แนวร่วมกู้ชาติแห่งชัมมูและกัษมีระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แนวร่วมปลดปล่อยชัมมูและกัษมีระ (Jammu Kashmir Liberation Front) ก่อตั้งโดย อมานุลลอห์ ข่านและมักบูล ภัท เป็นองค์กรชาตินิยมของกัษมีระ ก่อตั้งที่เบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และมีการตั้งสาขาตามเมืองต่างๆของอังกฤษ รวมทั้งประเทศอื่นในยุโรป สหรัฐอเมริกาและตะวันออกกลางภายในสองปี ใน พ.ศ. 2529 มีการตั้งสาขาในดินแดนกัษมีระของปากีสถาน (อาซัด กัษมีระ) และปากีสถาน ใน พ.ศ. 2530 มีการตั้งสาขาในกัษมีระของอินเดีย (รัฐชัมมูและกัษมีระ)

แนวร่วมนี้เป็นองค์กรก่อการร้ายองค์กรแรกในกัษมีระ มีเป้าหมายเพื่อเรียกร้องให้มีการปลดปล่อยส่วนของอินเดียที่เคยเป็นราชอาณาจักรโทคระของชัมมูและกัษมีระที่มีอยู่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2490 แนวร่วมนี้อ้างว่าพวกเขาไม่ใช่องค์กรอิสลามแต่เน้นที่ความเป็นชาติ และต่อต้านการยึดครองของทั้งปากีสถานและอินเดีย ความรุนแรงหลักที่กลุ่มนี้ก่อขึ้น ได้แก่การลอบสังหาร รวันทรา มหาเตร ชาวอินเดีย ในลอนดอนและการจี้เครื่องบินหลายครั้ง

การแยกตัวและการรวมตัวกันใหม่[แก้]

กลุ่มนี้มีการแยกตัวออกไปนำโดยยาซิน มาลิก ไปเป็นแนวร่วมปลดปล่อยชัมมูและกัษมีระ (ยาซิน มาลิก) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ออกมาปฏิเสธความรุนแรง ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ในขณะที่กลุ่มดั้งเดิมของอมานุลลอห์ ข่าน ยังคงใช้ความรุนแรงต่อไป [1]ใน พ.ศ. 2548 อินเดียยอมให้ ยาซิน มาลิกเข้าสู่ปากีสถานได้เป็นครั้งแรก ผู้นำของขบวนการทั้งสองคือมาลิกและข่านมีโอกาสพบกันในปากีสถานเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538 [2]ทั้งสองกลุ่มเริ่มเจรจาที่จะกลับมารวมตัวกันอีกครั้งอย่างไรก็ตามในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 มีสมาชิกอาวุโสของขบวนการแยกตัวออกมาจากกลุ่มของยาซัน มาลิก และออกมาตั้งขบวนการใหม่ภายใต้การนำของฟารุก ซิดดิกี

ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ยาซิน มาลิกเรียกร้องให้เลิกใช้ความรุนแรงและหันมาใช้สันติวิธีสำหรับปัญหากัษมีระ[3] กลุ่มของมาลิกยอมรับชาวฮินดูกัษมีระให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมกัษมีระและสิทธิของพวกเขาที่จะกลับมาสู่ดินแดน[4] ในขณะที่ฝ่ายของข่านยังคงใช้ความรุนแรงเพื่อปลดปล่อยกัษมีระต่อไป

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  2. http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4077122.stm
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]