แนวจำกัดตอนเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวจำกัดตอนเหนือในสีแดง

แนวจำกัดตอนเหนือ (NLL) เป็นเส้นแบ่งเขตที่ยังเป็นกรณีพิพาทในทะเลเหลืองระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีบทบาทเป็นพรมแดนทางทะเลโดยพฤตินัยระหว่างทั้งสองประเทศ[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

แนวดังกล่าวได้รับการกำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยกองกำลังสหประชาชาติ นำโดยสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2496 หลังจากกองบัญชาการสหประชาชาติและเกาหลีเหนือล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงร่วมกัน[2] แนวดังกล่าวไม่ได้รับรองอย่างเป็นทางการโดยเกาหลีเหนือ[3] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวดังกล่าวมิได้รวมอยู่ในข้อตกลงหยุดยิงในปี พ.ศ. 2496 ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ แนวดังกล่าวเดิมถูกร่างขึ้นเพื่อป้องกันการรุกล้ำเข้าไปในเกาหลีเหนือของเกาหลีใต้ แต่ในภายหลัง บทบาทของมันกลับเปลี่ยนเป็นการป้องกันมิให้เรือเกาหลีเหนือรุกล้ำมาทางใต้แทน[4]

แนวดังกล่าวตัดระหว่างส่วนแผ่นดินใหญ่ของจังหวัดคย็องกีโดที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของฮวังแฮมาก่อน พ.ศ. 2488 และเกาะนอกชายฝั่งที่อยู่ใกล้กัน ผลที่เกิดขึ้น คือ ส่วนแผ่นดินใหญ่กลับคืนไปสู่การควบคุมของเกาหลีเหนือ ในขณะที่เกาะต่าง ๆ ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีใต้ แนวดังกล่าวลากผ่านต่อไปจนถึงทะเลจากเส้นแบ่งเขตทางทหาร ในปี พ.ศ. 2520 เกาหลีเหนือพยายามสร้างพื้นที่พรมแดนทหารยาว 50 ไมล์โดยรอบเกาะที่อ้างสิทธิ์โดยเกาหลีใต้ตามแนวจำกัดตอนเหนือ อย่างไรก็ตาม การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวถูกบอกปัด[5] นับตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เกาหลีเหนือได้อ้างสิทธิ์ไปทางใต้ "เส้นแบ่งเขตทางทหารทะเล" ซึ่งจะทำให้เกาะเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเกาหลีเหนือด้วย[6]

กองทัพเรือเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ลาดตระเวนเป็นประจำในพื้นที่โดยรอบแนวจำกัดตอนเหนือ เมื่อเกาหลีเหนือไม่ยอมรับแนวดังกล่าว เรือประมงเกาหลีเหนือที่ประกอบอาชีพใกล้กับแนวหรือล้ำแนวดังกล่าวจึงได้รับการคุ้มครองโดยเรือเกาหลีเหนือ[7] สำนักข่าวทางการเกาหลีเหนือ เคซีเอ็นเอ ได้อธิบายแนวดังกล่าวว่า "แนวสุดท้ายสำหรับการหยุดผู้แปรพักตร์ไปทางเหนือ" ซึ่งถูกร่างขึ้นเพื่อให้เป็นไปตาม "ผลประโยชน์อันชอบธรรมเฉพาะของวอชิงตัน"[8]

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 หลังจากการทดลองนิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ทางการได้เตือนว่าความพยายามที่จะบังคับใช้แนวจำกัดตอนเหนือจะถูกตอบโต้โดยกำลังทหารในทันที[9] วันที่ 21 ธันวาคม ปีเดียวกัน เกาหลีเหนือได้สร้าง "เขตยิงเวลาสันติ" ขึ้นตามแนวดังกล่าวโดยคุกคามที่จะยิงปืนใหญ่ใส่น่านน้ำของเกาหลีใต้[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Elferink, Alex G. Oude (1994). The law of maritime boundary delimitation: a case study of the Russian Federation. Martinus Nijhoff Publishers. p. 314. ISBN 978-0792330820.
  2. Yŏnʼguwŏn, Hanʼguk Kukpang (1999). "Defense white paper". Ministry of National Defense, Republic of Korea. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Roehrig, Terence (2009). "North Korea and the Northern Limit Line". North Korean Review. 5 (1): 8–22. doi:10.3172/NKR.5.1.8.
  4. Kotch, John Barry; Abbey, Michael (2003). "Ending naval clashes on the Northern Limit Line and the quest for a West Sea peace regime" (PDF). Asian Perspectives. 27 (2): 175–204. doi:10.1353/apr.2003.0024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2010-11-27.
  5. Johnston, Douglas M.; Valencia, Mark J. (1991). Pacific Ocean boundary problems: status and solutions. Martinus Nijhoff Publishers. p. 81. ISBN 978-0792308621.
  6. KPA urges U.S. and S. Korea to accept maritime demarcation line at West Sea. Korean Central News Agency. July 21, 1999.
  7. Hyŏn, In-tʻaek; Schreurs, Miranda Alice (2007). The environmental dimension of Asian security: conflict and cooperation over energy, resources, and pollution. US Institute of Peace Press. p. 121. ISBN 978-1929223732.
  8. "Truth behind "Northern Limit Line" Disclosed". Korean Central News Agency. June 25, 2007.
  9. Pike, John Northern Limit Line (NLL) West Sea Naval Engagements. GlobalSecurity.org.
  10. N. Korea sets 'firing zone' along western sea border. Yonhap. December 21, 2009.

อ่านเพิ่ม[แก้]