แกลิกฟุตบอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกลิคฟุตบอล 
Peil Ghaelach
Aidan O'Mahonyเอเดน โอมาโฮนี่ ผู้เล่นทีมเคอรี่(ซ้าน) และ อีโอน แบรดลี่ย์ (ขวา) ในเกทส์การแข่งขันระดับประเทศ ณ สนาม โคร้กพาร์คกรุงดับลิน พ.ศ ๒๕๔๖
สมาพันธ์สูงสุดGaelic Athletic Association (GAA)
ชื่ออื่นCaid
Football
Gaelic
Gaa
เล่นครั้งแรก1884
สโมสรMore than 2,500
ลักษณะเฉพาะ
การปะทะYes
ผู้เล่นในทีม15 per team
7 per team (Sevens)
แข่งรวมชายหญิงSingle
หมวดหมู่Outdoor
อุปกรณ์Football
จัดแข่งขัน
โอลิมปิกDemonstration sport 1900 and 1904

แกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีการผสมผสานจากหลายกีฬาไม่ว่าจะเป็น ฟุตบอล รักบี้ แฮนด์บอลและบาสเก็ตบอล กีฬาแกลิคฟุตบอลกำเนิดจากประเทศไอร์แลนด์ตั้งแต่สมัยยุคกลางก่อนที่จะถูกปรับเปลี่ยนและตั้งกฏกติการมารตรฐานเมื่อปึพุทธศักราช 2430 และเริ่มเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมาโดยเฉพาะในประเทศไอร์แลนด์ และเริ่มเป็นที่รู้จักในหลายประเทศที่มีชาวไอร์แลนด์อพยพไปตั้งรกรากทั้งในอเมริกา ออสเตรเลียและฯลฯ ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเกียงกันว่ากีฬาแกลิคฟุตบอลถือว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬาออสซี่รูลส์ (Australia Football)เนื่องด้วยพื้นฐานการเล่นการผ่านบอลการทำแต้มที่ความคล้ายคลึงกัน กระนั้นกีฬาแกลิคฟุตบอล เป็นกีฬาที่เหมาะกับสรีระคนไทยเพราะเป็นกีฬาที่อาศัยความคล่องตัว ความเป็นทีม ความเร็ว ความแม่นยำ แท็คติก โดยอาศัยทักษะ การส่งลูกบอลโดยใช้ฝ่ามือหรือกำปั้นเคาะให้บอลออกจากมืออีกข้าง การส่งลูกบอลโดยการเตะ การเดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและที่สำคัญเป็นกีฬาที่ไม่อาศัยการชนหรือการกระแทกต่างๆนานาๆ 

กฎ[แก้]

สนาม[แก้]

แผนภาพขนาดสนาม

ขนาดมาตรฐานของกีฬาแกลิคฟุตบอลเป็นสนามพื้นหญ้ามีขนาดใกล้เคียงกับสนามกีฬาฟุตบอลและรักบี้ โดยมีความยาวระหว่าง 130-145 เมตรและกว้าง 80-90 เมตร โดยมีเส้นแบ่งกีดขวางจากปลายสนามที่ 13 เมตร 20เมตร และ 45เมตร 

ปลายสนามด้านยาวของทั้งสองข้างประกอบด้วยประตูตาข่ายพร้อมลักษณะเดียวกันกับประตูในกีฬาฟุตบอลคือ ตำแหน่งคานอยู่สูง 2.5 เมตรจากพื้นและยาว 6.5เมตร แต่ปลายเสาของสองจะมีความสูงขึ้นประมาณ 6-7เมตร โดยประตูในแกลิคฟุตบอลจะมี รูปทรงตัว H 

ระยะเวลาการแข่งขัน[แก้]

ในการแข่งขันทั้งระดับผู้ใหญ่ ระยะเวลาแข่งขั้นคือ 60 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 30 นาที ยกเว้นในกรณีแมทช์การแข่งขันระดับประเทศ โดนจะอยู่ที่ 70 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 35 นาที ในกรณี่ที่ผลจบโดยการเสมอจะมีการต่อเวลาเพิ่มอีก 20 นาที โดยแบ่งเป็นสองครึ่ง ครึ่งละ 10 นาที

ผู้เล่น [แก้]

จำนวนผู้เล่นตัวจริงต่อทีมในการแข่งขันตามมราตฐานแกลิคฟุตบอลคือทีมละ 15 คนรวมผู้รักษาประตู และตัวสำรองอีก 15คน โดยผู้เล่นตัวจริงจะต้องเรียงตำแหน่งหมายเลข 1 - 15 โดยมีผู้รักษาประตูติดเสื้อหลายเลขหนึ่ง และสีเสื้อของผู้รักษาประตูจะต้องไม่ซ้ำกับผู้เล่นในทีม ยกเว้นผู้รักษาประตูสำรอง

ตัวสำรองในทีมจะต้องเรียงตำแหน่งหมายเลข 16 - 30 โดยมีผู้รักษาประตูติดเสื้อหลายเลขหนึ่ง และสีเสื้อของผู้รักษาประตูจะต้องไม่ซ้ำกับผู้เล่นในทีม ยกเว้นผู้รักษาประตูตัวจริง ในแต่ละแมทช์แข่งขัน แต่ละทีมสามารถเปลี่ยนผู้เล่นได้แมทช์ละ 5 ครั้ง และอีก 1 ครั้งในกรณีที่ผูเล่นบาดเจ็บ โดยผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกไม่สามารถกลับมาเล่นได้อีก   

ตำแหน่งผู่เล่นและหน้าที่รับผิดชอบ[แก้]

หมายเลข ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาไอริชหรือไอร์แลนด์
1 Goalkeeper ผู้รักษาประตู Cúl Báire
2 Right corner back แบ็คขวาสุด Lánchúlaí deas
3 Full back ฟูลแบ็ค Lánchúlaí láir
4 Left corner back แบ็คซ้ายสุด Lánchúlaí clé
5 Right half back แบ็คขวากลาง Leathchúlaí deas
6 Centre half back แบ็คกลางต่ำ/กลางรับ Leathchúlaí láir
7 Left half back แบ็คซ้ายสุด Leathchúlaí clé
8 Midfielders กองกลาง Lár na páirce
9
10 Right half forward ปีกขวาต่ำ Leatosaí deas
11 Centre half forward หน้าต่ำ Leatosaí láir
12 Left half forward ปีกซ้ายต่ำ Leatosaí clé
13 Right corner forward ปีกขวาสูง Lántosaí deas
14 Full forward ศุนย์หน้า Lántosaí láir
15 Left corner forward ปีกซ้ายสูง Lántosaí clé
16+ Substitutes ตัวสำรอง Fir ionad / Mná ionad

ลูกบอล[แก้]

ลูกฟุตบอลในกีฬาแกลิคฟุตบอล ผลิตโดยบริษัท โอนิลส์

ลูกบอลทีใช้ในการแข่งขันคือลูกบอลหนังเย็บ 18 แผ่นล้อมรอบทรงกลม วางตำแหน่งลักษณะคล้ายกันในลูกวอลเล่ย์บอลแต่ใหญ่กว่า มีเส้นรอบวงประมาณ 68-70 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 480-500กรัม การส่งลูกบอกสามารถทำได้โดยการเตะหรือชกบอลหรือเคาะบอลด้วยฝ่ามือ 

การทำฟาล์ว[แก้]

การฟาล์วของกีฬาแกลิคฟุตบอลมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่ การฟาล์วทางเทคนิค การฟาล์วรุนแรง และการฟาล์วโดยโต้แย้งคำสั่งจากผู้ตัดสิน โดยกรณีฟาล์วอาจมีผลให้ผุ้เล่นถูกเตือน ถูกไล่ออกจากสนามหรือแม้กระทั่งยุติเกมส์การแข่งขัน

การฟาวล์ทางเทคนิค[แก้]

การฟาล์วทางเทคนิคเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้เล่นกระทำการดังต่อไปนี้:

  • วิ่งเกิน 4 ก้าวโดยไม่เดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(Solo)หรือเด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า(Bounce)  
  • เด้งลูกบอลระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้าติดต่อกันเป็นครั้งที่ 2 หลังจากวิ่งครบ 4 ก้าว (ผู้เล่นสามารถเดาะลูกบอลขึ้นด้วยเท้าระหว่างเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ทุก 4 ก้าวโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง) 
  • เปลี่ยนมือ หรือการโยนบอลจากมือข้างหนึ่งไปสู้มืออีกข้าง 
  • โยนหรือขว้างลูกฟุตบอล ผู้เล่นสามารถส่งบอลได้โดนการเคาะบอลด้วยฝ่ามือ(Handpass)หรือเตะลูกฟุตบอล 
  • ทำประตูโดยการเคาะบอล ผู้สามารถเคาะบอลข้ามคานเพื่อทำคะแนนได้แต่ไม่สามารถเคาะบอลเพื่อทำประตู 
  • หยิบลูกบอลขึ้นมาจากพื้น ผู้เล่นต้องใช้เท้าเตะหรือช้อนลูกบอลเข้าสูมื่อ
  • ล้ำหน้า (Square Ball) ผู้เล่นทีมทีกำลังรุกไม่สามารถรับบอลในกรอบ 13 เมตรได้ยกเว้นในกรณีลูกฟุตบอลได้ออกจากตัวผู้เล่นคนสุดท้ายที่ส่งบอล 

การฟาล์วรุนแรง[แก้]

การฟาล์วทางรุนแรงเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ผู้เล่นใช้คำรุนแรงทั้งทางวาจาหรือร่างกายต่อผู้เล่นหรือผู้ตัดสิน โดยประเภทของการลงโทษมี 3 ประเภทดังต่อไปนี้ คาดโทษและเตือนด้วยวาจา ใบเหลือง

เชิญออกจากสนาม เปลี่ยนตัวได้ ใบดำ

เชิญออกจากสนาม เปลี่ยนตัวไม่ได้ ใบแดง

การฟาล์วโดยโต้แย้งคำสั่งจากผู้ตัดสิน[แก้]

การฟาล์วโดยโต้แย้งคำสั่งจากผู้ตัดสินเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ไม่เห็นด้วยหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตัดสินซึ่งอาจส่งผลให้ผู้เล่นได้รับใบเหลืองหรือใบแดง เปลี่ยนจุดตั้งเตะถอยหลังไป 13 เมตร หรือยุติการแข่งขัน การฟาล์วโดยโต้แย้งคำสั่งจากผู้ตัดสินมีดังต่อไปนี้ 

  • -ท้าทายคำสั่งจากผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ไลน์แมน หรือผู้ตัดสินที่ 4 
  • ไม่ใส่ฟันยางตามคำสั่งของผู้ตัดสิน
  • ไม่ออกจากสนามในกรณีที่มีคำสั่งจากผู้ตัดสินหรือในกรณีผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
  • ไม่เห็นด้วยกับผู้ตัดสินในกรณีที่ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะ 
  • ไม่ออกจากสนามในกรณีได้รับใบแดง 
  • ผู้เล่นออกจากสนามหรือไม่ดำเนินเกมส์โดยไม่มีคำสั่งจากผู้ตัดสิน

การทำแต้ม[แก้]

ผู้กีฬาแกลิคฟุตบอลจากแคนาดาสาธิตการทำประตูจากการเตะ

การทำแต้มในแกลิคฟุตบอลสามารถทำได้ 2 อย่างคือ

การส่งบอลข้ามคานระหว่างเสาประตู(1แต้ม) ผู้เล่นสามารถเตะหรือเคาะบอลด้วยกำปั้นข้ามคานระหว่างเสาประตู

การส่งบอลเข้าประตูเหมือนในกีฬาฟุตบอล(3แต้ม) ผู้เล่นสามารถเตะแต่ไม่สามารถเคาะบอลด้วยกำปั้นในการทำประตู ยกเว้นในกรณีลูกบอลถูกส่งมาจากผู้เล่นอื่น หรือกระดอนจากเสาหรือคานในระยะประชิด ผู้เล่นสามารถใช้กำปั้นชกบอกเข้าประตูได้ โดยผู้รักษาประตูจะมีหน้าที่หลักในการป้องกันผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำแต้ม รูปแบบในการนับคะแนนของแกลิคฟุตบอลจะแบ่งคะแนนเป็นสองชนิดคือลูกฟุตบอลเข้าประตูและลูกข้ามคานระหว่างเสาประตู โดยจะเขียนคะแนนขึ้นด้วยจำนวนประตูตามด้วยจำนวนลูกข้ามคานระหว่างเสาประตูตามตัวอย่างด้านล่าง ทีม ก 3 - 5 ทีม ข 1 - 12

เมื่อนำคะแนนรวมแล้วทีม ก มี 14 แต้ม (3*3+5) และทีม ข มี 15 แต้ม (1*3+12) ดังนั้นถึงแม้ ทีม ก สามารถทำประตูได้มากกว่าแต่เมื่อรับคะแนนรวมแล้ว ทีม ข ทำแต้มได้มากกว่าดังนั้น ฝ่ายจึงชนะด้วยคะแนน 15แต้ม ต่อ 14แต้ม

การเข้าสกัด[แก้]

การเข้าสกัดหรือแย่งบอลจากผู้เล่นมีความรุนแรงใกล้เคียงกับกีฬาฟุตบอล ผู้เล่นสามารถใช้ใหล่เบียดแย่ง บอลกับผู้เล่น หรือใช้มือข้างใดข้างหนึงชก ตบ หรือตีบอลออกจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ส่วนการกระทำตามกล่าวด้านล่างถือเป็นการทำฟาล์ว

  • -ใช้เท้าบังบอลหรือสกัดจังหวะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยิงประตู
  • ดึงเสื้อผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม 
  • ผลักผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม 
  • สไลด์ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม 
  • ทำร้ายร่างกาย 
  • โดนตัว เจตนาหรือไม่เจตนาผู้รักษาประตูฝ่ายตรงข้ามในกรอบ 13 หลา 
  • เจตนาทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสะดุด 
  • เข้าบอลหรือแย่งบอลผู้เล่นด้วยมือ 2 ข้าง 
  • ปล้ำบอลหรือดึงบอลออกจากมือคู่ต่อสู้

การดำเนินเกมส์[แก้]

  • การเริ่มต้นเกมส์โดยกรรมการโยนลูกบอกจากจุดกลางสนามให้ผู้เล่นกองกลางจากสองทีม ทีมละ 2 คนแย่งลูกบอลกัน
  • หลักจากที่การทำประตู การทำแต้ม หรือลูกบอลออกหลัก ผู้รักษาประตูสามารถดำเนินเกมส์ด้วยการ Kick-out หรือการเตะลูกบอลในกรอบผู้รักษาประตู ผู้เล่นอื่นจะต้องอยู่หลักเส้น 20 เมตรในขณะที่ผู้รักษาประตูเริ่มเกมส์
  • ในกรณีผู้เล่นทำบอลออกจากเส้นหลังฝั่งตัวเอง ทีมฝ่ายตรงข้ามจะได้เตะลูกเริ่มที่เส้น 45 เมตร โดยจุดที่เตะต้องเป็นแนวเดียวกับจุดที่ลูกบอลออกจากเส้นขอบสนาม 
  • ในกรณีที่ผู้เล่นทำลูกบอลออกข้าง ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจากจุดที่บอลออกจากสนาม โดยสามารถเตะลูกบอกจากพื้นหรือจากมือ ผู้เล่นจะต้องอยู่หลังเส้นในขณะเตะเท่านั้น 
  • ในกรณีที่มีการที่ผู้เล่นทำฟาล์ว ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจากจุดที่มีการทำฟาว์ลเกิดขึ้น โดยสามารถเตะลูกบอกจากพื้นหรือจากมือ 
  • ในกรณีที่มีการที่ผู้เล่นทำฟาล์วในกรอบเขตโทษ ทีมฝ่ายตรงข้ามได้ลูกตั้งเตะจุดโทษจากเส้น 11 เมตร ผู้เล่นทีมรับไม่สามารถป้องกันประตูได้นอกจากผู้รักษาประตูเท่านั้น 
  • ในกรณีที่เกิดการทำฟาว์ลในจังหวะชุลมุน หรือสุดแต่วิสัยที่กรรมการจะตัดสินได้ การดำเนิดเกมส์ต่อด้วยการให้กรรมการโยนลูกบอลในลักษณะเดียวกับการเริ่มเกมส์

คณะกรรมการผู้ตัดสิน[แก้]

การแข่งขันแกลิคฟุตบอลในแต่ครั้ง คณะกรรมการผู้ตัดสินจะมีด้วยกันทั้งหมด 8 คนได้แก่

  • ผู้ตัดสินที่หนึ่ง ผู้ตัดสินที่หนึ่งจะมีหน้าเป็นกรรมการหลักในสนาม มีหน้ารับผิดชอบได้ส่วนของการเริ่มเกมส์ ยุติเกมส์ รวมไปถึงการแจกใบเหลือง ใบดำและใบแดง 
  • ผู้ตัดสินที่สองและสามหรือไลน์แมน ผู้ตัดสินที่สองมีหน้ากำกับเส้นข้างสนามแนวยาวทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งละ 1 คน ในกรณีเหตุการณ์ลูกบอลออกข้าง การเตะลูกเข้าสู่สนามเพื่อเริ่มเกมส์รวมไปถึงการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุการณ์การฟาล์วรุนแรงในกรณีผู้ตัดสินที่หนึ่งไม่ทันสังเกตเห็น (การฟาว์ลทางเทคนิคไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ตัดสินที่ 1 ตามแต่ดุลยพินิจ)
  • ผู้ตัดสินที่สี่ ผู้ตัดสินที่สี่มีหน้าในการกำกับเวลา การเปลี่ยนตัวผู้เล่นรวมไปถึงการช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุการณ์การฟาล์วรุนแรงในกรณีผู้ตัดสินที่หนึ่งไม่ทันสังเกตเห็น (การฟาว์ลทางเทคนิคไม่จำเป็นต้องแจ้งผู้ตัดสินที่ 1 ตามแต่ดุลยพินิจ)
  • อัมไพร์หรือกรรมการหลังประตู 
  • อัมไพร์ทำหน้าทีอยู่หลังประตูทั้งสองฝั่ง ฝั่งละ 2 คน โดยมีหน้าที่ตัดสินและการให้สัญญาญกรรมการกกรณีทีการทำคะแนนและประตูดังต่อไปนี้ 
    1. ยกธงเขียวในกรณีได้ประตู
    2. ยกธงขาวในกรณีได้ลูกข้ามคานระหว่างเสา
    3. ยกแขนขึ้นทั้งสองข้างในกรณีลูกออกหลังไม่ได้คะแนน
    4. ยกแขนขึ้นข้างเดียวในกรณีมีการทำฟาล์วเกิดขึ้น ทีมฝ่ายรุกได้ลูกตั้งแตะจากเส้น 45 เมตร
     5. ยกแขนทั้งสองข้างขวางเป็นรูปตัว X ในกรณีมีการทำฟาว์ลในกรอบ 13 เมตร
    6. ยกธงเขียวและขาวขึ้นในกรณีประตูหรือคะแนนที่ได้เป็นโมฆะ

โครงสร้างการแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันแกลิคฟุตบอลในระดับเยาวชน

การแข่งขันแกลิคฟุตบอลในประเทศไอร์จะแบ่งเป็นในระดับจังหวัดโดยแต่ละจังหวัดจะะมีตัวแทนจากสโมสรในพื้นที่นั้นเข้าร่วม โดยการแข่งขันสูงสุดระดับประเทศคือรายการ All-Ireland Senior Football Championship โดยรอบคัดเลือกการแข่งขันระดับภาคแบ่งออกเป็น 4 จังหวัด (Province)

โดยทีมที่ชนะการแข่งขันในระดับจังหวัดจะได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายในรายการ All-Ireland Senior Football Championship โดยอัตโนมัติ 4 ทีม ส่วนทีมระดับรองแชมป์อีก 4 ทีมในแต่ละจังหวัด แข่งขันรอบคัดเลือก 1 เกม โดยการจับฉลากประกบคู่ ส่วนทีมอื่นๆจากทั้ง 4 จังหวัดที่ตกรอบ เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก ซึ่งจะเป็นการพบกันในแบบน็อกเอาต์ (ยกเว้นทีมสโมสรNew York GAA ) โดยจะมีวิธิการประกบคู่กับทีมจากจังหวัดอื่นที่ตกรอบในรอบเดียวกัน ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายจะมี 2 ทีม โดยรวมทั้งหมดรอบสุดท้ายจะมีการแข่งขันด้วยกันทั้งหมด 8 ทีม การแข่งขันจะเริ่มช่วงปลายเดือนกรกฎาคมและนัดชิงชนะเลิศในเดือนกันยายน โดยสนามที่ใช้ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศทุกนัดคือสนาม โคร้กพาร์ค (Croke Park)