เฮนรี พีช โรบินสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เฮนรี พีช โรบินสัน (Henry Peach Robinson) (9 กรกฎาคม ค.ศ. 1830 - 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1901) คือผู้บุกเบิกการถ่ายภาพประกอบ หรือเรียกได้ว่าเป็นดั่งราชาแห่งการถ่ายภาพและเป็นหนึ่งในช่างภาพที่เก่งที่สุดของยุคนั้น เฮนรี พีช โรบินสันเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อวงการช่างภาพและการถ่ายภาพมากที่สุด จนกระทั่งถึงยุคของ ปีเตอร์ เฮนรี อีเมอร์สัน (Peter Henry Emerson) ผู้บุกเบิกการถ่ายภาพแบบ naturalistic [เหมือนจริง,เป็นธรรมชาติ]

เฮนรี พีช โรบินสันได้รับอิทธิพลมากมายจากภาพเขียนและงานเขียนมากมายของ J.M.W.Turner เมื่ออายุได้ 19 ปีเข้าจึงเริ่มสร้างงานศิลปะ และจัดแสดงนิทรรศการภาพวาดจากสีน้ำมันครั้งแรกที่ The Royal Academy of Art ในปี ค.ศ. 1852

ปี ค.ศ.1852 เขาเริ่มถ่ายภาพ 5 ปีให้หลัง เขาจึงตัดสินใจเปิดสตูดิโอส่วนตัวเพื่อขายภาพ portraits ที่ Lemington และยังได้ก่อตั้งสตูดิโอที่ Kent อีกด้วย ต่อมา ในปี ค.ศ. 1850 เขาได้รับการแนะนำเรื่องกระบวนการคาโลไทพ์ ( Calotype ) โดย ฮิวจ์ ไดอะมอนด์ (Hugh Diamond) และได้เรียนรู้การใช้ Collodion ซึ่งในความจริงแล้ว นับได้ว่า ฮิวจ์ ไดอะมอนด์ คือบุคคลที่มีอิทธิพลสำคัญและเป็นผู้สนับสนุนให้เขาได้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพถ่าย

ปี 1857 เขาตัดสินใจเลิกกิจการขายหนังสือ เพื่อมาเป็นช่างภาพมืออาชีพ เขาโฆษณางานของตนเองในปี ค.ศ.1857 โดยเรียกว่าเป็นการ Going Rate ซึ่งนำเสนอภาพของพี่น้องสองคนอยู่ในเฟรมเดียวกัน ซึ่งมีขนาด up to whole plate (8" by 6") cost 10/6 (just over fifty pence), 15/- (75p) โดยเพิ่มการทาสีบริเวณมือและหน้า และการเพิ่มลักษณะพิเศษเช่นนี้จึ้งทำให้ภาพถ่ายของเขามีราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัว และได้เขียนคำโฆษณาไว้ในภาพว่า “ไม่มีอะไรเหมาะกับสุภาพสตรีทั้งหลายได้เท่าผ้าไหมและซาตินสีเข้มอีกแล้ว,ชุดกำมะหยี่สีดำนั้นไม่ควรใส่หากไม่จำเป็น ส่วนชุดสีขาวและฟ้าอ่อนควรหลีกเลี่ยงหากเป็นไปได้”

หนึ่งในความแปลกใหม่ในงานของ เฮนรี พีช โรบินสัน คือการเพิ่มลายเครือเถาลงไปบนภาพ ซึ่งทำให้ภาพที่ได้ออกมางดงามและมีเสน่ห์น่าสนใจ

ภาพ the Lady of Shallot (1882) และ Autumn (1863) เป็นภาพสไตล์ Pre – Raphaelite (ศิลปะของอิตาลีก่อนสมัยราฟาเอล) ซึ่งเป็นภาพที่สร้างความประทับใจให้กับ Henry Peach Robinson เป็นอย่างมาก

ด้วยข้อจำกัดของการถ่ายภาพทำให้เขาเกิดข้อคิดใหม่ๆขึ้นมา โดยการผสมผสานระหว่างภาพถ่ายและการพิมพ์ ซึ่งเขาได้รับการแนะนำให้รู้จักเทคนิกเช่นนี้โดยเพื่อนของเขาซึ่งก็คือ Oscar Rejlander เทคนิคนี้ยากมากในการเอาภาพคนไปรวมกับภาพท้องฟ้าหรือวัตถุต่างๆ จึงทำให้เขามีภาพ negative ของท้องฟ้าอยู่มากมายเพื่อใช้ในการนำมารวมกับภาพถ่ายของเขา

กล่าวได้ว่าภาพที่โด่งดังที่สุดของเขาคือภาพ Fading Away ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1858 เป็นการนำฟิล์มเนกาทีฟ 5 ฟิล์ม มาซ้อนกันเพื่อให้เกิดภาพขึ้นมา เขาเสนอภาพของเด็กหญิงซึ่งป่วยด้วยวัณโรคโดยมีสมาชิกในครอบครัวอยู่รายล้อมเธอด้วยความเป็นห่วงและวิตก ภาพนี้เป็นภาพที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างมาก และนักวิจารณ์บางคนก็บอกว่าภาพนี้เป็นภาพที่ไม่เหมาะสมในการถ่ายเป็นอย่างยิ่ง

นักวิจารณ์คนหนึ่งกล่าวว่า “โรบินสันได้สื่อความรู้สึกออกมาเพื่อให้คนรับรู้ว่าความเจ็บปวดคือสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องประสบพบเจอ” ภาพแบบนี้ควรเป็นภาพที่ศิลปินนำมาใช้วาดมากกว่าและไม่ควรเป็นภาพถ่าย แต่อย่างไรก็ตามภาพนี้ได้ก่อให้เกิดความประทับใจและจินตนาการสูงส่งต่อเจ้าชายอัลเบิร์ต ผู้ตัดสินใจซื้อภาพของโรบินสันทุกภาพในเวลาต่อมา

ถือได้ว่าภาพ fading away เป็นภาพตัดต่อโดยการใช้ฟิล์มภาพแรกก็ว่าได้

ในยุคนี้เป็นยุคที่เกิดความแบ่งแยกและขัดแย้งระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด ในปี 1860 โรบินสันได้นำเสนอทฤษฎีของเขาในการประชุมของ The photographic society of Scotland ซึ่งงานนี้เขาได้รับการต้อนรับคือเสี่ยงโห่เยาะเย้ยจากผู้ต่อต้านทฤษฎีของเขามากมายซึ่งอ้างว่างานของโรบินสันคือการโป้ปดหลอกลวง มีการวิพากษ์วิจารณ์และปรึกษาหารือกันมากมาย จนได้บทสรุปว่างานของโรบินสันคืองานแบบ ปะติด มากกว่าการพิมพ์ ซึ่งโรบินสันก็ได้โต้แย้งไปว่า อีกหน่อยในอนาคต งานของเขาจะพิสูจน์ตัวของมันเอง

อย่างไรก็ตาม นี้คือคำกล่าวจากงานเขียนชิ้นเอกของโรบินสันซึ่งมีชื่อว่า [Pictorial Effect in Photography]

"Any dodge, trick and conjuration of any kind is open to the photographer's use.... It is his imperative duty to avoid the mean, the base and the ugly, and to aim to elevate his subject.... and to correct the unpicturesque....A great deal can be done and very beautiful pictures made, by a mixture of the real and the artificial in a picture."

“ทุกๆเล่ห์เหลี่ยม อุบาย หรือการเล่นกล ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ช่างถ่ายภาพทุกคนใช้ทั้งนั้น มันเป็นหน้าที่ที่เลี่ยงไม่ได้ของช่างภาพ เพราะการถ่ายภาพให้สวยงามนั้นต้องอาศัยมุมมอง และเทคนิกต่างๆมากมายเพื่อหลบเลี่ยงความไม่สวยงามที่จะเกิดขึ้นในภาพถ่าย”

ในช่วงเวลาที่วิทยาศาสตร์ครอบงำวงการภาพถ่ายโดยไม่หมาะสม โรบินสันให้ความสำคัญของการมองเห็นมากกว่า คำแนะนำที่ดีของเขาคือ

“ถึงแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะรักภาพทิวทัศน์ที่งดงาม แต่ความรักนั้นจะยกระดับขึ้นได้หากพวกเขาใช้สายตาแป่งศิลปะในการมองและรับรู้ว่าความสวยงามที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากอะไร หากเขาสามารถแยกแยะความต่างและรับรู้ถึงอิทธิพลและความลงตัวที่ธรรมชาตินำเสนอออกมา แต่คนส่วนใหญ่ชอบที่จะมองสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่าไตร่ตรองให้ลึกซึ้ง”

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]