แถลงการณ์ถนัด-รัสก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ถนัด คอมันตร์ เข้าพบประธานาธิบดีสหรัฐ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ที่ทำเนียบขาว พ.ศ. 2504

แถลงการณ์ถนัด-รัสก์ เป็นแถลงการณ์ทางการทูตทวิภาคีที่ลงนามเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2505[1] โดยพันเอกพิเศษ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และดีน รัสก์ (Dean Rusk) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ในแถลงการณ์ดังกล่าว สหรัฐสัญญาว่าจะช่วยเหลือไทยหากต้องเผชิญกับการรุกรานจากชาติเพื่อนบ้าน แถลงการณ์นี้เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับไทยที่เริ่มต้นขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833[2]

แถลงการณ์ดังกล่าวตอกย้ำบทบาทของไทยในฐานะพันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงสงครามเย็น ในช่วงเวลาต่อจากการแถลง สหรัฐได้ดำเนินการช่วยพัฒนากองทัพไทยและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของประเทศไทยให้ทันสมัย ต่อมากองทัพไทยได้มีส่วนร่วมกับสงครามเวียดนาม โดยสนับสนุนประเทศเวียดนามใต้จากภัยคุกคามทางทหารจากประเทศเวียดนามเหนือและเวียดกง ในช่วงสงครามเวียดนาม สหรัฐได้เข้าใช้ฐานทัพอากาศของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนกำลังพลและยุทธภัณฑ์ทางอากาศของกองทัพสหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การวางกำลังส่วนหน้า[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Official Statements and Documents, Multilateral Treaties and Agreements, U.S.-Thailand". The National Bureau of Asian Research. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
  2. Kurlantzick, Joshua (8 มีนาคม 2016). "Thanat Khoman and the Fraying of the U.S.-Thailand Alliance". Council on Foreign Relations. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2022.
  3. "Foreign Relations of the United States, 1961–1963, Volume XXIII, Southeast Asia". Office of the Historian. 7 พฤศจิกายน 1967. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2022.