ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ (พ.ศ. 2101–2317)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หัวเมืองเชียงใหม่

ᩉ᩠ᩅᩫ​ᨾᩮᩬᩥᨦ​ᨩ᩠ᨿᨦ​ᩉᩲ᩠ᨾ᩵
พ.ศ. 2101–พ.ศ. 2317
สถานะประเทศราช
ของกรุงหงสาวดี กรุงศรีอยุธยา และกรุงอังวะ
เมืองหลวงเวียงเชียงใหม่
ภาษาทั่วไปไทยวน
การปกครองราชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• ทัพพระเจ้าบุเรงนองยึดครองล้านนา
พ.ศ. 2101
• นรธาเมงสอสวามิภักดิ์กรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2139
• ทัพอังวะยึดครองเชียงใหม่
พ.ศ. 2158
• ทัพพม่าถูกขับจากเชียงใหม่
พ.ศ. 2317
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรล้านนา
นครรัฐเชียงแสน
นครเชียงใหม่
นครลำปาง
นครลำพูน
นครแพร่
นครน่าน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเป็นส่วนหนึ่งของ
- ภาคเหนือของไทย
- บางส่วนของรัฐฉาน

หัวเมืองเชียงใหม่ (อักษรธรรมล้านนา: ᩉ᩠ᩅᩫ​ᨾᩮᩬᩥᨦ​ᨩ᩠ᨿᨦ​ᩉᩲ᩠ᨾ᩵) เป็นประเทศราชของกรุงหงสาวดี กรุงศรีอยุธยา และกรุงอังวะ โดยระยะแรก (พ.ศ. 2101–2206) ยังมีอำนาจในการปกครองตนเองในระดับหนึ่ง ในระยะหลัง (พ.ศ. 2207-2317) จึงถูกยุบรวมเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของพม่า[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป ในยุคนี้ล้านนาถูกเข้าแทรกแซงอำนาจจากอาณาจักร์ล้านช้างและอยุธยาซึ่งล้านช้างเป็นฝ่ายชนะในการแทรกแซงล้านนา ส่งผลให้ล้านช้างได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ ส่งผลให้อาณาจักร์ล้านนากลายเป็นรัฐในอารักขาของล้านช้างในที่สุดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งพระยาโพธิสาลราชได้กลายเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างในช่วงสั้นๆโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งอาณาจักรตองอูได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่เป็นประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงศ์มังรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง มาปกครองแทน

พ.ศ. 2157 พระเจ้าอโนเพตลุนแห่งอังวะ ซึ่งเป็นราชนัดดาในพระเจ้าบุเรงนอง เห็นว่าตั้งแต่สิ้นเจ้าเมืองเชียงใหม่สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ ซึ่งยอมเป็นประเทศราชของอยุธยา ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันระหว่างฝ่ายพม่าคือ พระช้อย และฝ่ายล้านนาคือ พระชัยทิพ เห็นเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งเลยยกมาตีเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่รู้ว่าพม่ายกมาก็ทิ้งเมืองพากันลงมาอยู่ที่ลำปาง แต่ในที่สุดก็เสียเมืองลำปางให้พม่า

พ.ศ. 2207 พระเจ้าปเยแห่งอังวะได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ตั้งเมืองเชียงแสนเป็นอีกหัวเมืองหนึ่งคู่กับเมืองเชียงใหม่ และใช้เป็นฐานสำคัญในการยกกองทัพเข้าไปตีกรุงศรีอยุธยา นำไปสู่การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง[2]

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับรายนามผู้ปกครองเชียงใหม่[แก้]

รายนามผู้ปกครองเชียงใหม่ระหว่างปี พ.ศ. 2175 - 2270 เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายโดยอ้างอิงจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ผูกที่ 6[3] หรือหลักฐานชั้นหลังที่อ้างอิงตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ เช่น พงศาวดารโยนก[4] อย่างไรก็ตาม ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ส่วนนี้ได้ถูกโต้แย้งว่านำเอาบันทึกของเชียงแสนและพม่ามาใช้โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง[5] และมีเนื้อหาขัดแย้งกับหลักฐานของพม่า เชียงแสน และอยุธยา[6]

ผู้ปกครอง ข้อโต้แย้งโดยย่อ ดูเพิ่ม
พระยาหลวงทิพเนตร พื้นเมืองเชียงแสนและราชวงศาพื้นเมืองเชียงใหม่บ่งชี้ว่า เจ้าฟ้าหลวงทิพเนตรครองเมืองเชียงแสน ในขณะที่เมืองเชียงใหม่ว่างเจ้าเมือง พญาแสนหลวง
พระแสนเมือง เจ้าเมืองเชียงใหม่ถูกกวาดต้อนไปยังอยุธยาในปี พ.ศ. 2207

เจ้าฟ้าแสนเมืองครองเมืองเชียงแสนไปจนถึงปี พ.ศ. 2215

เจ้าเมืองแพร่ ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้าปเย

ซึ่งทรงเคยเป็นเจ้าเมืองแปรมาก่อน

มีนเยละจอ

มีนเยยานดา

อุปราชอึ้งแซะ ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้านะราวะระ

ซึ่งทรงเป็นพระมหาอุปราชาพม่าในขณะนั้น

เจพูตราย ถูกโต้แย้งว่าบันทึกผิดเพี้ยนมาจากพระเจ้ามังกะยอดิน

ซึ่งทรงเป็นพระโอรสของเจ้าชายแห่งซีบุดะรา (Siputtara)

มีนเยนอระทา

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. ประวัติศาสตร์ล้านนา, หน้า 257
  2. 200 ปี พม่าในล้านนา
  3. Minister, Office of the Prime, English: Fundamental History of the City of Chiang Mai (PDF), p. 81-82, สืบค้นเมื่อ 2023-02-22
  4. ประชากิจกรจักร, พระยา (2516). พงศาวดารโยนก. กรุงเทพฯ: บุรินทร์การพิมพ์. pp. 408–418.
  5. สุขคตะ, เพ็ญสุภา (16 กรกฎาคม 2023). "ตระหนัก 'ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่' (จบ) ความคลาดเคลื่อนที่ควรแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมชำระใหม่แบบขยายความ". มติชนสุดสัปดาห์. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2023.
  6. Kirigaya, Ken (29 November 2014). "Some annotations to the Chiang Mai chronicle: The era of Burmese rule in Lan Na" (PDF). Journal of the Siam Society. 102: 272–282 – โดยทาง The Siam Society under Royal Patronage.
บรรณานุกรม