แนคแซท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนคแซท
ภาพขณะกำลังนำขึ้นสู้อวกาศของจรวดฟัลคอน 9
ประเภทภารกิจดาวเทียมสาธิตเทคโนโลยี
ผู้ดำเนินการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
SATCAT no.99921แก้ไขบนวิกิสนเทศ
เว็บไซต์KNACKSAT
ข้อมูลยานอวกาศ
ชนิดยานอวกาศดาวเทียมขนาดเล็ก
ผู้ผลิตสเปซเอ็กซ์
มวลบรรทุก1.052 กิโลกรัม
ขนาด10 เซนติเมตร x 10 เซนติเมตร x 11.4 เซนติเมตร
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้น3 ธันวาคม 2561 18:34:00 UTC (01:34:00 GMT+7)
จรวดนำส่งฟัลคอน 9
ฐานส่งฐานทัพอากาศ Vandenberg
ผู้ดำเนินงานสเปซเอ็กซ์
ตำแหน่งปล่อยตัวจรวดขั้นที่ 2 ของฟัลคอน 9
วันที่ปล่อยตัว3 ธันวาคม 2561 22:49:57 UTC (05:49:57 GMT+7)
ลักษณะวงโคจร
ระบบอ้างอิงวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์
ระบบวงโคจรวงโคจรต่ำของโลก
ระดับความสูง~575 กม.
อุปกรณ์ส่งสัญญาณ
ย่านความถี่ยูเอชเอฟ
ความถี่435.635 MHz Downlink
 

แนคแซท (อังกฤษ: KNACKSAT) (KMUTNB Academic Challenge of Knowledge Satellite) เป็นดาวเทียมขนาดเล็กดวงแรกของประเทศไทยที่สร้างโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นดาวเทียมรูปแบบคิวแซทต้นแบบเพื่อพัฒนาศักยะภาพและประสบการณ์ในการออกแบบและสร้างดาวเทียมจริงให้กับบุคคลากรของประเทศ[1][2]

วัตถุประสงค์[แก้]

1.ด้านการศึกษา

  • เป็นการพัฒนาศักยะภาพและประสบการณ์ในการออกแบบและสร้างดาวเทียมจริงให้กับบุคคลากรของประเทศ และเป็นการสร้างรากฐานสำคัญในการออกแบบและสร้างดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นต่อไป

2.ด้านการสาธิตเทคโนโลยี

  • พัฒนาระบบสื่อสารโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่วิทยุ
  • ถ่ายภาพจากอวกาศ
  • ทดสอบอัลกอริทึมการควบคุมการทรงตัวของดาวเทียมโดยใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจสอบเทคโนโลยี deorbit
  • การใช้อุปกรณ์ Off The Shelf ในอวกาศ

ดาวเทียม[แก้]

ดาวเทียมรูปแบบ 1U คิวแซท (1U CubeSat) มีขนาด 10 เซนติเมตร x 10 เซนติเมตร x 11.4 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 1.052 กิโลกรัม[3] และได้ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 18:34 UTC (ตรงกับวันที่ 4 ธันวาคม 2561 เวลา 01:34 น. ตามเวลาในประเทศไทย) จากฐานทัพอากาศ Vandenberg ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้มิชชั่น SSO-A[4] ด้วยจรวด สเปซเอ็กซ์ ฟอลคอน 9 (SpaceX Falcon 9) และถูกปล่อยออกจากอุปกรณ์ปล่อยดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรประเภท วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit) ในระดับความสูง 575 กิโลเมตร เมื่อเวลา 22:49:57 UTC (ตรงกับเวลา 05:49:57 น. ตามเวลาในประเทศไทย)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ดาวเทียม KnackSat". kmutnb.ac.th. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
  2. ""แนคแซท" ดาวเทียมไทยฝีมือ"มจพ."ผงาดห้วงอวกาศ". สยามรัฐ. 20 December 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 2022-02-21.
  3. ""แนคแซท" ดาวเทียมสัญชาติไทยโดยคนไทยดวงแรก พร้อมขึ้นสู่อวกาศ ส.ค.นี้". workpointtoday.com. today. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
  4. "SSO-A". Spaceflight. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.