เฮเลนาแห่งสวีเดน (ศตวรรษที่ 12)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮเลนาแห่งสวีเดน
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์ค.ศ. 1156–1157
ก่อนหน้าอเดลาแห่งไมเซิน
ถัดไปโซเฟียแห่งมินสก์
ประสูติราวทศวรรษที่ 1130
สวรรคตหายสาบสูญจากหลักฐาน ค.ศ. 1158 (พระชนมายุราว 28 พรรษา หรือมากกว่านั้น)
ฝังพระศพอารามวเรตา
คู่อภิเษกพระเจ้าคนุตที่ 5 แห่งเดนมาร์ก
พระนามเต็ม
เฮเลนา สแวร์เกอร์สด็อทเทอร์ สแวร์เกอร์
ราชวงศ์ราชวงศ์สแวร์เกอร์
พระราชบิดาพระเจ้าสแวร์เกอร์ที่ 1 แห่งสวีเดน
พระราชมารดาอูล์ฟฮิลด์ โฮกุนสด็อทเทอร์
ศาสนาโรมันคาทอลิก

เจ้าหญิงเฮเลนาแห่งสวีเดน (ภาษาสวีเดน: Helena[1] หรือ เอริน "Erin" ราวทศวรรษ 1130 - เรื่องราวสาบสูญ ค.ศ. 1158) ทรงเป็นเจ้าหญิงสวีเดนในยุคกลางและเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก จากการอภิเษกสมรสกับพระเจ้าคนุตที่ 5 แห่งเดนมาร์ก วันที่ประสูติของพระนางไม่เป็นที่รู้จัก พระราชบิดาของพระนางคือ พระเจ้าสแวร์เกอร์ที่ 1 แห่งสวีเดน และพระราชมารดาของพระองค์อาจจะเป็นพระมเหสีองค์แรกของกษัตริย์คือ สมเด็จพระราชินีอูล์ฟฮิลด์

การระบุตัวตน[แก้]

ในช่วงปีค.ศ. 1146 - 1147 ราชอาณาจักรเดนมาร์กถูกแบ่งแยกภายใต้พระมหากษัตริย์สองพระองค์ที่ขัดแย้งกันคือ พระเจ้าคนุตที่ 5 แห่งเดนมาร์กและพระเจ้าสเวนที่ 3 แห่งเดนมาร์ก ในปีค.ศ. 1154 กษัตริย์คนุตเป็นพันธมิตรกับพระญาติคือ ดยุกวัลเดมาร์ ซึ่งต่อมาคือ พระเจ้าวัลเดมาร์มหาราช และกษัตริย์คนุตยังหากำลังสนับสนุนจากพระเจ้าสแวร์เกอร์ที่ 1 แห่งสวีเดน ระหว่างประทับในสวีเดน กษัตริย์คนุตทรงหมั้นกับพระราชธิดาพระองค์หนึ่งของกษัตริย์สแวร์เกอร์ ซึ่งเป็นพระราชบิดาเลี้ยง ส่วนดยุกวัลเดมาร์หมั้นกับพระราชธิดาเลี้ยงของกษัตริย์สแวร์เกอร์คือ โซเฟียแห่งมินสก์ พระนามของคู่หมั้นในกษัตริย์คนุตที่ 5 ไม่ได้มีการกล่าวถึงในพงศาวดาร แต่จากการค้นคว้าในยุคสมัยใหม่ระบุว่า เจ้าหญิงพระองค์นั้นมีพระนามว่า เฮเลน หรือ เฮเลนา และมักถูกเรียกกันว่า เอริน[2] พื้นฐานที่ได้มาซึ่งข้อสรุปนี้คือ จากเนโครโลจีอุม ลุนเดนเซอ ซึ่งกล่าวถึง เอเลนา เรไจนา (Elena Regina) ซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ระบุคือ วันที่ 31 ธันวาคม เนื่องจากไม่มีการบันทึกว่า พระราชินีเดนมาร์กพระองค์ใดใช้ชื่อนี้ ดังนั้นน่าจะหมายถึงพระราชินีเดนมาร์กไร้นามซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์สแวร์เกอร์แห่งสวีเดน[3] ตามสมมติฐาน พระนางอาจถูกระบุว่า เป็นนักบุญที่มีลักษณะกึ่งตำนาน ในพระนามว่า นักบุญเฮเลน ซึ่งได้รับการยกย่องในสวีเดนและเดนมาร์กด้วย[4]

สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก[แก้]

ปลายปีค.ศ. 1156 กษัตริย์คนุตที่ 5 เสด็จสวีเดนเพื่อปลอบพระทัยพระราชชนนีหลังเหตุการณ์การลอบปลงพระชนม์กษัตริย์สแวร์เกอร์ (พระราชชนนีของกษัตริย์คนุตที่ 5 ได้เป็นพระมเหสีองค์ถัดมาของกษัตริย์สแวร์เกอร์) ในช่วงนั้นพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสวีเดน[5] ดังนั้นพระนางเฮเลนาจึงเสด็จออกจากสวีเดนเพื่อเป็นพระราชินีแห่งเดนมาร์ก ซึ่งพระนางจะทรงครองตำแหน่งในเวลาสั้นๆ และน่าเศร้าใจ[6] ในปีค.ศ. 1157 กษัตริย์คนุตและกษัตริย์วัลเดมาร์เสด็จไปงานเลี้ยงเจรจาไกล่เกลี่ยที่รอสกิลด์ซึ่งกษัตริย์สเวนที่ 3 ทรงจัดขึ้น ระหว่างงานเลี้ยงกษัตริย์สเวนสั่งทหารเข้ามาปลงพระชนม์กษัตริย์ทั้งสอง และกษัตริย์คนุตทรงถูกปลงพระชนม์ ส่วนกษัตริย์วัลเดมาร์ทรงหลบหนีไปได้ กษัตริย์สเวนถูกฝ่ายของกษัตริย์วัลเดมาร์ตามปลงพระชนม์ในปีเดียวมา ทำให้กษัตริย์วัลเดมาร์เป็นผู็ชนะหนึ่งเดียวในสงครามกลางเมืองเดนมาร์ก หลังจากนั้นสมเด็จพระราชินี หรือ พระพันปีหลวงเฮเลนาเสด็จกลับสวีเดน หลังพระราชสวามีสวรรคต จากสำเนารายชื่อในศตวรรษที่ 16 เกี่ยวกับผู้บริจาคเงินในช่วงยุคกลางระบุว่า สมเด็จพระราชินีเฮเลนาทรงบริจาคที่ดินในตำบลสลากาแก่อารามวเรตาในเอิสเตร์เยิตลันด์ จากนั้นพระนางก็อุทิศพระองค์ในอารามนี้ในฐานะแม่ชี[7] ด้วยเหตุนี้นักประวัติศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า พระราชินีของกษัตริย์คนุตทรงปลีกพระองค์จากโลกภายนอกหลังจากพระราชสวามีถูกปลงพระชนม์ ในปีค.ศ. 1158 ทรงเข้าร่วมเข้าคณะภคินีกับเจ้าหญิงอิงเงอเกิร์ดแห่งสวีเดน (สิ้นพระชนม์ค.ศ. 1204) พระขนิษฐา ซึ่งเป็นอธิการิณีของอารามวเรตา[1]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. 1.0 1.1 Sven Rosborn (In Swedish): När hände vad i Nordens historia (When did what happen in the history of the Nordic countries)
  2. Wallin, "Knutsgillena i det medeltida Sverige", pp. 137, 190.
  3. Philip Line, Kingship and State Formation in Sweden 1130-1290. Leiden: Brill, 2007, p. 485.
  4. Ahnlund, "Den nationella och folkliga Erikskulten", p. 120.
  5. Ahnlund, "Till frågan om den äldsta Erikskulten i Sverige", p. 309.
  6. Lars O. Lagerqvist (1982). "Sverige och dess regenter under 1.000 år",("Sweden and its regents under a 1000 years") (ภาษาสวีเดน). Albert Bonniers Förlag AB. ISBN 91-0-075007-7.
  7. Ahnlund, "Till frågan om den äldsta Erikskulten i Sverige", p. 319.

วรรณกรรมอ้างอิง[แก้]

  • Ahnlund, Nils. "Till frågan om den äldsta Erikskulten i Sverige". Historisk tidskrift 68, 1948.
  • Ahnlund, Nils. "Den nationella och folkliga Erikskulten", in B. Thordeman (ed.). Erik den helige. Stockholm, 1954.
  • Lagerqvist, Lars O. "Sverige och dess regenter under 1.000 år. Stockholm: Albert Bonniers Förlag AB, 1982 (ISBN 91-0-075007-7).
  • Rosborn, Sven. När hände vad i Nordens historia. Lund: Historiska media, 1997 (ISBN 91-9719-926-5).
  • Wallin, Curt.Knutsgillena i det medeltida Sverige. Kring kulten av de nordiska helgonkungarna [Historiskt arkiv, 16]. Stockholm: Almqvist & Wicksell, 1975 (ISBN 91-7402-006-4).
ก่อนหน้า เฮเลนาแห่งสวีเดน (ศตวรรษที่ 12) ถัดไป
อเดลาแห่งไมเซิน
สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก
(ค.ศ. 1156 – ค.ศ. 1157)
โซเฟียแห่งมินสก์