แท่นทดสอบที่ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แท่นทดสอบที่ 6)
แท่นทดสอบที่ 7
เยอรมัน: Prüfstand VII
ส่วนหนึ่งของศูนย์วิจัยกองทัพพีเนมุนด์,
นาซีเยอรมนี
เกาะอูเซอด็อม
23 มิถุนายน พ.ศ. 2486 ภาพถ่ายจากการลาดตระเวณแท่นทดสอบที่ 7 โดยกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร
แบบจำลอง ณ ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์และเทคนิค พีเนมุนด์
พิกัด54°10′6″N 13°48′17″E / 54.16833°N 13.80472°E / 54.16833; 13.80472
ประเภทบังเกอร์
ความสูง10 เมตร (33 ฟุต) hohe Bóschung[1]
ข้อมูล
เปิดสู่
สาธารณะ
Peenemünde Historical and Technical Information Centre
สภาพถูกทำลาย
ประวัติศาสตร์
สร้าง1938[2]
สร้างโดยHVP
อยู่ระหว่างการใช้งานสงครามโลกครั้งที่ 2
วัสดุsand, concrete, brick, steel
รื้อถอน1961[3]
การต่อสู้/สงครามOperation Crossbow, Operation Hydra
เหตุการณ์DERA rocket model club launches[4]
ข้อมูลสถานี
ผู้บัญชาการ
ในอดีต
วิศวกรประจำการ: ฟริตซ์ ชวาร์ซ (พ.ศ. 2486),[5]: 127, 141  ฮาร์ทมัต คุเกน (ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2487), ติดตามโดย ไดเตอร์ ฮูเซล, จากนั้น ดร. เคิร์ท เอช ดีบัส.[6]

แท่นทดสอบที่ 7 (ภาษาเยอรมัน: Prüfstand VII, P-7) เป็นแท่นทดสอบปล่อยจรวด V-2 ในสนามบินพีเนมุนด์ มีความสามารถในการผลักจรวดที่หนักมากกว่า 200 ตัน ที่สำคัญยังเป็นสถานที่แรกที่ทดสอบปล่อยจรวด V-2 ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ.1942 โดยมีผู้นำทางการทหารของเยอรมันเป็นผู้เข้าร่วมสังเกต

แท่นทดสอบที่ 7 ถูกกองบินของฝ่ายสัมพันธมิตรตรวจพบและถูกทิ้งระเบิดในที่สุด

รายละเอียด[แก้]

2 คุณสมบัติเด่นของแท่นทดสอบที่ 7 ประกอบด้วยกำแพงทรายรูปทรงไข่ที่มีความชัน ขนาดความยาว 670 หลา และร่องคอนกรีต (ร่องไฟ) ที่ใช้ท่อเหล็กผสมโมลิบดีนัมแข็งแรงพิเศษในการการระบายความร้อนด้วยน้ำ ร่องคอนกรีตนี้มีขนาดเกือบ 7.6 เมตร ส่วนกำแพงคอนกรีตกว้าง 0.91 เมตร ซึ่งชันค่อย ๆ ชันขึ้นจากแต่ละด้านของตัวระบายความร้อนจนถึงระดับความลึก 6.1 เมตร และชันขึ้นอย่างสมมาตรจนถึงด้านข้างของของพื้นที่ ด้านข้างของร่องไฟมีลักษณะเป็นห้องใต้ดินเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1.2 เมตร ติดตั้งท่อที่สามารถขับเคลื่อนน้ำเย็นได้ในอัตราเร็ว 120 แกลลอนต่อวินาที ด้วยแรงของปั๊มน้ำขนาดใหญ่ 3 ตัว เพื่อใช้ในการระบายความร้อน[7][8]

กำแพงทรายรูปไข่มีหน้าที่ป้องกันลมจากทะเลและละอองทราย อีกทั้งยังเสริมคอนกรีตยึดโครงสร้างกำแพงทรายไว้ใต้ดินเพื่อป้องกันโครงสร้างจากการซ้อมยิงจรวดแรงระเบิดของกระสวยและการโจมตีของข้าศึก (มักเรียกหัวรบซ้อมว่า "ช้าง") ช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างกำแพงมีไว้เพื่อง่ายต่อการเข้าออกของพาหนะ (โดยเฉพาะกับรถรางขนเชื้อเพลิง) และยังเปิดให้อุโมงค์ผ่านกำแพงทรงไข่ไว้ยังทางใต้ของก็ยังสามารถให้ผ่านได้

ห้องควบคุม[แก้]

ห้องควบคุมนั้นประกอบไปด้วยแผงวงจร, แถวของกล้องปริทัศน์ 4 ตัว, นาโมมิเตอร์, ตัววัดความถี่, โวลต์มิเตอร์ และ แอมมิเตอร์, สัญญาณไฟสีเขียว แดง ขาว และ สวิซต์ควบคุมการขับเคลื่อนและแผงนำทางจอแบบไดนามิกที่แสดงผลค่าโดยประมาณทั้งหมด 15 ระดับของจรวด นอกเหนือจากนั้น ห้องควบคุมยังติดที่บอกเวลาขนาดใหญ่ไว้นับถอยหลังการปล่อยจรวด โดยจะประกาศผ่านลำโพงหรืออื่น ๆ ในส่วนเพิ่มเติมของห้องควบคุมป้อมปราการยังมีสำนักงาน, ห้องสื่อสารทางไกล, ห้องพัก 2 เตียงพร้อมห้องอาบน้ำ, ห้องซักล้าง, และห้องปฏิบัติการ อุโมงค์ทางยาวใต้ดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการวัดของแท่นทดสอบ ที่จะส่งค่าสู่ห้องควบคุมด้านบนผ่านร่องไฟ, และสายวัดค่าหลายเส้นที่อยู่ด้านในกำแพงของอุโมงค์ ส่วนเกินที่เกิดขึ้นของอุโมงค์จากร่องไฟจะถูกปล่อยมาออกบริเวณด้านนอกอาคารใกล้กลับอาคารสูบน้ำ (เยอรมัน: Pumpenhaus) ใกล้กับที่สูบน้ำนั้นยังมีหอคอยไม้เก็บน้ำเย็นสูง 25 ฟุต (7.6 เมตร) ตัวแท็งก์น้ำทั้งหลายนี้มีไว้เพื่อเติมน้ำเย็นให้กำแพงทรงไข่

หอทดสอบ[แก้]

หอคอยในที่นี้เป็นตัวทดสอบการเคลื่อนที่หรือเครนยก (Fahrbare Kranbühne)[9] ที่สามารถเคลื่อนวัตถุจากเหนือร่องไฟไปตำแหน่งจรวดที่อยู่สูง 25 ฟุตเหนือตัวสะท้อน และสามารถปรับสมดุลจรวดที่ถูกบรรจุทั้ง 2 ทิศทางได้ถึง 5 องศาในแนวตั้ง หอคอยยังมีลิฟท์และ ตาชั่งโทเลโด ของเยอรมันที่ใช้สำหรับชั่งวัตถุที่อยู่ในลิฟท์ ตัวปล่อยจรวดอยู่ในสิ่งปลูกสร้างจากเหล็กรูปร่างคล้ายโต๊ะ (ฐานตั้งยิง, Brennstand) คร่อมรางรถไฟที่มาจากร่องไฟของแท่นทดสอบที่เป็นฐานคอนกรีตขนาดใหญ่ ใต้ฐานคอนกรีตเป็นห้องบันทึกข้อมูล, ร้านค้าขนาดเล็ก, สำนักงาน, กรวยบรรจุไนโตรเจน และ ถังกักเก็บ พื้นที่ยังมีแผ่นเครื่องยนต์วัดค่าความเย็นสำหรับกำหนดแผนการทดสอบการวัดด้วยการปั๊มน้ำ (แทนที่ ออกซิเจนเหลว) และ แอลกอฮอล์ (สามารถกู้คืนได้ภายหลัง) ด้วยการใช้ปั๊มเทอร์โบผ่านการเผาไหม้ห้องเครื่อง ตั้งแต่มอเตอร์ของจรวดวี-ทู ไม่มีตัวบังคับสำหรับปั๊มเทอร์โบ ,ตัววัดความเย็นจึงรองรับการจุดระเบิดในกรณี "เหตุการณ์สมมุติ" ของอุปกรณ์ได้[10][11]

การถูกตรวจพบและการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร[แก้]

15 พฤษภาคมปี พ.ศ. 2485 หลังจากการถ่ายภาพเรือพิฆาตของเยอรมันที่พอร์ทคีล ร้อยโท ดี ดับบลิว สตีเวนสัน นักบินเครื่องบินสพิตไฟร์ ได้ถ่ายติดภาพ 'สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่' ใกล้กับสนามบินพีเนมุนด์ อีกเดือนต่อมา คอนสแตน บาบิงตัน สมิธ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพถ่ายของสหราชอาณาจักร ได้กล่าวเกี่ยวกับภาพนี้ไว้ว่า "ขนาดมันค่อนข้างเล็กเกินไป...แต่ชั้นว่ามันแปลกตา... พวกกลม ๆ ประหลาดที่เหมือนหลุมพวกนี้... แต่ชั้นก็ไม่ได้คิดมากอะไร" จากนั้นปีต่อมาในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2486 บิล ไวท์ และ รอน เพรสคอตต์ จากเครื่องบิน DZ473 เดอฮาวิลแลนด์มอสกีโต้ ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ได้ส่งภาพจากฐานทัพอากาศลูคาร์สถึงความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรที่ทางรถไฟสเตทติน "หลังจากกำลังออกจากสเตทติน เราให้กล้องขึ้นบินถ่ายฝั่งเหนือของเยอรมันและเมื่อทำให้ฟิล์มใช้การได้แล้ว ก็ได้เจอกับรูปจากพีเนมุนด์พวกนี้" กองทัพอากาศเมดเมนแฮมได้ศึกษาเกี่ยวกับพื้นที่ทรงไข่ที่น่าสงสัยนี้ (เมื่อเปรียบเทียบจากรูปถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2485) และสังเกตเห็น "วัตถุ" สูง 25 ฟุต (7.6 เมตร) ตั้งอยู่ข้างกับสิ่งก่อสร้างที่คาดว่าเอาไว้ค้ำยัน แต่เมื่อดูรูปถัดไป วัตถุที่น่าสงสัยนี้กลับหายไป

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2486 ได้จับภาพกลุ่มไอน้ำบริเวณพื้นที่ทรงไข่ โดยถูกระบุว่าเป็นไอน้ำจากการทดสอบยิงจรวด ดันแคน แซนดี้ หน่วยถ่ายภาพสอดแนมชุดแรกได้เผยแพร่รายงานในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2486 จากพีเนมุนด์ว่าเกิดภาวะไฟฟ้าไม่เพียงพอ (เยอรมันได้ติดตั้งตัวระบบกำจัดควันและฝุ่นด้วยไฟฟ้าในโรงงานไฟฟ้าใกล้กลับหมู่บ้านโคลพิน) มีรายงานไว้ว่า "สิ่งก่อสร้างทรงไข่นี้น่าจะใช้สำหรับการทดสอบวัตถุระเบิดและขีปนาวุธ... จากมุมด้านบนเป็นที่แน่ชัดว่านี่เป็นจรวดขนาดใหญ่พิสัยไกลแต่ไม่ใช่ภัยคุกคามในทันที" จากนั้นวันที่ 14 พฤษภาคมมีรายงานว่า "มีกิจกรรมในระดับที่สูงผิดปกติ" ที่สามารถสังเกต "บริเวณพื้นที่ทรงไข่" ได้จากรูปของวันที่ 14 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่ ไรชส์ค็อมมิสซารีอาทอ็อสท์ลันท์ ( เกาไลเทอร์ ฟริทซ์ เซาเคิล) ได้เป็นผู้เข้าชมการปล่อยจรวด หลักฐานแรกที่ยืนยันการมีอยู่จริงของจรวดคือเมื่อเครื่องบินสพิตไฟร์ที่ขับโดยกอร์ดอน ฮิวจ์ ได้ถ่ายติดภาพวัตถุบนรถบรรทุกรถไฟบริเวณพีเนมุนด์ เรจินัลด์ วิกเตอร์ โจนส์ในวันที่ 12 มิถุนายน และยืนยันวัตถุในวันที่ 18 มิถุนายนว่า "วัตุทรงกระบอกสีขาวยาว 35 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ฟุต พร้อมหัวสีน้ำเงินแหลมและครีบปีกตรงส่วนท้าย... ผมว่าพบจรวดแล้วล่ะ"[12]: 435  ในปี พ.ศ. 2486 หลังจากปฏิบัติการไฮดราที่มีการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่าง ๆ ของพีเนมุนด์ แท่นทดสอบที่ 7 ยังคงมีการหมุนเวียนกำลังพล ปี พ.ศ. 2487 มีการทิ้งระเบิดอีกครั้งทำให้กล้องปริทรรศน์เกิดความเสียหายจนถล่มลงมา แต่ผู้ที่อยู่ภายในป้อมปราการนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บ (แท่นทดสอบที่ 8 แฮร์มันน์ ไวด์นาร์ ถูกทำลายในช่วงที่มีการบุกเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ปี พ.ศ 2487)[13]: 98 


อ้างอิง[แก้]

  1. Klee, Ernst; Merk, Otto (1963). The Birth of the Missile:The Secrets of Peenemünde (English translation 1965 ed.). Hamburg: Gerhard Stalling Verlag. p. 29.
  2. Janberg, Nicolas. "Montagehalle Prüfstrand VII". International Database and Gallery of Structures. Structurae. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2008.
  3. "Prüfstand VII". Peenemünde. SkyscraperPage.com. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2008.
  4. Deutsche Experimental Raketen Arbeitsgruppe เก็บถาวร 2012-07-31 ที่ archive.today (เยอรมัน)
  5. Dornberger, Walter (1954) [1952]. V2—Der Schuss ins Weltall (in German). Cleugh, James and Halliday, Geoffrey trans. (translation: V-2 Viking Press:New York ed.). Esslingan: Bechtle Verlag. pp. 4, 9–11, 30, 128–133, 141. ISBN 0-553-12660-1.
  6. Huzel, Dieter K (1962). Peenemünde to Canaveral. Englewood Cliffs NJ: Prentice Hall. pp. 21, 42–46, 64–69, 100, 103, 240.
  7. Dornberger, Walter (1954) [1952]. V2—Der Schuss ins Weltall (ภาษาเยอรมัน). Cleugh, James and Halliday, Geoffrey trans. (translation: V-2 Viking Press:New York ed.). Esslingan: Bechtle Verlag. pp. 4, 9–11, 30, 128–133, 141. ISBN 0-553-12660-1.
  8. Huzel, Dieter K (1962). Peenemünde to Canaveral. Englewood Cliffs NJ: Prentice Hall. pp. 21, 42–46, 64–69, 100, 103, 240.
  9. Klee, Ernst; Merk, Otto (1963). The Birth of the Missile:The Secrets of Peenemünde (English translation 1965 ed.). Hamburg: Gerhard Stalling Verlag. p. 29.
  10. Dornberger, Walter (1954) [1952]. V2—Der Schuss ins Weltall (ภาษาเยอรมัน). Cleugh, James and Halliday, Geoffrey trans. (translation: V-2 Viking Press:New York ed.). Esslingan: Bechtle Verlag. pp. 4, 9–11, 30, 128–133, 141. ISBN 0-553-12660-1.
  11. Huzel, Dieter K (1962). Peenemünde to Canaveral. Englewood Cliffs NJ: Prentice Hall. pp. 21, 42–46, 64–69, 100, 103, 240.
  12. Jones, R.V (1979). Most Secret War:British Scientific Intelligence 1939-1945. London UK: Coronet Books (Hodder and Stoughton). pp. 433–435. ^Note 2 : On 13 June, Dr Jones sent a note to Sandys and "two or three days later an addendum was added the report by from Sandys' interpreter, saying that an object was visible on the photograph without any mention that anyone but himself had found it. This experience certainly confirmed my impression that my help was being avoided.":435 [verification needed]
  13. Ordway, Frederick I, III; Sharpe, Mitchell R (1979). The Rocket Team. Apogee Books Space Series 36. New York: Thomas Y. Crowell. pp. 98, 114, 295.