แซมปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซมปา

แซมปา (ทิเบต:རྩམ་པ་,rtsam pa; จีน: 糌粑; พินอิน: zān bā) เป็นอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของทิเบต โดยเฉพาะในทิเบตกลาง ทำจากแป้งคั่ว โดยมากเป็นข้าวบาร์เลย์ และบางครั้งเป็นข้าวสาลี หรือข้าว มักจะผสมกับชาเนยแบบทิเบตที่มีรสเค็ม (ทิเบต:བོད་ཇ་|w=bod cha}}; จีน: 酥油茶; พินอิน: sū yóu chá)

ความสำคัญทางวัฒนธรรม[แก้]

แซมปานอกจากจะเป็นอาหารประจำชาติของทิเบตแล้ว ยังมีบทบาทในทางวัฒนธรรม มีประเพณีการขว้างปาแซมปาในพิธีกรรมศานาพุทธหลายพิธี เชื่อกันว่า การโยนแซมปาเป็นพิธีกรรมที่มาจากศาสนาดั้งเดิมก่อนจะนำมาปรับให้เข้ากับพุทธศาสนาโดยถือเป็น "เครื่องหมายแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง" ใช้ในโอกาสฉลองเช่นการแต่งงานและวันเกิด [1] ทุกวันนี้ยังใช้ในการเฉลิมฉลองปีใหม่ซึ่งจะมีการสวดมนต์พร้อมด้วยข้อแสดงความปรารถนาที่ โชคดีในปีที่กำลังจะมาถึง การโยนแซมปายังเกิดขึ้นในงานศพชาวพุทธส่วนใหญ่เพื่อจุดมุ่งหมายที่จะปล่อยจิตวิญญาณของผู้เสียชีวิต

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-28. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]