เอเคอร์ (อิสราเอล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมืองเก่าเอเคอร์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
เอเคอร์
ประเทศธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(ii)(iii)(v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2544 (คณะกรรมการสมัยที่ 25)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เอเคอร์ หรือ อักโก (อังกฤษ: Acre หรือ Akko[1]) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของบริเวณกาลิลีทางตอนเหนือของอิสราเอล ตัวเมืองตั้งอยู่บนแหลมหรือแผ่นดินที่ยื่นออกไปในทะเล (promontory) ของอ่าวไฮฟา (Haifa Bay) ตามสถิติของสำนักงานสถิติกลางแห่งอิสราเอล เอเคอร์มีประชากรทั้งหมดราว 46,000 คนในปลายปี ค.ศ. 2007[2] ในทางประวัติศาสตร์เอเคอร์เป็นเมืองสำคัญทางยุทธศาสตร์ของบริเวณเลแวนต์ (Levant) เพราะมีที่ตั้งอยู่ริมทะเล

สมัยกรีกและโรมัน[แก้]

นักประวัติศาสตร์กรีกเรียกเมืองนี้ว่า “Ake” ที่แปลว่า “รักษา” ตามตำนานที่ว่าเฮราคลีสพบพันธ์ไม้สมุนไพรที่สามารถใช้ในการรักษาแผลของตนเองได้[3] นักประวัติศาสตร์กรีกโจซีฟัสเรียกเมืองนี้ว่า “Akre” ต่อมาไม่นานหลังจากที่ถูกยึดโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชเอเคอร์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “Antiochia Ptolemais” (อันติโอเคียโทเลเมส์) หลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงแบ่งราชอาณาจักร เอเคอร์ก็ปกครองโดยทอเลมี โซเตอร์[4]

นักประวัติศาสตร์กรีกสตราโบ (Strabo) กล่าวถึงเอเคอร์ว่าเป็นเมืองที่เป็นที่เป็นสนามรบในการต่อสู้เมื่อเปอร์เชียมารณรงค์ต่อต้านอียิปต์ ราว 165 ปีก่อนคริสต์ศักราชไซมอน แม็คคาเบียส (Simon Maccabaeus) ได้รับชัยชนะต่อซีเรียหลายครั้งในยุทธการในบริเวณกาลิลี และได้ขับซีเรียเข้าไปในเมืองโทเลเมส์ ราว 153 ปีก่อนคริสต์ศักราชอเล็กซานเดอร์ บาลัส (Alexander Balas) ลูกของอันติโอคัสที่ 4 แห่งอีพิฟานีส (Antiochus IV Epiphanes) ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ซีเรียต่อเดมิเทรียสที่ 1 โซเตอร์ (Demetrius I Soter) ก็ยึดโทเลเมส์ที่เปิดประตูให้ เดมิเทรียสพยายามติดสินบนฝ่ายแม็คคาบีส (Maccabees) โดยใช้เงินที่รวมทั้งเงินที่มาจากรายได้ของโทเลเมส์สำหรับการบำรุงวัดแห่งเยรูซาเลม เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากชนยิวในการต่อต้านบาลัสแต่ก็ไม่สำเร็จ โจนาธาน แม็คคาเบียส (Jonathan Maccabaeus) หันไปสนับสนุนบาลัส และในปี 150 ปีก่อนคริสต์ศักราชโจนาธานก็ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีโดยบาลัสในโทเลเมส์ แต่หลายปีต่อมาไทรฟอนเจ้าหน้าที่ชาวซีเรียเกิดความไม่ไว้วางใจในตัวแม็คคาเบียสและล่อลวงตัวไปจับตัวเป็นนักโทษ

โทเลเมส์ถูกยึดโดยอเล็กซานเดอร์ แจนเนียส (Alexander Jannaeus), โดยคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์ (Cleopatra VII of Egypt) และต่อมาโดย ไทเกรนีสมหาราช (Tigranes the Great) นอกจากนั้นโทเลเมส์ก็ยังเป็นที่ที่พระเจ้าแฮรอดมหาราชทรงสร้างโรงพลศึกษากรีก (Greek gymnasium) และเป็นที่ที่ชาวยิวมาพบเพโทรเนียสผู้ที่ถูกส่งมาติดตั้งประติมากรรมของจักรพรรดิโรมันในวัดของชาวยิว และพยายามหว่านล้อมให้เพโทรเนียสเดินทางกลับไปโรม นักบุญพอลใช้เวลาวันหนึ่งในโทเลเมส์ (กิจการ 21:7) โรมันก่อตั้งเมืองเป็นอาณานิคมที่เรียกว่า "กอโลนิอาเกลาดิอีไกซาริส" (Colonia Claudii Caesaris)

ในปี ค.ศ. 395 หลังจากจักรวรรดิโรมัน แบ่งเป็นสองส่วน เอเคอร์ก็ตกไปเป็นของจักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์

การปกครองโดยอาหรับและโดยนักรบครูเสด[แก้]

เมืองเอเคอร์เก่าเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20

หลังจากกองทหารของเฮราคลิอุส (Heraclius) แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกทำลายโดยกองทัพมุสลิมของ คาลิด อิบน์ อัล-วาลิด (Khalid ibn al-Walid) ในยุทธการยาร์มุค (Battle of Yarmouk) และเมืองคริสเตียนแห่งเยรูซาเลมตกไปเป็นของกาหลิบอุมาร์ (Umar) แล้ว เอเคอร์ก็ตกไปเป็นของอาณาจักรกาหลิบราชิดัน (Rashidun Caliphate) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 638, ต่อมาอาณาจักรกาหลิบอูมายยัด (Umayyad Caliphate) และต่อมาอาณาจักรกาหลิบอับบาซิด (Abbasid Caliphate) จนกระทั่งมาถูกยึดโดยบอลด์วินที่ 1 แห่งเยรูซาเลม ระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ. 1104 หลังจากนั้นนักรบครูเสดก็สร้างเอเคอร์ให้เป็นเมืองท่าหลักในปาเลสไตน์[5] เอเคอร์ถูกยึดกลับไปเป็นของฝ่ายมุสลิมโดยSaladinศอลาฮุดดีนในปี ค.ศ. 1187 แต่อีกสองปีต่อมาก็มาถูกล้อมโดยไม่คาดโดยกีแห่งลูซิยอง (Guy of Lusignan) แต่ก็ยึดไม่ได้จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1191 โดยสมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ, พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส และเลโอโปลด์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย และกองทัพเยอรมันบางส่วนและกองทัพครูเสด เอเคอร์จึงกลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเยรูซาเลมที่ยังเหลืออยู่ในปี ค.ศ. 1192 ต่อมาในปี ค.ศ. 1229 เอเคอร์ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอัศวินเซนต์จอห์น นักรบครูเสดเรียกเมืองนี้ว่า “เอเคอร์” หรือ “เซนต์จอห์นแห่งเอเคอร์” หรือ “แซงต์-ฌองดาเครอ” (Saint-Jean d'Acre) เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเมืองเอครอน (Ekron) ของฟิลลิสตีน (Philistines) ทางตอนเหนือของฟิลลิสเชียปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนไต้ของอิสราเอล เอเคอร์เป็นที่ตั้งมั่นสุดท้ายของนักรบครูเสดที่มาเสียแก่มามลุค (Mamluk) แห่งอาณาจักรกาหลิบอับบาซิด (Abbasid Caliphate) หลังจากการถูกล้อมในปี ค.ศ. 1291

ตัวเมืองเก่าของเอเคอร์[6] ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกเมื่อปี ค.ศ. 2001

อ้างอิง[แก้]

  1. Other spellings and historical names of the city include Accho, Acco and (Bahá'í orthography) `Akká, or formerly Aak, Ake, Akre, Akke, Ocina, Antiochia Ptolemais (กรีก: Αντιόχεια της Πτολεμαΐδος), Antiochenes, Ptolemais Antiochenes, Ptolemais or Ptolemaïs, Colonia Claudii Cæsaris, and St.-Jean d'Acre (Acre for short)
  2. "Table 3 - Population of Localities Numbering Above 1,000 Residents and Other Rural Population" (PDF). Israel Central Bureau of Statistics. 2008-06-30. สืบค้นเมื่อ 2008-10-18.
  3. The Guide to Israel, Zev Vilnay, Ahiever, Jerusalem, 1972, p. 396
  4. "Acco, Ptolemais, Acre". BiblePlaces.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-20. สืบค้นเมื่อ 2008-10-20.
  5. "Archaeology in Israel - Acco (Acre)". Jewishmag.com. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
  6. UNESCO: Old City of Acre[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เมืองเอเคอร์