เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์
เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ | |
---|---|
สัญชาติ | ![]() |
อาชีพ | สถาปนิก |
ผลงานสำคัญ | วังเทวะเวสม์ บ้านมนังคศิลา สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ |
เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (อังกฤษ: Edward Healey) สถาปนิกชาวอังกฤษที่ทำงานส่วนใหญ่ใน สยาม/ไทย ระหว่างช่วงครึ่งแรกของ คริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาจบการศึกษาจาก ราชวิทยาลัยศิลปะ ในลอนดอนเมื่อปี พ.ศ. 2450 ก่อนเดินทางมายังสยามเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ของ โรงเรียนเพาะช่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2453 ถึง 2455 เขารับงานก่อสร้างส่วนตัวด้วยจนเป็นที่รู้จักในฐานะ สถาปนิกชาวสยามออกแบบอาคารสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังเห็นได้จากที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์และคาร์ล เดอริง ให้ออกแบบโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยเดินทางไปดูงานสถาปัตยกรรมที่สุโขทัย[1]
ผลงานการออกแบบอาคารของเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ อาทิ วังเทวะเวสม์ ตึกบัญชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ้านมนังคศิลา และอาคารหลักของ สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์[2]
กระทั่งวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยาแก่นาย เอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ๒๔๕๘ –
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เฉลิมพล โตสารเดช. "การศึกษาผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมจินดา)" (PDF).
- ↑ Fusinpaiboon, Chomchon (2014). Modernisation of Building: The Transplantation of the Concept of Architecture from Europe to Thailand, 1930s–1950s (PhD thesis). University of Sheffield. pp. 123–4.
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 2020-07-09.