Iquique, Chile". USGS.
  26. "M6.2 - 72km SW of Iquique, Chile". USGS.
  27. ""La estralla de Iquique"" (ภาษาสเปน). 4 เมษายน 2557.
  28. "8.2 earthquake hits Chile, killing 6 and displacing 80,000". RT. 2 เมษายน 2557.
  29. Moreno, Génesis; Paz Núñez, María (2 เมษายน 2557). "Reposición de servicios básicos ha sido más lenta en comunas de Iquique y Alto Hospicio" (ภาษาสเปน). La Tercera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-03. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  30. 30.0 30.1 "Chile declares disaster in quake-hit regions (updated 07:22 UTC)" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2 เมษายน 2557.
  31. "Tsunami alert after 8.2 quake strikes off Chile (updated 04:41 UTC)" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2 เมษายน 2557.
  32. Pacific Tsunami Warning Center (2 เมษายน 2557). "Tsunami Bulletin Number 6" (ภาษาอังกฤษ). National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  33. "Hawai'ian Islands Tsumani Advisory" (ภาษาอังกฤษ). Pacific Tsunami Warning Center. 2 เมษายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  34. "岩手県久慈市で津波60センチ観測 チリ地震" (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Shimbun Company (朝日新聞). 3 เมษายน 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]