แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016
ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว
แผนที่ความรุนแรงของแผ่นดินไหว (มาตราเมร์กัลลี) [1]
แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016
แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016ตั้งอยู่ในคีวชู
แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016
เวลาสากลเชิงพิกัด2016-04-15 16:25:06
รหัสเหตุการณ์ ISC610289055
USGS-ANSSComCat
วันที่ท้องถิ่น16 เมษายน ค.ศ. 2016 (2016-04-16)[2]
เวลาท้องถิ่น01:25 เวลามาตรฐานญี่ปุ่น (UTC+9)
ขนาด7.3 Mw [2]
ความลึก10 กิโลเมตร [3]
ศูนย์กลาง32°46′55.2″N 130°43′33.6″E / 32.782000°N 130.726000°E / 32.782000; 130.726000[2]
ประเภทรอยเลื่อนตามแนวระดับ
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจังหวัดคูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เกาะคีวชู[4]
ระดับความรุนแรงที่รู้สึกได้IX (ร้ายแรง)

ชินโดะ 7
ค่าความเร่งสูงสุดของพื้นดิน1.61 g (แผ่นดินไหวนำ)
1580 Gal (แผ่นดินไหวนำ)
1.83 g (แผ่นดินไหวตาม)
1791 Gal (แผ่นดินไหวตาม)
แผ่นดินไหวนำ6.2Mw, 14 เมษายน ค.ศ. 2016 (2016-04-14)
12:26:36 (UTC)
21:26:36 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) [4][5][6]
ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวนำ: เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 1,108 คน

แผ่นดินไหวหลัก: เสียชีวิต 41 ราย บาดเจ็บ 2,021 คน [7]

ทั้งหมด:เสียชีวิต 273 ราย บาดเจ็บ 2,809 คน (รวมผู้เสียชีวิตทางอ้อม) [8][9][10]

แผ่นดินไหวในจังหวัดคูมาโมโตะ ค.ศ. 2016 หรือ แผ่นดินไหวเฮเซที่ 28 แห่งคูมาโมโตะ เป็นแผ่นดินไหวขนาด 7.3 แมกนิจูด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2016 เวลา 01:25 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น (UTC+09:00) ใกล้กับนครคูมาโมโตะ จังหวัดคูมาโมโตะ บนเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น ระดับความลึกอยู่ที่ประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนหน้านี้มีเกิดฟอร์ช็อก หรือแผ่นดินไหวนำขนาด 6.2 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2016 เวลา 21:26 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น (UTC+09:00) ในระดับความลึกที่ 11 กิโลเมตร

สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ตั้งชื่อว่า "Heisei 28 Kumamoto Earthquake" (ญี่ปุ่น: 平成28年熊本地震โรมาจิHeisei ni-ju-hachi-nen Kumamoto Jishin) แผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะในนครคูมาโมโตะซึ่งมีอาคารหลายแห่งพังถล่มและเกิดไฟลุกไหม้ ประชาชนมากกว่า 44,000 คนถูกอพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากเป็นเขตภัยพิบัติ

แผ่นดินไหวนำ[แก้]

ขนาดของแผ่นดินไหว

แม้ว่าจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวนำจะอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนครคูมาโมโตะ และลึก 12 กิโลเมตร แต่พื้นที่ได้รับความเสียหายรุนแรงคือเขตชานเมืองคูมาโมโตะฝั่งตะวันออกและในเมืองมาชิกิ แผ่นดินไหวสามารถรู้สึกได้ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือและยังสามารถรู้สึกได้ไปไกลถึงนครชิโมโนเซกิและพื้นที่บางส่วนของเกาะฮนชู ส่วนในทางใต้นั้นสามารถรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงจังหวัดคาโงชิมะ ต่อมามีแผ่นดินไหวตามมากกว่า 140 ครั้งภายในสองวัน มี 11 ครั้งที่มีขนาดอย่างน้อย 4.5 [11]และเป็นครั้งแรกที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงชินโดะ 7 ในเกาะคีวชู วันที่ 15 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ตั้งชื่อแผ่นดินไหวเป็นทางการว่า "แผ่นดินไหวเฮเซที่ 28 แห่งคูมาโมโตะ" (ญี่ปุ่น: 平成28年熊本地震โรมาจิHeisei 28-nen Kumamoto jishin)

แผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บอีกประมาณ 1,000 คน ภายในวันที่ 16 เมษายน มีผู้อพยพมากกว่า 44,000 คนออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก[12] นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นจำนวน 3,000 คน เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟู [13]

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวชินโดะ 6 หรือมากว่า (ชินโดะ)[14][15]
ความรุนแรง จังหวัด ที่ตั้ง
7 คูมาโมโตะ มาชิกิ
6- คูมาโมโตะ คูมาโมโตะ (เขตฮิงาชิ, เขตนิชิ, เขตมินามิ), ทามานะ, อูกิ, นิชิฮาระ

แผ่นดินไหวหลัก[แก้]

วันที่ 16 เมษายน เวลา 01:25 น. (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) (16:25 UTC 15 เมษายน) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3 แมกนิจูด ในเขตฮิงาชิ นครคูมาโมโตะ ทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเติมจากแผ่นดินไหวครั้งก่อน แรงสั่นสะเทือนและความเสียหายที่รุนแรงสามารถบันทึกได้ไปไกลถึงนครเบ็ปปุ จังหวัดโออิตะ[16] และมหานครปูซานในประเทศเกาหลีใต้สามารถวัดแรงสั่นได้ III (อ่อน)[2][17] มีการออกคำแนะนำเกี่ยวกับคลื่นสึนามิในเวลา 01:27 น. ในพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลอาริอาเกะและทะเลยัตสึชิโร โดยคาดการณ์ความสูงของคลื่นที่ 0.2 ถึง 1 เมตร (0.7 ถึง 3.3 ฟุต) [18]แต่ก็ถูกยกเลิกต่อมาในเวลา 02:14 น.

มีผู้เสียชีวิต 35 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ตำรวจจังหวัดคูมาโมโตะได้รับรายงานทางโทรศัพท์มากกว่า 300 สาย และตำรวจจังหวัดโออิตะได้รับรายงานประมาณ 100 สาย บางคนรายงานว่ามีคนติดหรือฝังอยู่ใต้เศษซากอาคาร[19] มีผู้อพยพมากกว่า 91,700 คน[20]ทหารอีก 15,000 นายจากกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นเข้าร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในวันที่ 18 เมษายน จำนวนผู้ที่ต้องการสถานพักพิงชั่วคราวเพิ่มขึ้นเป็น 180,000 คน ในขณะที่มีผู้สูญหาย 8 คนจากเหตุแผ่นดินถล่มที่เกิดจากแผ่นดินไหว [21]

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวชินโดะ 6 หรือมากว่า (ชินโดะ)[22][23]
ความรุนแรง จังหวัด ที่ตั้ง
7 คูมาโมโตะ นิชิฮาระ, มาชิกิ
6+ คูมาโมโตะ มินามิอาโซ, คูมาโมโตะ (เขตชูโอ, เขตฮิงาชิ, เขตนิชิ), คิกูจิ, อูโตะ, อูกิ, โคชิ, โอซุ, คาชิมะ
6- คูมาโมโตะ อาโซะ, คูมาโมโตะ (เขตมินามิ, เขตคิตะ), ยัตสึชิโระ, ทามานะ, มิซาโตะ, นาโงมิ, คิกูโยะ, มิฟูเนะ, ยามาโตะ, ฮิกาวะ, คามิอามากูซะ, อามากูซะ
โออิตะ เบ็ปปุ, ยูฟุ

รายชื่อแผ่นดินไหวที่สำคัญ[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายการแผ่นดินไหวใหญ่ที่เกิดขึ้นในจังหวัดคุมาโมโตะตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2016

เวลาญี่ปุ่น ขนาด ความรุนแรง หมายเหตุ
2016-04-14 21:26 Mj6.5, Mw6.2 7 แผ่นดินไหวนำ
2016-04-14 22:07 Mj5.8 6-
2016-04-15 00:03 Mj6.4 6+
2016-04-16 01:25 Mj7.3, Mw7.0 7 แผ่นดินไหวหลัก
2016-04-16 01:45 Mj5.9 6- แผ่นดินไหวตาม
2016-04-16 03:03 Mj5.9 5+
2016-04-16 03:55 Mj5.8 6+
2016-04-18 20:41 Mj5.8 5+
2016-04-19 17:52 Mj5.5 5+

ความเสียหาย[แก้]

ผลจากแรงสั่นสะเทือนทำให้นครคูมาโมโตะทั้งเมืองขาดการเข้าถึงน้ำ[24] ประชากรในหมู่บ้านนิชิฮาระทุกคนในจังหวัดคูมาโมโตะถูกอพยพออกจากพื้นที่ เพราะกลัวว่าเขื่อนที่อยู่ใกล้เคียงจะถล่มลงมา[24] ท่าอากาศยานคูมาโมโตะก็ปิดให้บริการทั้งหมดยกเว้นเที่ยวบินฉุกเฉิน และบริการคีวชูชิงกันเซ็งก็ถูกระงับ หลังจากรถไฟตกรางเนื่องจากแผ่นดินไหว [25] โครงสร้างจำนวนมากถล่มลงมาหรือบางส่วนก็ถูกไฟไหม้อันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว เจ้าหน้าที่ของรัฐประเมินว่ามีอาคารมากกว่า 1,000 หลังได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดย 90 หลังถูกทำลายทั้งหมด[26] โรงพยาบาลขนาด 500 เตียงในนครคูมาโมโตะ ได้รับความเสียหายที่ฐานราก ทำให้ต้องอพยพผู้ป่วยทั้งหมด[27] และแผ่นดินไหวยังทำให้ก๊าซธรรมชาติรั่วทำให้ ไซบุแก๊ส ต้องงดการบริการชั่วคราวในเมือง [28]

เกิดดินถล่มหลายครั้งทั่วภูเขาในภูมิภาคคิวชู ทำให้ถนนบางส่วนไม่สามารถสัญจรได้[29][30] เช่นเดียวกับสะพานอาโซะใหญ่ [ja]ของทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 325 ในมินามิอาโซะที่ถล่มลงไปในแม่น้ำคูโรกาวะ[31]

ศาลเจ้าอาโซะยังได้รับความเสียหายอย่างหนักจากแผ่นดินไหว ประตูโรมงของศาลเจ้าและไฮเด็น ซึ่งจัดเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งสองแห่งพังทลายลงทั้งหมด [32]ปราสาทคูมาโมโตะ เป็นอีกหนึ่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญได้รับความเสียหายบริเวณหลังคาและกำแพงภายนอก เนื่องจากแผ่นดินไหวโดยตรงและแผ่นดินไหวตามที่ตามมา [33] ความเสียหายยังรวมถึง ชาจิโฮโกะของปราสาทก็เสียหายหนัก[34] และกระเบื้องคาวาระจำนวนมากก็ตกลงมาจากหลังคาเช่นกัน อาคารประวัติศาสตร์อื่น ๆ เช่น Janes' Residence ซึ่งเป็นบ้านสไตล์ตะวันตกหลังแรกที่สร้างขึ้นในคูมาโมโตะ (ตั้งแต่ปี 1871) ก็ถูกทำลายทั้งหมด[35] [36] ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จดทะเบียนแบบเดิมตั้งอยู่ในบริเวณปราสาทคูมาโมโตะ แต่ต่อมาได้ย้ายไปยังซูอิ เซ็นจิ โจจูเอ็น

ประมาณการความเสียหายทางเศรษฐกิจล่วงหน้าประมาณ $ 5.5 พันล้านถึง $ 7.5 พันล้าน การประกันภัยคาดว่าจะอยู่ที่ $ 800 ล้านถึง $ 1.2 พันล้าน [37] ตลอดช่วงครึ่งแรกของปี 2016 บริษัทประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่อยู่อาศัยมูลค่าประมาณ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อมูลของสมาคมประกันภัยทั่วไปแห่งประเทศญี่ปุ่น [38]

ความเสียหายในเมืองมาชิกิ[แก้]

เมืองมาชิกิมีการบันทึกความรุนแรงแผ่นดินไหวสูงสุด 7 ได้สองครั้งซึ่งเป็นระดับสูงสุดในมาตราความรุนแรงคลื่นไหวสะเทือนของสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในเมืองบ้านเรือนกว่า 98% ในเมืองถูกทำลายมีผู้เสียชีวิตกว่า 45 คน ยิ่งกว่านั้นศาลากลางและศูนย์อพยพซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานในการรับมือกับภัยพิบัติก็ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวมากเช่นกัน หลังจากเกิดแผ่นดินไหวนำในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 2016 เพดานของเทศบาลซึ่งเป็นศูนย์อพยพได้ถล่มลงมาจึงถูกระงับการใช้งาน ก่อให้เกิดการวิจารณ์จากประชาชนว่า "ทำไมเราไปศูนย์อพยพไม่ได้" ก่อนที่ 28 ชั่วโมงต่อมา เกิดแผ่นดินไหวหลักขึ้นทำให้เพดานแทบทั้งหมดพังถลายลง

เหตุที่เมืองมาชิกิได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงอันเนื่องมากจากแผนป้องกันภัยพิบัติของมาชิกิมุ่งเน้นไปที่การป้องกันพายุไต้ฝุ่นและฝนตกหนักเป็นส่วนใหญ่ การเตรียมพร้อมรับมือการเกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างน้อย แม้ว่าจะมีเขตรอยเลื่อนฟูตางาวะวางพาดผ่านเมือง [40]

อ้างอิง[แก้]

  1. "M7.0 - 1km WSW of Kumamoto-shi, Japan: Shake Map". United States Geological Survey. April 15, 2016. สืบค้นเมื่อ April 15, 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "M7.0 - 1km WSW of Kumamoto-shi, Japan". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  3. "M7.0 - 1km WSW of Kumamoto-shi, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 16 April 2016.
  4. 4.0 4.1 平成28年4月14日21時26分頃の熊本県熊本地方の地震について [About the earthquake in the Kumamoto area of Kumamoto Prefecture, around 21:26, April 14, 2016]. Japan Meteorological Agency (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  5. =緊急地震速報の内容 [The contents of the Earthquake Early Warning]. Japan Meteorological Agency (ภาษาญี่ปุ่น). 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  6. "M6.2 - 7km SW of Ueki, Japan". United States Geological Survey. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  7. "US Forces Deliver Aid to Japanese Quake-Hit Areas; 44 Dead". NY Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
  8. Achour, N.; Miyajima, M. (2020). "Post-earthquake hospital functionality evaluation: The case of Kumamoto Earthquake 2016". Earthquake Spectra. 36 (4): 1670–1694. doi:10.1177/8755293020926180.
  9. "Last Kumamoto quake victim ID'd, leaving death toll at 50". The Japan Times. 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
  10. "70% of Kumamoto victims died in collapsed homes:The Asahi Shimbun". Asahi.com. 2016-05-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-09. สืบค้นเมื่อ 2016-05-09.
  11. "Stunned Residents Remain in Fear After Japan Earthquake; 9 Killed, More Than 800 Injured | The Weather Channel - Articles from The Weather Channel | weather.com". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษ). 13 February 2022.
  12. Stanglin, Doug. "Magnitude-5.4 quake hits Japan Saturday morning". USA TODAY. สืบค้นเมื่อ 19 February 2022.
  13. Wakatsuki, Don Melvin,Greg Botelho,Ray Sanchez,Yoko (15 April 2016). "Rescue crews seek survivors of 2nd Japanese quake; at least 16 dead". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  14. "震度データベース検索 (Foreshock)". www.data.jma.go.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  15. "地震情報 04月14日 21時26分頃発生 最大震度:7". tenki.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  16. "M 5.1 - 11km WSW of Beppu, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 16 April 2016.
  17. "Magnitude 3 Tremors Felt in Southern Region". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2016. สืบค้นเมื่อ April 16, 2016.
  18. Wakatsuki, Don Melvin,Greg Botelho,Ray Sanchez,Yoko (15 April 2016). "Rescue crews seek survivors of 2nd Japanese quake; at least 16 dead". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  19. "M 5.1 - 11km WSW of Beppu, Japan". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 16 April 2016.
  20. Tokyo, Associated Press in (16 April 2016). "Japan hit by 7.3-magnitude earthquake". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  21. "Tsunami alert after second, powerful 7.3 earthquake hits Japan". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 15 April 2016.
  22. "震度データベース検索 (Mainshock)". www.data.jma.go.jp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 13, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  23. "地震情報 04月16日 01時25分頃発生 最大震度:7". tenki.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-06-23.
  24. 24.0 24.1 "2nd Japanese earthquake leaves at least 3 dead, 400 injured". CBC News. April 16, 2016. สืบค้นเมื่อ April 14, 2016.
  25. "Aftershocks rattle southwestern Japan after quake kills nine". Reuters. 2016-04-15. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  26. "Eleven people remain missing in southern Japan from two powerful earthquakes that killed 41 people". US News. April 17, 2016. สืบค้นเมื่อ April 17, 2016.
  27. Doug Stanglin (April 16, 2016). "Hospital evacuated after major quake rocks Japanese island". USA Today. สืบค้นเมื่อ April 16, 2016.
  28. Daisuke Kikuchi (April 15, 2016). "Kumamoto residents pick up the pieces following Kyushu's strongest quake". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ April 15, 2016.
  29. Don Melvin; Greg Botelho; Ray Sanchez (April 16, 2016). "7.0 quake strikes Japan; rescuers try to free residents". CNN. สืบค้นเมื่อ April 16, 2016.
  30. "PHOTOS: Second Devastating Earthquake Hits Japan Triggering Landslides". NBC News.
  31. "Large road bridge collapses as new quake hits Kumamoto". Asahi Shimbun. 2016-04-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2016-04-16.
  32. "Designated national cultural asset at Aso Shrine collapses in Kumamoto quake". Mainichi Shimbun. 2016-04-16. สืบค้นเมื่อ 2016-04-16.
  33. "Quake damages roof, walls at Kumamoto Castle". Asahi Shimbun. 2016-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-15.
  34. 熊本城 地震で「しゃちほこ」なくなる [Kumamoto Castle: The Earthquake Destroys the Castle's 'Sachihako'"] (ภาษาญี่ปุ่น). NHK. เมษายน 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 15, 2016. สืบค้นเมื่อ เมษายน 15, 2016.
  35. "The Janes' Residence Kumamoto | JapanVisitor Japan Travel Guide". www.japanvisitor.com. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  36. "明治4年の西洋建築 「ジェーンズ邸」が倒壊" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ เมษายน 15, 2016. สืบค้นเมื่อ เมษายน 20, 2016.
  37. Hoffman, Mark (12 May 2016). "April's Japan earthquake insured damage could top $1 billion". Business Insurance. สืบค้นเมื่อ 16 May 2016.
  38. "Kumamoto quake residential insurance claims paid hits $3.2bn". Artemis. Steve Evans Ltd. 30 June 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
  39. "Japan earthquakes breach walls of 400-year-old Kumamoto castle". Australian Broadcasting Corporation. 2016-04-16. สืบค้นเมื่อ 2016-04-18.
  40. "震度7を2回!熊本・益城町長西村博則氏が語る地震への備え|記事一覧|企業・自治体向け防災情報メディア「防災ニッポン+」読売新聞". 企業・自治体向け防災情報メディア「防災ニッポン+」読売新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 29 June 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]