เอียน สตีเวนสัน
เอียน สตีเวนสัน (Ian Stevenson) | |
---|---|
![]() | |
เกิด | 31 ตุลาคม ค.ศ. 1918 กรุงมอนทรีออล รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา |
เสียชีวิต | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 เมืองชาร์ลอตส์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ | (88 ปี)
พลเมือง | เกิดเป็นคนแคนาดา เปลี่ยนสัญชาติเป็นคนอเมริกันปี 1949 |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ (1937-1939) วิทยาศาสตรบัณฑิต (มหาวิทยาลัยแมคกิลล์ 1942) แพทยศาสตรบัณฑิต (มหาวิทยาลัยแมคกิลล์สาขาแพทยศาสตร์ 1943) |
อาชีพ | จิตแพทย์ ผู้อำนวยการแผนกการศึกษาการรับรู้ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สาขาแพทยศาสตร์ |
มีชื่อเสียงจาก | งานวิจัยเกี่ยวกับการกลับชาติมาเกิด งานศึกษาเกี่ยวกับประสบการณ์ก่อนตาย การบันทึกประวัติแพทยศาสตร์ |
คู่สมรส | ออกทาเวีย เรย์โนลด์ส (แต่ง 1947) มาร์กาเรต เพอร์ตซอฟฟ์ (แต่ง 1985) |
เอียน พรีทีแมน สตีเวนสัน (อังกฤษ: Ian Pretyman Stevenson, 31 ตุลาคม 1918 - 8 กุมภาพันธ์ 2007) เป็นจิตแพทย์ชาวอเมริกันผู้เกิดในแคนาดา เขาทำงานให้กับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียสาขาแพทยศาสตร์เป็นเวลา 50 ปี เป็นหัวหน้าแผนกจิตเวชระหว่างปี 1957-1967 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์จิตเวชคาร์ลสันระหว่างปี 1967-2001 และเป็นศาสตราจารย์จิตเวชด้านวิจัยตั้งแต่ปี 2002 จนสิ้นอายุขัย[1]
เพราะเป็นผู้จัดตั้งและผู้อำนวยการแผนกการศึกษาการรับรู้ (Division of Perceptual Studies) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งตรวจสอบเรื่องเหนือธรรมชาติ (paranormal) เขาจึงกลายเป็นที่รู้จักเพราะได้ตรวจสอบกรณีของคนที่เขาพิจารณาว่า แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด ซึ่งเป็นแนวคิดว่า ความรู้สึก ความจำ และแม้แต่ลักษณะทางร่างกายสามารถถ่ายโอนจากชาติหนึ่งไปสู่อีกชาติหนึ่ง[2] ในการสืบสวนกรณีในประเทศต่าง ๆ เป็นระยะเวลา 40 ปี เขาได้ตรวจสอบกรณีเด็ก 3,000 รายที่อ้างว่า จำชาติก่อน ๆ ได้[3] จุดยืนของเขาคือว่า โรคกลัว โรคใคร่ (philia) ความสามารถแปลก ๆ และความเจ็บป่วยบางอย่าง ไม่สามารถอธิบายได้อย่างสมบูรณ์โดยกรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม เขาเชื่อว่า นอกเหนือจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม การกลับชาติมาเกิดใหม่อาจเป็นปัจจัยที่สาม[4][5]
ในปี 1982 สตีเวนสันช่วยก่อตั้งสมาคมเพื่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ (Society for Scientific Exploration)[A] เป็นนักเขียนบทความราว 300 บทและหนังสือ 14 เล่มเรื่องการกลับชาติมาเกิด รวมทั้ง Twenty Cases Suggestive of Reincarnation (กรณีศึกษา 20 รายที่แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด, 1996) Cases of the Reincarnation Type (กรณีศึกษาประเภทกลับชาติมาเกิด 4 เล่มระหว่างปี 1975-1983) และ European Cases of the Reincarnation Type (กรณีศึกษายุโรปประเภทกลับชาติมาเกิด, 2003) งานใหญ่ที่สุดของเขาเป็นชุดหนังสือสองเล่มมี 2,268 หน้าปี 1997 คือ Reincarnation and Biology: A Contribution to the Etiology of Birthmarks and Birth Defects (การกลับชาติมาเกิดกับชีววิทยา - ผลงานในเรื่องสมุฏฐานของตำหนิผิวและความพิการแต่กำเนิด) ซึ่งรายงานกรณี 200 รายที่ตำหนิผิวและความพิการดูคล้ายแผลของคนตายผู้ที่เด็กสามารถระลึกถึงชีวิตได้ เขาเขียนหนังสือเรื่องเดียวกันที่สั้นกว่า (1997) สำหรับผู้อ่านทั่วไปคือ Where Reincarnation and Biology Intersect (จุดที่การกลับชาติมาเกิดบรรจบกับชีววิทยา)[8]
งานของเขาได้รับการตอบรับอย่างหลายหลาก ในบทความประกาศมรณกรรมของสตีเวนสันในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ นักข่าวได้เขียนว่า ผู้สนับสนุนมองเขาว่าเป็นอัจฉริยะที่คนเข้าใจผิด, นักวิทยาศาสตร์โดยมากมองข้ามงานวิจัยของเขา และผู้กล่าวร้ายมองเขาว่าจริงใจแต่ถูกหลอกง่าย[9] ชีวิตและผลงานของเขากลายเป็นประเด็นของหนังสือเชิงสนับสนุน 3 งาน คือ Old Souls: The Scientific Search for Proof of Past Lives (1999) โดยนักข่าวของเดอะวอชิงตันโพสต์ ทอม ชโรเดอร์, Life Before Life (2005) ของจิตแพทย์และผู้ร่วมงานที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคือจิม ทักเกอร์และ Science, the Self, and Survival after Death (2012) โดยผู้ร่วมงานเอมิลี วิลเลียมส์ เคลลี ส่วนผู้ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะนักปรัชญาชาวอินเดียซี.ที.เค. ชารี (C. T. K. Chari, 1909-1993) และชาวออสเตรีย-อเมริกันพอล เอ็ดวาร์ดส (1923-2004) ได้ยกปัญหาหลายอย่างรวมทั้งข้ออ้างว่าเด็กหรือพ่อแม่ที่สตีเวนสันสัมภาษณ์หลอกเขา ว่าเขาถามคำถามนำเด็ก ว่าเขามักทำงานร่วมกับคนแปลซึ่งเชื่อสิ่งที่ผู้รับสัมภาษณ์กล่าว และว่าข้อสรุปของเขามีความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เพราะกรณีที่ไม่สนับสนุนสมมติฐานของเขาไม่ได้นับว่า เป็นหลักฐานค้าน[10]
พื้นเพ
[แก้]ชีวิตส่วนตัวและการศึกษา
[แก้]สตีเวนสันเกิดในกรุงมอนทรีออลแล้วโตขึ้นในเมืองออตตาวากับพี่น้องอีกสองคน[9] บิดาเขาคือ จอห์น เป็นทนายชาวสก็อตที่ทำงานเป็นผู้สื่อข่าวในแคนาดาสำหรับทั้งหนังสือพิมพ์อังกฤษเดอะไทมส์ และหนังสือพิมพ์อเมริกันเดอะนิวยอร์กไทมส์[11] มารดาของเขาคือ รุท สนใจในเรื่องเทวญาณและมีหนังสือจำนวนมากในประเด็นนี้ ซึ่งสตีเวนสันเองยกว่า ทำให้สนใจเรื่องเหนือธรรมชาติตั้งแต่เด็ก ๆ เมื่อเป็นเด็ก เขามักนอนป่วยเพราะหลอดลมอักเสบ ซึ่งสืบไปถึงวัยผู้ใหญ่ จึงทำให้เขารักอ่านหนังสือตลอดชีวิต[12] ตามผู้ร่วมงานที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคือเคลลี เขาเก็บรายการหนังสือที่ได้อ่านรวมเป็น 3,535 เล่มระหว่างปี 1935-2003[1] เขาศึกษาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ในประเทศสกอตแลนด์ระหว่างปี 1937-1939 แต่ต้องศึกษาจนจบในแคนาดาเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง[13] เขาได้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (B.S.c.) จากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ในปี 1942 และแพทยศาสตรบัณฑิตในปี 1943 และแต่งงานกับออกทาเวีย เรย์โนลด์สตั้งแต่ปี 1947 จนถึงเธอเสียชีวิตในปี 1983[1] ในปี 1985 เขาแต่งงานใหม่กับ ดร. มาร์กาเรต เพอร์ตซอฟฟ์ (1926-2009) ผู้เป็นศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยหญิงแห่งหนึ่ง (Randolph-Macon Woman's College) ในรัฐเวอร์จิเนีย เธอไม่ได้เห็นร่วมกับเขาในเรื่องเหนือธรรมชาติ แต่อดทนแนวคิดของเขาในรูปแบบที่สตีเวนสันเรียกว่า "ความเงียบอย่างมีเมตตา"[14]
อาชีพต้น ๆ
[แก้]หลังจากจบการศึกษา สตีเวนสันทำงานวิจัยในสาขาชีวเคมี เขาเป็น "แพทย์ประจำบ้าน" (residency) ที่ รพ. รอยัลวิกตอเรียในกรุงมอนทรีออล (1944-1945) แต่เพราะปัญหาปอดอย่างต่อเนื่อง อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแมคกิลล์จึงแนะนำให้ย้ายไปอยู่ที่รัฐแอริโซนาเพื่อสุขภาพ[12] เขาจึงไปเป็นแพทย์ประจำบ้านที่ รพ. เซนต์โจเซฟในเมืองฟีนิกซ์ (รัฐแอริโซนา) ระหว่างปี 1945-1946 ต่อจากนั้น เขาก็ได้ตำแหน่งแพทย์ประจำบ้านต่อยอด (fellowship) ทางอายุรศาสตร์ที่มูลนิธิแพทย์แห่งหนึ่ง (Alton Ochsner Medical Foundation) ในเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนา ต่อจากนั้น ได้ตำแหน่ง Denis Fellow in Biochemistry ที่มหาวิทยาลัยทูเลนสาขาแพทยศาสตร์ (1946-1947) แล้วจากนั้นตำแหน่ง Commonwealth Fund Fellow in Medicine ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนลสาขาแพทยศาสตร์และ รพ. นิวยอร์ก (1947-1949)[1] เขาเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนอเมริกันในปี 1949[15]
ผู้ร่วมงานคือเคลลีเขียนว่า สตีเวนสันรู้สึกไม่ชอบใจในคตินิยมลดทอน (reductionism) ที่ได้ประสบในสาขาชีวเคมี จึงต้องการศึกษาบุคคลโดยรวม[1] แล้วกลายมาสนใจเวชศาสตร์กายเหตุจิต (psychosomatic medicine) จิตเวช และจิตวิเคราะห์ โดยในปลายทศวรรษ 1940 เขาได้ทำงานที่ รพ. นิวยอร์กโดยสำรวจโรคกายเหตุจิตและผลของความเครียดโดยเฉพาะว่า ทำไมบางคนตอบสนองเป็นโรคหืด และบางคนเป็นความดันโลหิตสูง[16]
เขาสอนนักศึกษาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตตระหว่างปี 1949-1957 เริ่มจากเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ แล้วก็ศาสตราจารย์ทางจิตเวช ในคริสต์ทศวรรษ 1950 เขาได้พบนักเขียนชาวอังกฤษอัลดัส ฮักซลีย์ (1894-1963) ผู้สนับสนุนให้ใช้สารก่ออาการโรคจิต (psychedelic drug) จึงได้ศึกษาผลของแอลเอสดีและ mescaline โดยเป็นนักวิชาการคนแรก ๆ ที่ได้ทำเช่นนี้ เขาเขียนว่าได้ลองแอลเอสดีเองจนได้ "ความสงบเงียบอย่างสมบูรณ์" ถึง 3 วัน ว่าเขารู้สึกในตอนนั้นว่า "จะไม่โกรธต่อไปอีก" แต่พบว่า "นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น แต่ความจำเกี่ยวกับเรื่องนั้นคงยืนว่าเป็นอะไรที่ควรมุ่งหวัง"[1]
เริ่มจากปี 1951 เขาได้ศึกษาจิตวิเคราะห์ที่สถาบันจิตวิเคราะห์นิวออร์ลีนส์และสถานบันจิตวิเคราะห์วอชิงตัน โดยได้ปริญญาจากสถาบันหลังในปี 1958 ปีหนึ่งหลังจากได้ตำแหน่งเป็นหัวหน้าสาขาจิตเวชที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย[1] เขาท้วงหลักความเชื่อในจิตเวชและจิตวิเคราะห์ในสมัยนั้นว่า บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงในช่วงวัยเด็กได้ง่ายกว่า ผลงานตีพิมพ์ของเขาคือ Is the human personality more plastic in infancy and childhood? (จริงหรือที่บุคลิกภาพมนุษย์เปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าในวัยทารกและวัยเด็ก) ตีพิมพ์ในวารสารจิตเวชอเมริกัน (ปี 1957)[17] ไม่ได้การยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญเยี่ยงกัน เขาเขียนว่า การตอบสนองเช่นนั้นช่วยเตรียมตัวให้เขายอมรับการถูกปฏิเสธที่เขาประสบในผลงานเรื่องเหนือธรรมชาติ[12]
งานวิจัยเรื่องการกลับชาติมาเกิด
[แก้]ความสนใจเบื้องต้น
[แก้]สตีเวนสันได้ระบุความสนใจตลอดอาชีพของเขาว่า ทำไมคนหนึ่งจึงเกิดโรคอย่างหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งกลับได้โรคต่างกัน[16] เขาได้กลายมาเชื่อว่า ทั้งสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์ไม่สามารถอธิบายความกลัว ความเจ็บป่วย และความสามารถพิเศษบางอย่าง และว่า การถ่ายโอนบุคลิกภาพหรือความจำบางประการอาจให้คำอธิบายที่สามได้ แต่ก็ยอมรับว่า ไม่มีหลักฐานทางกระบวนการฟิสิกส์ที่บุคลิกภาพสามารถรอดการเสียชีวิตแล้วถ่ายโอนไปยังอีกร่างหนึ่ง และเขาก็ระมัดระวังไม่ทุ่มตัวอย่างบริบูรณ์ไปที่จุดยืนว่า การกลับชาติมาเกิดใหม่มีจริง ๆ[18] เขาเพียงแต่ให้เหตุผลว่า ตามความคิดของเขา กรณีงานศึกษาของเขาไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งแวดล้อมหรือพันธุกรรม และว่า "การกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นคำอธิบายที่ดีสุดสำหรับกรณีที่ชัดเจนกว่าที่เราตรวจสอบ แม้จะไม่ใช่คำอธิบายเดียว"[19] จุดยืนของเขาไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นสิ่งที่ศาสตราจารย์กิตติคุณทางปรัชญาที่มหาวิทยาลัยจอร์เจียสเตตคือรอเบิร์ต อัลมีเดอร์ เรียกว่า สมมติฐานการกลับชาติมาเกิดแบบน้อยสุด (minimalistic reincarnation hypothesis) อัลมีเดอร์ระบุสมมติฐานนี้ว่า
มีอะไรที่เป็นแก่นของบุคลิกภาพมนุษย์บางอย่าง ซึ่งเราไม่สามารถวิเคราะห์เป็นเพียงแต่เป็นสภาพสมอง หรือลักษณะของสภาพสมอง อนึ่ง หลังจากการตายทางชีวภาพ ลักษณะเป็นแก่นที่ลดทอนไม่ได้นี้บางครั้งคงยืนต่อไปชั่วระยะหนึ่งโดยกระบวนการบางอย่าง ในที่บางที่ และเพราะเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง มีอย่างเป็นอิสระจากสมองและร่างกายของบุคคลเดิม นอกจากนั้น หลังจากช่วงระยะหนึ่ง ลักษณะเป็นแก่นของบุคลิกภาพมนุษย์ที่ลดทอนไม่ได้นี้บางอย่าง เพราะเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และโดยกลไกอย่างหนึ่ง ได้มาอยู่ในร่างกายมนุษย์อื่น ๆ ไม่ว่าจะหลังจากช่วงตั้งครรภ์ระยะหนึ่ง หรือเมื่อเกิด หรือหลังจากเกิดไม่นาน[B]
ในปี 1958 และ 1959 สตีเวนสันได้เขียนบทความหลายบทให้กับนิตยสาร Harper's เกี่ยวกับปรจิตวิทยา (การศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตที่อธิบายไม่ได้) รวมทั้งโรคกายเหตุใจ และการรับรู้นอกเหนือประสาทสัมผัส (extrasensory perception หรือ ESP) และในปี 1958 เขาได้ส่งประกวดบทความที่ชนะรางวัลของ American Society for Psychical Research[C] ซึ่งให้เป็นอนุสรณ์แด่นักจิตวิทยาวิลเลียม เจมส์ (1842-1910) โดยได้รางวัลเรียงความดีสุดในเรื่อง "ปรากฏการณ์ทางจิตเหนือธรรมชาติและความสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องการดำรงอยู่ของบุคลิกภาพมนุษย์หลังจากร่างกายตาย" เรียงความของสตีเวนสันคือ The Evidence for Survival from Claimed Memories of Former Incarnations (หลักฐานสนับสนุนการอยู่รอดของความจำจากชาติที่แล้วดังอ้าง) ในปี 1960 ได้ทบทวนกรณีบุคคลที่ตีพิมพ์ 44 ราย โดยมากเป็นเด็ก ผู้อ้างว่าจำชาติก่อน ๆ ได้ ซึ่งได้ความสนใจจากนักสื่อวิญญาณและนักปรจิตวิทยาไอลีน เจ. การ์เรตต์ (1893-1970) ผู้จัดตั้งมูลนิธิปรจิตวิทยา (Parapsychology Foundation) แล้วได้ให้ทุนแก่สตีเวนสันเพื่อเดินทางไปยังอินเดียและสัมภาษณ์เด็กคนหนึ่งที่อ้างว่าจำชาติก่อน ๆ ได้ ตามผู้ดำเนินรอยตามสตีเวนสันคือแพทย์ทางกุมารจิตเวชจิม ทักเกอร์ สตีเวนสันพบกรณีอื่น ๆ อีก 25 รายภายในระยะ 4 สัปดาห์ในอินเดีย จึงสามารถพิมพ์หนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับประเด็นนี้ในปี 1966 คือ กรณีศึกษา 20 รายที่แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด[20]
ต่อมาเชสเตอร์ คาร์ลสัน (1906-1968) นักประดิษฐ์การถ่ายสำเนาและผู้ร่วมจัดตั้งบริษัทซีร็อกซ์ได้ช่วยเหลือในด้านเงินทุนอีก ทักเกอร์เขียนว่า นี่ทำให้สตีเวนสันสามารถวางตำแหน่งหัวหน้าสาขาจิตเวชแล้วจัดตั้งหน่วยต่างหากในสาขาคือแผนกศึกษาบุคลิกภาพ แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกการศึกษาการรับรู้ (Division of Perceptual Studies)[21] เมื่อคาร์ลสันเสียชีวิตในปี 1968 เขาได้มอบทุนหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ (เท่ากับเงินประมาณ 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 คือประมาณ 236 ล้านบาท) ทิ้งไว้ให้กับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเพื่อต่องานของสตีเวนสัน มรดกนี้สร้างความโต้แย้งภายในสถาบันเพราะธรรมชาติของงานวิจัย แต่สถาบันก็ได้รับเงินไว้ และสตีเวนสันจึงได้ตำแหน่งศาสตราจารย์จิตเวชคาร์ลสัน (Carlson Professor of Psychiatry) เป็นคนแรก[22]
กรณีศึกษา
[แก้]อย่างคร่าว ๆ
[แก้]มรดกที่ว่านี้ทำให้สตีเวนสันสามารถเดินทางไปในที่ต่าง ๆ ได้ บางครั้งถึง 55,000 ไมล์ (88,510 ก.ม.) ต่อปี เก็บข้อมูลกรณีศึกษาถึง 3,000 รายเป็นการสัมภาษณ์กับเด็ก ๆ ตั้งต้นแต่แอฟริกาไปตลอดถึงรัฐอะแลสกา[1] ตามนักข่าวของเดอะวอชิงตันโพสต์ ทอม ชโรเดอร์ "เมื่อสัมภาษณ์พยานและทบทวนดูเอกสาร ดร. สตีเวนสันได้พยายามหาคำอธิบายคำให้การแบบอื่น ๆ เช่นว่าเด็กได้ข้อมูลโดยวิธีปกติบางอย่าง ว่าพยานฉ้อฉลหรือหลงผิด ว่าความสัมพันธ์เกิดโดยบังเอิญหรือเข้าใจผิด แต่ในกรณีจำนวนมาก ดร. สตีเวนสันก็ได้สรุปว่า คำอธิบายธรรมดาไม่พอ"[23]
ในบางกรณี เด็กอาจมีตำหนิวผิวหรือความพิการที่เข้ากับลักษณะบางประการทางกายของบุคคลในชาติก่อนที่เด็กดูเหมือนจะจำได้ ในหนังสือ การกลับชาติมาเกิดกับชีววิทยา - ผลงานในเรื่องสมุฏฐานของตำหนิผิวและความพิการแต่กำเนิด (1997) สตีเวนสันตรวจสอบตำหนิวผิวหรือความพิการของเด็ก 200 รายที่เด็กอ้างว่าจำชาติก่อนได้ รวมทั้งเด็ก ๆ ที่มีนิ้วผิดปกติหรือไม่มี ผู้กล่าวว่าจำชีวิตของคนที่เสียนิ้วไปได้ เด็กชายคนหนึ่งที่มีตำหนิผิวคล้ายกับแผลทางเข้าและทางออกของผู้ที่เด็กกล่าวว่า จำชีวิตของบุคคลที่ถูกยิงได้ และเด็กคนหนึ่งที่มีแผลเป็นรอบ ๆ ศีรษะกว้าง 3 ซม.ผู้กล่าวว่า เธอจำชีวิตของชายที่ได้ผ่าตัดที่กะโหลกศีรษะได้ ในกรณีหลายรายตามความเห็นของสตีเวนสัน การให้การของพยานหรือรายงานการชันสูตรพลิกศพดูเหมือนจะสนับสนุนว่าบุคคลที่ตายไปแล้วจริง ๆ มีการบาดเจ็บดังว่า[20] เช่น ในกรณีของเด็กชายที่จำชีวิตของคนที่ถูกยิงได้ พี่น้องหญิงของคนตายบอกสตีเวนสันว่า พี่น้องชายของเธอยิงตัวเองที่คอ และเด็กได้โชว์สตีเวนสันตำหนิวผิวที่คอ สตีเวนสันแนะว่า เขาอาจมีตำหนิวผิวที่ยอดศีรษะเช่นกันโดยเป็นสัญลักษณ์ของแผลทางออก แล้วก็พบตำหนิผิวใต้ผมของเด็กจริง ๆ[24]
การตอบสนอง
[แก้]
ข้อวิจารณ์
[แก้]วารสารแพทย์ JAMA เรียกบทความกรณีศึกษาประเภทกลับชาติมาเกิด (1975) ของสตีเวนสันว่าเป็นการรวบรวมกรณีศึกษาที่ "อุตสาหะและไม่ได้ใส่อารมณ์"[D] ที่ "ยากจะอธิบายด้วยข้อสมมุติอื่น ๆ นอกเหนือจากการกลับชาติมาเกิด"[25] วารสารโรคประสาทและจิต (Journal of Nervous and Mental Disease) อุทิศวารสารฉบับเดือนกันยายน 1977 โดยมากให้แก่งานวิจัยของสตีเวนสัน[26] ในวารสารฉบับนั้น จิตแพทย์ชาวอเมริกันแฮโรลด์ ลีฟ เรียกสตีเวนสันว่าเป็นผู้ตรวจสอบที่มีระเบียบและรอบคอบแล้วเพิ่มว่า "เขาไม่ก็กำลังทำความผิดพลาดอย่างมโหฬาร หรือไม่เขาก็จะเป็นที่รู้จัก (โดยผมก็กล่าวกับเขาเองเช่นกัน) ว่าเป็น 'กาลิเลโอของคริสต์ศตวรรษที่ 20'"[27] วารสารฉบับนี้ปรากฏว่าเป็นที่นิยม บรรณาธิการของวารสารได้กล่าวว่า เขาได้รับคำขอให้พิมพ์ซ้ำถึง 300-400 ครั้ง[25]
แม้จะได้ความสนใจเช่นนี้ในเบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์โดยมากก็ไม่สนใจงานของเขา ตามบทความประกาศมรณกรรมของเขาในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ผู้กล่าวร้ายเขามองเขาว่า "จริงใจ ดื้อรั้น แต่โดยหลักแล้วก็ถูกชักนำไปในทางที่ผิด หลงผิดไปเพราะถูกหลอกได้ง่าย เพราะการคิดตามความปรารถนา และเพราะความโน้มเอียงในการมองเห็นว่าเป็นวิทยาศาสตร์ในขณะที่คนอื่นมองเป็นไสยศาสตร์"[9] นักวิจารณ์เสนอว่า เด็กหรือพ่อแม่ของเด็กได้หลอกเขา ว่าเขาพร้อมเกินไปที่จะเชื่อ และว่าเขาถามด้วยคำถามชักนำ อนึ่ง นักวิจารณ์กล่าวว่า ผลที่ได้มีความเอนเอียงเพื่อยืนยัน เพราะกรณีที่ไม่สนับสนุนไม่ได้นับว่า เป็นหลักฐานค้าน[10] นักปรัชญาในเรื่องศาสนาผู้หนึ่ง (Leonard Angel) ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ว่า สตีเวนสันไม่ได้ทำตามมาตรฐานที่เหมาะสม "แต่คุณจะต้องตรวจดูอย่างระมัดระวังเพื่อให้เห็น ซึ่งเป็นเหตุผลที่เขาโน้มน้าวบุคคลเป็นจำนวนมากได้"[9]
นักวิมตินิยมได้เขียนว่า หลักฐานของสตีเวนสันเป็นหลักฐานโดยเรื่องเล่า และถ้าใช้หลักมีดโกนอ็อกคัม ก็จะมีข้ออธิบายธรรมดา ๆ สำหรับกรณีเหล่านี้โดยไม่ต้องอ้างเรื่องเหนือธรรมชาติ[28] นักเขียนวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง (Terence Hines) ได้เขียนว่า
ปัญหาหลักในงานของสตีเวนสัน คือ วิธีที่เขาใช้ตรวจสอบกรณีที่ระบุว่ากลับชาติมาเกิดไม่พอกันเหตุผลธรรมดา ๆ ออกว่า เป็นการเล่านิทานอย่างมีจินตนาการในส่วนของเด็ก ๆ ผู้อ้างว่าเป็นคนตายผู้กลับชาติมาเกิด ในกรณีที่ดูเหมือนจะน่าทึ่งที่สุดซึ่งสตีเวนสัน (1975, 1977) ได้รายงาน เด็กผู้บอกว่ากลับชาติมาเกิดรู้จักเพื่อนและญาติของคนตาย แต่ความรู้ของเด็กเกี่ยวกับบุคคลเหล่านี้ก็ไม่ใช่หลักฐานที่สรุปได้ว่าเด็กกลับชาติมาเกิด[29]
ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาผู้หนึ่ง (Robert A. Baker) เขียนว่า ประสบการณ์ที่ระบุว่าเป็นของชาติก่อนหลายกรณีที่สตีเวนสันและนักปรจิตวิทยาอื่น ๆ ได้ตรวจสอบสามารถอธิบายเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาได้ คือ เขายกว่า การระลึกถึงอดีตชาติเป็นความผสมผสานกันระหว่าง cryptomnesia[E] กับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation)[31]
นักเขียนชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง (Ian Wilson) ได้กล่าวว่า กรณีศึกษาจำนวนมากของสตีเวนสันเกี่ยวกับเด็กยากจนที่ระลึกถึงชีวิตที่ร่ำรวยหรืออยู่ในชั้นวรรณะที่สูงกว่า เขาคาดว่า กรณีเช่นนี้อาจเป็นกลเม็ดหาเงินจากครอบครัวของคนตายที่เด็กระบุว่ากลับชาติมาเกิด[32]
นักปรัชญาซี.ที.เค. ชารีแห่งมหาวิทยาลัยมัทราสคริสเตียนคอลเลจแห่งเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย ผู้เชี่ยวชาญทางปรจิตวิทยา ได้เขียนว่า สตีเวนสันซื่อเกินไป และกรณีศึกษาของเขามีปัญหาเพราะเขาไร้ความรู้ทางพื้นเมือง ชารีเขียนว่า กรณีงานศึกษาของเขาหลายรายมาจากสังคมต่าง ๆ เช่นอินเดีย ที่คนเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด และเรื่องเหล่านี้จึงเป็นเพียงสิ่งที่เกิดเนื่องกับวัฒนธรรม (cultural artifact) เขาระบุว่า สำหรับเด็ก ๆ ในประเทศเอเชียหลายประเทศ การระลึกถึงชาติก่อน ๆ เท่ากับการมีเพื่อนจินตนาการ (imaginary friend)[F][34] นักปรัชญาอีกท่าน (Keith Augustine[G]) ก็ให้เหตุผลเช่นกัน[36] สตีเวนสันโต้ว่า เป็นสังคมเหล่านั้นเท่านั้นที่ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับชาติที่แล้วของเด็ก ซึ่งถ้าเป็นคนยุโรปหรือสหรัฐ ผู้ใหญ่ปกติก็จะไม่สนใจและไม่ตรวจสอบโดยประการทั้งปวง[37] เพื่อแก้ปัญหาทางวัฒนธรรมเช่นนี้ เขาได้เขียนบทความกรณีศึกษายุโรปประเภทกลับชาติมาเกิด (2003) ที่เขาตรวจสอบ 40 กรณีในยุโรป[38]
นักปรัชญาพอล เอ็ดวาร์ดส ซึ่งเป็นหัวหน้าบรรณาธิการของสารานุกรมปรัชญา (Encyclopedia of Philosophy) ของสำนักพิมพ์แม็กมิลแลน ได้กลายมาเป็นผู้วิจารณ์สตีเวสันคนหลัก[39] เริ่มตั้งแต่ปี 1986 เขาได้อุทิศบทความหลายบทแก่งานของสตีเวนสัน แล้วได้กล่าวถึงสตีเวนสันในหนังสือปี 1996 คือ Reincarnation: A Critical Examination (การกลับชาติมาเกิด - การตรวจสอบเชิงวิเคราะห์)[40] เขาระบุว่า มุมมองของสตีเวนสันเป็น "เรื่องไร้สาระน่าหัวเราะ" และเมื่อตรวจสอบอย่างละเอียด กรณีศึกษาของเขาก็จะมีข้อบกพร่องใหญ่ และ "ไม่เริ่มแม้แต่เพิ่มน้ำหนักถ่วงอย่างสำคัญเพื่อรับกับข้อสันนิษฐานเบื้องต้นซึ่งต่อต้านการกลับชาติมาเกิด"[41] เขาเขียนว่า สตีเวนสัน "ชัดเจนว่าอยู่ในโลกของความเพ้อฝัน" (cloud-cuckoo-land)[42]
แชมป์ แรนซัมซึ่งสตีเวนสันได้จ้างเป็นผู้ช่วยในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ได้เขียนรายงานที่ไม่ได้พิมพ์เกี่ยวกับงานของสตีเวนสัน ซึ่งเอ็ดวาร์ดสได้อ้างในหนังสือ Immortality (1992) และ Reincarnation (1996) เอ็ดวาร์ดสเขียนว่า ตามแรนซัม สตีเวนสันถามเด็กด้วยคำถามนำ เติมเรื่องเล่าให้เต็ม ไม่สัมภาษณ์โดยใช้เวลาพอ และทิ้งระยะมากเกินไประหว่างจุดที่เด็กอ้างว่าจำชาติก่อนได้กับการสัมภาษณ์ เพราะมักเป็นปี ๆ หลังจากอ้างว่าระลึกชาติได้ที่สตีเวนสันจะได้ยินเรื่อง ในกรณี 1,111 รายที่แรนซัมได้ตรวจดู มีเพียง 11 กรณีเท่านั้นที่ครอบครัวคนตายไม่ได้ติดต่อกับเด็กก่อนจะสัมภาษณ์ ตามแรนซัม กรณี 7 รายจาก 11 กรณีที่ว่ามีข้อบกพร่องอย่างยิ่ง เขายังเขียนด้วยว่า การแสดงกรณีของสตีเวนสันมีปัญหา เพราะเขารายงานข้อสรุปของพยาน แทนที่จะรายงานข้อมูลที่เป็นมูลฐานของข้อสรุป ปัญหาเกี่ยวกับกรณีจะรายงานในอีกส่วนหนึ่งของหนังสือ แทนที่จะกล่าวเลยเมื่อพูดถึงกรณีเหล่านั้น แรนซัมได้สรุปว่า ทั้งหมดนี่เป็นเพียงหลักฐานโดยเรื่องเล่าแบบอ่อนสุด ๆ[43]
ในหนังสือ Death and Personal Survival (1992) อัลมีเดอร์ระบุว่า แรนซัมผิดพลาดเมื่อกล่าวว่ามีกรณีเพียง 11 รายที่ไร้การติดต่อกันระหว่างครอบครัวเช่นที่ว่า เพราะมี 23 ราย[44]
เอ็ดวาร์ดสอ้างกรณีของเด็กชายคอร์ลิสส์ ช็อตกิน จูเนียร์ ในเมืองแองกูน รัฐอะแลสกา ที่สตีเวนสันบันทึกไว้ในหนังสือกรณีศึกษา 20 รายที่แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด (1966) ว่าเป็นตัวอย่างที่อาศัยคำพูดของหลานสาวของวิกเตอร์ วินเซนต์ผู้เป็นชาวประมงเป็นหลักฐานเพียงอย่างเดียว[45] โดนช็อตกินดูเหมือนจะจำชีวิตของวินเซนต์ได้ เอ็ดวาร์ดสเขียนว่า ปัญหาต่าง ๆ ในกรณีนี้รวมทั้งครอบครัวมีความเชื่อทางศาสนาว่ามีการกลับชาติมาเกิด ช็อตกินมีตำหนิผิวที่กล่าวว่าคล้ายกับแผลเป็นของวินเซนต์ แต่สตีเวนสันไม่เคยเห็นแผลเป็นนี้เอง และรายละเอียดสำคัญทั้งหมดได้มาจากหลานสาว เอ็ดวาร์ดสกล่าวว่า สตีเวนสันไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเธอ ยกเว้นว่ามีคนบอกเขาว่า เธอมักจะต่อหรือสร้างเรื่อง เอ็ดวาร์ดสกล่าวว่า ปัญหาคล้าย ๆ กันสามารถพบได้ในกรณีศึกษาของสตีเวนสันทั้งหมด[46] เมื่อกล่าวแก้ให้สตีเวนสัน อัลมีเดอร์เขียนในปี 1997 ว่า กรณีช็อตกินเป็นรายที่มีหลักฐานอ่อนกว่า[47]
เอ็ดวาร์ดสกล่าวหาว่า สตีเวนสันเรียกตนเองว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์แต่ไม่ประพฤติเยี่ยงนักวิทยาศาสตร์ ตามเอ็ดวาร์ดส เขาไม่ตอบสนองต่อหรือแม้แต่กล่าวถึงข้อโต้แย้งที่สำคัญ บรรณานุกรมขนาดใหญ่ในหนังสือ Children Who Remember Previous Lives (1987) ของสตีเวนสันไม่ได้อ้างอิงแม้แต่เอกสารฉบับเดียวหรือหนังสือเล่มเดียวของผู้มีความเห็นตรงกันข้าม[48]
สตีเวนสันเขียนคำนำของหนังสือ Second Time Round (1975) ที่ชาวอังกฤษคนหนึ่งคือเอ็ดวาร์ด ไรออลได้พูดถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าจำได้จากอดีตชาติที่เคยเกิดเป็นจอห์น เฟล็ตเชอร์ ผู้เกิดในเมืองทอนทันปี 1645 ประเทศอังกฤษ แล้วเสียชีวิตอีก 40 ปีต่อมาใกล้ ๆ บ้านของเขาในหมู่บ้านเวสทันซอยแลนด์ มณฑลซัมเมอร์เซต[49][50] สตีเวนสันได้ตรวจสอบกรณีนี้แล้วพบว่า เรื่องทางประวัติศาสตร์จากหนังสือของไรออลทั้งหมดแม่นยำ จึงเขียนไว้ว่า "ผมคิดว่า เป็นไปได้มากว่าเขามีความจำจากอดีตชาติของจริง แล้วจริง ๆ เขาคือ จอห์น เฟล็ตเชอร์ ผู้กลับชาติมาเกิดอีกตามที่เขาเชื่อ"[50] แต่ในปี 1976 แพทย์นักเขียนจอห์น เทย์เลอร์พบว่า โบสถ์เวสทันซอยแลนด์ระหว่างปี 1645-1685 ไม่มีบันทึกการเกิด การแต่งงาน หรือการเสียชีวิตของบุคคลชื่อว่าเฟล็ตเชอร์ เพราะไม่สามารถหาร่องรอยของชื่อนี้ได้ จึงสรุปว่า ไม่มีใครชื่อจอห์น เฟล็ตเชอร์จริง ๆ และความจำดังว่าเป็นเรื่องที่ไรออลได้เพ้อฝันขึ้นเป็นปี ๆ[50] สตีเวนสันภายหลังเปลี่ยนความเห็นของเขาในกรณีนี้ ในหนังสือกรณีศึกษายุโรปประเภทกลับชาติมาเกิด เขาเขียนว่า "ผมไม่เชื่อแล้วว่า ความจำของเอ็ดวาร์ด ไรออลตามที่ปรากฏ 'ทั้งหมด' มาจากอดีตชาติ เพราะรายละเอียดบางอย่างผิดอย่างชัดเจน" แต่เขาก็ยังกล่าวว่า ไรออลได้ข้อมูลเกี่ยวกับมณฑลซัมเมอร์เซตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ด้วยวิธีเหนือธรรมชาติ[51]
การสนับสนุน
[แก้]ในหนังสือ Death and Personal Survival เมื่อสนับสนุนสตีเวนสัน อัลมีเดอร์ระบุการฟันธงล่วงหน้าของเอ็ดวาร์ดส คือการมีจิตโดยไร้สมองช่วงระหว่างชีวิตเป็นไปไม่ได้ และความเป็น "วัตถุนิยมหัวรั้น" บังคับให้เขามองงานของสตีเวนสันว่า ต้องเป็นตัวอย่างการฉ้อฉลหรือความคิดหลงผิด ตามอัลมีเดอร์ ในกรณีที่เอ็ดวาร์ดสได้กล่าวถึง จริง ๆ ได้มีการตรวจสอบว่าเป็นการฉ้อฉลหรือไม่[44] ในบทความที่ติพิมพ์ในเว็บไซต์ Scientific American ปี 2013 ที่ทบทวนงานของสตีเวนสันในเชิงบวก ศาสตราจารย์การสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่งเขียนว่า
ในเบื้องปลายชีวิตอันเป็นตำนานของเธอ นักฟิสิกส์ Doris Kuhlmann-Wilsdorf เจ้าของทฤษฎีใหม่เรื่องฟิสิกส์พื้นผิวซึ่งทำให้เธอได้รางวัลอันทรงเกียรติคือ Heyn Medal จากสมาคมเยอรมันเพื่อวัสดุศาสตร์ ได้คาดว่า งานของสตีเวนสันได้แสดง "ความเป็นไปได้ทางสถิติว่าการกลับชาติมาเกิดมีจริง สูงอย่างท่วมท้น...กระทั่งว่า รวม ๆ กันแล้ว หลักฐานไม่ได้แย่ไปกว่าสาขาวิทยาศาสตร์เกือบทุกสาขาถ้าไม่ทั้งหมด"[52]
จิตวิทยาภาษาศาสตร์
[แก้]แม้สตีเวนสันโดยมากจะเล็งกรณีเด็กที่จำอดีตชาติได้ แต่เขาก็ศึกษากรณีสองรายที่ผู้ใหญ่ใต้การสะกดจิตดูเหมือนจะจำอดีตชาติและสามารถใช้ภาษาขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้เรียนรู้ในชาตินี้ ซึ่งเขาจัดปรากฏการณ์นี้ว่า เซโนโกลสซี (xenoglossy)[H][53] นักภาษาศาสตร์ซาราห์ โทมาสัน (Sarah Thomason) เมื่อวิจารณ์กรณีเหล่านี้ เขียนว่าสตีเวนสัน "ไม่ชำนาญด้านภาษา" และกรณีเหล่านี้ไม่น่าเชื่อ[54][55] โทมาสันสรุปว่า "หลักฐานทางภาษาศาสตร์อ่อนเกินไปที่จะสนับสนุนข้ออ้างว่ามีเซโนโกลสซี"[56] ส่วนนักภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโทรอนโต วิลเลียม ซามารินเขียนว่า สตีเวนสันเขียนจดหมายโต้ตอบกับนักภาษาศาสตร์โดยเลือกเอาแต่ที่ชอบและไม่สมเป็นมืออาชีพ เช่น ได้เขียน จ.ม. โต้ตอบกับนักภาษาศาสตร์คนหนึ่งเป็นเวลา 6 ปี "โดยไม่เคยสนทนาเรื่องสิ่งที่นักภาษาศาสตร์ต้องทราบ"[57] นักภาษาศาสตร์อีกผู้หนึ่งคือวิลเลียม ฟรอว์ลีย์เขียนว่า "สตีเวนสันไม่ได้พิจารณาหลักฐานทางภาษาศาสตร์ในกรณีเหล่านี้พอให้อ้างเหตุผลเหนือธรรมชาติ"[58]
การเกษียณ การเสียชีวิต และการทดลอง
[แก้]
สตีเวนสันได้ลาจากตำแหน่งผู้อำนวยการแผนกการศึกษาการรับรู้ในปี 2002 แม้จะดำรงตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์จิตเวชด้านวิจัย[21] ศาสตราจารย์บรูซ เกรย์สัน ผู้เป็นบรรณาธิการของ Journal of Near-Death Studies (วารสารงานศึกษาประสบการณ์เกือบตาย) เป็นผู้ได้ตำแหน่งแทน ส่วนรองศาสตราจารย์ทางจิตเวชและวิทยาศาสตร์ประสาทและพฤติกรรม (ในเวลานั้น) คือ จิม ทักเกอร์ ได้สืบต่องานวิจัยในเด็กของสตีเวนสัน ดังที่เขียนไว้ในหนังสือของเขาคือ Life Before Life: A Scientific Investigation of Children's Memories of Previous Lives (ชีวิตก่อนชีวิตนี้ - การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความจำเด็กในอดีตชาติ, 2005)[59]
สตีเวนสันเสียชีวิตเพราะปอดบวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 ที่บ้านของเขาในเมืองชาร์ลอตส์วิลล์ รัฐเวอร์จิเนีย ในพินัยกรรม เขาได้มอบทุนสำหรับตำแหน่งศาสตราจารย์สตีเวนสัน (Stevenson Chair) ในสาขาปรัชญาและประวัติวิทยาศาสตร์รวมทั้งแพทยศาสตร์ให้กับแผนกการศึกษาแพทยศาสตร์ทางสังคมของมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ (McGill University Department of Social Studies of Medicine) ผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ตั้งขึ้นได้แก่ ศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม แอนน์แมรี อะดัมส์
เพื่อเป็นการทดสอบการรอดทางบุคลิกภาพหลังจากเสียชีวิต ในคริสต์ทศวรรษ 1960 สตีเวนสันได้ตั้งรหัสกุญแจรหัสโดยใช้คำลับหรือวลีลับ แล้วเก็บกุญแจไว้ในตู้เก็บเอกสารของแผนกที่มหาวิทยาลัย แล้วบอกว่าเขาจะพยายามส่งรหัสที่ว่านั้นให้กับเพื่อนร่วมงานหลังจากเสียชีวิต เอมิลี วิลเลียมส์ เคลลีให้สัมภาษณ์กับเดอะนิวยอร์กไทมส์ในปี 2007 ว่า "น่าจะเป็นอย่างนี้ว่า ถ้าใครฝันอย่างชัดเจนถึงเขา แล้วดูเหมือนจะมีคำหรือวลีที่ให้อย่างซ้ำ ๆ คือดิฉันไม่รู้ว่ามันจะเป็นเช่นไรอย่างแน่นอน แต่ถ้ามันดูเหมือนจะมีหวังพอ พวกเราจะพยายามไขกุญแจด้วยรหัสที่ให้"[9] นิตยสารออนไลน์สหรัฐเดอร์มอร์นิงนิวส์ รายงานในเดือนตุลาคม 2014 ว่า ยังไขกุญแจที่ว่านี่ไม่ได้[60]
ผลงาน
[แก้]- หนังสือ
- (1960). Medical History-Taking. Paul B. Hoeber.
- (1966). Twenty Cases Suggestive of Reincarnation. University of Virginia Press.
- (1969). The Psychiatric Examination. Little, Brown.
- (1970). Telepathic Impressions: A Review and Report of 35 New Cases. University Press of Virginia.
- (1971). The Diagnostic Interview (2nd revised edition of Medical History-Taking). Harper & Row.
- (1974). Twenty Cases Suggestive of Reincarnation (second revised and enlarged edition). University of Virginia Press.
- (1974). Xenoglossy: A Review and Report of A Case. University of Virginia Press.
- (1975). Cases of the Reincarnation Type, Vol. I: Ten Cases in India. University of Virginia Press.
- (1978). Cases of the Reincarnation Type, Vol. II: Ten Cases in Sri Lanka. University of Virginia Press.
- (1980). Cases of the Reincarnation Type, Vol. III: Twelve Cases in Lebanon and Turkey. University of Virginia Press.
- (1983). Cases of the Reincarnation Type, Vol. IV: Twelve Cases in Thailand and Burma. University of Virginia Press.
- (1984). Unlearned Language: New Studies in Xenoglossy. University of Virginia Press.
- (1997). Reincarnation and Biology: A Contribution to the Etiology of Birthmarks and Birth Defects. Volume 1: Birthmarks. Volume 2: Birth Defects and Other Anomalies. Praeger Publishers.
- (1997). Where Reincarnation and Biology Intersect. Praeger Publishers (a short, non-technical version of Reincarnation and Biology).
- (2000). Children Who Remember Previous Lives: A Question of Reincarnation (revised edition).
- (2003). European Cases of the Reincarnation Type. McFarland & Company.
- (2019). Handbook of Psychiatry volume Five[61]
- บทความคัดสรร
- (1949). "Why medicine is not a science", Harper's, April.
- (1952). "Illness from the inside", Harper's, March.
- (1952). "Why people change", Harper's, December.
- (1954). "Psychosomatic medicine, Part I", Harper's, July.
- (1954). "Psychosomatic medicine, Part II", Harper's, August.
- (1957). "Tranquilizers and the mind", Harper's, July.
- (1957). "Schizophrenia", Harper's, August.
- (1957). "Is the human personality more plastic in infancy and childhood?", American Journal of Psychiatry, 114(2), pp. 152-161.
- (1958). "Scientists with half-closed minds" Harper's, November.
- (1959). "A Proposal for Studying Rapport which Increases Extrasensory Perception," Journal of the American Society for Psychical Research, 53, pp. 66-68.
- (1959). "The Uncomfortable Facts about Extrasensory Perception", Harper's, July.
- (1960). "The Evidence for Survival from Claimed Memories of Former Incarnations," Journal of the American Society for Psychical Research, 54, pp. 51-71.
- (1960). "The Evidence for Survival from Claimed Memories of Former Incarnations": Part II. Analysis of the Data and Suggestions for Further Investigations, Journal of the American Society for Psychical Research, 54, pp. 95-117.
- (1961). "An Example Illustrating the Criteria and Characteristics of Precognitive Dreams," Journal of the American Society for Psychical Research, 55, pp. 98-103.
- (1964)."The Blue Orchid of Table Mountain," Journal of the Society for Psychical Research, 42, pp.401-409.
- (1968)."The Combination Lock Test for Survival," Journal of the American Society for Psychical Research, 62, pp.246-254.
- (1970)."Characteristics of Cases of the Reincarnation Type in Turkey and their Comparison with Cases in Two other Cultures," International Journal of Comparative Sociology, 11, pp.1-17.
- (1970)."A Communicator Unknown to Medium and Sitters," Journal of the American Society for Psychical Research, 64, pp.53-65.
- (1970). "Precognition of Disasters," Journal of the American Society for Psychical Research, 64, pp.187-210.
- (1971)."The Substantiability of Spontaneous cases," Proceedings of the Parapsychological Association, No.5, pp.91-128.
- (1972)."Are Poltergeists Living or Are They Dead?," Journal of the American Society for Psychical Research, 66, pp.233-252.
- (1977). Stevenson, IAN (May 1977). "The Explanatory Value of the Idea of Reincarnation". The Journal of Nervous and Mental Disease. 164 (5): 305–326. doi:10.1097/00005053-197705000-00002. PMID 864444.
- (1983). Stevenson, I. (Dec 1983). "American children who claim to remember previous lives". The Journal of Nervous and Mental Disease. 171 (12): 742–748. doi:10.1097/00005053-198312000-00006. PMID 6644283.
- (1986). Stevenson, I. (1986). "Characteristics of Cases of the Reincarnation Type among the Igbo of Nigeria". Journal of Asian and African Studies. 21 (3–4): 204–216. doi:10.1177/002190968602100305. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-01.
- (1993). "Birthmarks and Birth Defects Corresponding to Wounds on Deceased Persons" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 7 (4): 403–410. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-07.
- with Emily Williams Cook and Bruce Greyson (1998). "Do Any Near-Death Experiences Provide Evidence for the Survival of Human Personality after Relevant Features and Illustrative Case Reports" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 12 (3): 377–406. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02.
- (1999). Stevenson, I. (Apr 1999). "Past lives of twins". Lancet. 353 (9161): 1359–1360. doi:10.1016/S0140-6736(05)74353-1. PMID 10218554.
- (2000). Stevenson, I. (Apr 2000). "The phenomenon of claimed memories of previous lives: possible interpretations and importance". Medical Hypotheses. 54 (4): 652–659. doi:10.1054/mehy.1999.0920. PMID 10859660.
- (2000). Stevenson, I. (1985). "The Belief in Reincarnation Among the Igbo of Nigeria". Journal of Asian and African Studies. 20 (1–2): 13–30. doi:10.1177/002190968502000102. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-04.
- (2001). Stevenson, I. (August 2001). "Ropelike birthmarks on children who claim to remember past lives". Psychological Reports. 89 (1): 142–144. doi:10.2466/pr0.2001.89.1.142. PMID 11729534.
- with Satwant K. Pasricha; Jürgen Keil; and Jim B. Tucker (2005). "Some Bodily Malformations Attributed to Previous Lives" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 19 (3): 159–183. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-08.
- (2005).Foreword and afterword in Mary Rose Barrington and Zofia Weaver.A World in a Grain of Sand: The Clairvoyance of Stefan Ossowiecki.McFarland Press.
- งานของสตีเวนสันจำนวนมากหาได้ออนไลน์ที่ลิงก์นี้ Link
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ สมาคมเพื่อการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ (Society for Scientific Exploration ตัวย่อ SSE) เป็นกลุ่มที่มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์นอกแบบ (fringe science)[6] ความเห็นขององค์กรว่าอะไร/แค่ไหนเป็นการสำรวจทางวิทยาศาสตร์มักจะไม่ตรงกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป[7] ผู้ไม่เห็นด้วยอ้างว่า องค์กรอุทิศให้กับไอเดียที่ไม่น่าเชื่อถือ ไกลจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลัก[7]
- ↑ เมื่อโต้ข้อวิจารณ์ของพอล เอ็ดวาร์ดสว่า ไอเดียเกี่ยวกับ "ร่างจิตวิญญาณ" (astral body) ที่มีในระหว่างชีวิตเป็นเรื่องเหลือเชื่อ คือโต้ว่า "แม้เมื่อไม่ถกปัญหาเกี่ยวกับกรณีศึกษา (ของสตีเวนสัน) เราก็ยังไม่สามารถอ้างว่า เรา 'รู้' จิตว่า ไม่อาจมีเมื่อไร้สมอง เราไม่รู้อะไรเช่นนั้น... อนึ่ง ข้อตั้งว่ามีการกลับชาติมาเกิด ไม่ได้แสดงนัยถึงธรรมชาติของ 'ร่างจิตวิญญาณ' ว่าไปที่ใดในระหว่างการเกิด ว่ากลับมาเกิดได้อย่างไร ทำไมถึงกลับมาเกิด กลับมาเกิดบ่อยแค่ไหน ว่ามีบุคคลไหนไหมที่กลับมาเกิด และจุดประสงค์ของทั้งหมดนี่คืออะไร จริง ๆ แล้ว ตามกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องกล่าวถึงคำว่า 'ร่างจิตวิญญาณ' ข้อตั้งเแสดงนัยแต่เพียงว่า มีธาตุอันเป็นแก่นของบุคลิกภาพมนุษย์ที่บางครั้งรอดกาารเน่าเปื่อยของร่างกาย (และดังนั้น จึงไม่สามารถระบุว่าเป็นอันเดียวกันกับร่างกาย) แล้วกลับชาติมาเกิดอีก"
ดู
- Almeder (1997), p. 502
- Almeder (1992), pp. 35
- ↑ American Society for Psychical Research (ASPR) เป็นองค์กรอุทิศให้กับปรจิตวิทยา (การศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตที่อธิบายไม่ได้) ในนครนิวยอร์ก โดยมีทั้งสำนักงานและห้องสมุด
- ↑ painstaking and unemotional
- ↑ cryptomnesia เกิดเมื่อความจำที่ได้ลืมไปแล้วหวนกลับมาโดยไม่รู้ว่าเป็นเรื่องที่เคยรู้แล้วลืมไปแล้ว ทำให้เชื่อว่าเป็นความจำใหม่และดั้งเดิม เป็นความเอนเอียงทางความจำที่บุคคลอาจระลึกผิด ๆ ว่าได้สร้างความคิด แนวคิด ทำนองเพลง หรือเรื่องตลกใหม่[30] ไม่ได้ตั้งใจลอกเลียนงานของคนอื่น แต่เป็นการระลึกถึงความจำเหมือนเป็นเรื่องใหม่
- ↑ เพื่อนจินตนาการ (imaginary friend, pretend friend, invisible friend) เป็นปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาและสังคมที่มิตรสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ส่วนตัวอื่น ๆ เกิดในจินตนาการ ไม่ได้มีจริง ๆ แม้ดูเหมือนว่าจะจริงสำหรับผู้ที่มี แต่เด็ก ๆ ปกติก็เข้าใจว่า เพื่อนจินตนาการไม่ได้มีจริง[33]
- ↑ Keith Augustine เป็นกรรมการบริหารและหัวหน้าบรรณาธิการของเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตอินฟิเด็ลส์ (Internet Infidels) ซึ่งไม่หวังผลกำไรและก่อตั้งขึ้นเพื่อโปรโหมตมุมมองว่าพลังหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ/ไสยศาสตร์ไม่มีจริง ๆ คติอย่างหนึ่งขององค์กรก็คือ "เหตุผลหยดหนึ่งในสระแห่งความสับสน" (a drop of reason in a pool of confusion)[35]
- ↑ เซโนโกลสซี (อังกฤษ: xenoglossy, xenoglossia, xenolalia) เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติตามความเชื่อที่บุคคลสามารถพูดหรือเขียนภาษาหนึ่ง ๆ ที่ตนไม่อาจรู้ได้โดยวิธีธรรมชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 "Ian P. Stevenson, M.D., died February 8, 2007 in Charlottesville, Virginia, at age 88" (PDF). University of Virginia School of Medicine. 2019-03-26. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ Tanne (2007), Section, pp. 1-2.
- ↑
- Woodhouse (1996), pp. 143-144
- Bache & Grof (2000), p. 34ff
- ดูเว็บไซต์นี้ด้วย "Professor Ian Stevenson". The Daily Telegraph. 2007-02-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-31. สืบค้นเมื่อ 2007-02-16.
- ↑ Stevenson, I (2000). "The phenomenon of claimed memories of previous lives: Possible interpretations and importance". Medical Hypotheses. 54 (4): 652–9. doi:10.1054/mehy.1999.0920. PMID 10859660.
- ↑ Stevenson, I (1977). "The explanatory value of the idea of reincarnation". The Journal of Nervous and Mental Disease. 164 (5): 305–26. doi:10.1097/00005053-197705000-00002. PMID 864444.
- ↑ "Science on the Fringe". Time magazine. 2005-05-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-16.
- ↑ 7.0 7.1 Sheaffer, Robert (September–October 1998). "Uncritical Publicity for Supposed 'Independent UFO Investigation' Demonstrates Media Gullibility". Skeptical Inquirer, 22.5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-18.
{{cite web}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ ดูการอยู่ในคณะจัดตั้ง Society for Scientific Exploration ดู Stevenson (2006), pp. 19
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 Fox (2007)
- ↑ 10.0 10.1 Carroll (2009)
- ↑
- สำหรับการทำงานให้กับเดอะไทมส์ ดู Fox (2007)
- สำหรับการทำงานให้กับเดอะนิวยอร์กไทมส์ ดู Pandarakalam (2007)
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Stevenson (2006), pp. 13–14
- ↑ Pandarakalam (2007)
- ↑ Stevenson (2006), pp. 20 "benevolent silences."
- ↑ Debus (1968), pp. 1609
- ↑ 16.0 16.1 "Stevenson 1989" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Stevenson (1957), pp. 152–161
- ↑
- เรื่องการไม่สามารถแสดงกลไกทางฟิสิกส์ของเขาดู Shroder (2007)
- เรื่องการระมัดระวังไม่ทุ่มตัวอย่างบริบูรณ์ไปที่จุดยืนหนึ่ง ๆ ดู Almeder (1992), pp. [https://books.google.com/books?id=K8-_Vqq6r-cC&pg=PA58 58-61
- ↑ Tucker (2005), pp. [https://books.google.com/books?id=JuiGUbZTNTQCpg=PA211 211
- ↑ 20.0 20.1
สำหรับงานของสตีเวนสันใน Harper's ดู
- Stevenson (2006), pp. 13
- "Ian Stevenson", Harper's.
- "Children Who Claim to Remember Previous Lives: Past, Present, and Future Research" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 21 (3): 543–552. 2007. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-07.
- ↑ 21.0 21.1 University of Virginia, Division of Perceptual Studies (1994)
- ↑ Stevenson, Ian (2006). "Half a Career with the Paranormal" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 20 (1): 17–18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-07-21.
- ↑ Shroder (2007)
- ↑ Kelly; Kelly (2007). "p. 234, citing Stevenson". Reincarnation and Biology. 1: 728–745.
- ↑ 25.0 25.1 Edwards 1996, p. 253.
- ↑ Brody, September 1977.
- ↑ Lief, September 1977.
- ↑ Rockley, Richard. (2002). "Book Review: Children who Remember Previous Lives" เก็บถาวร 2009-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. SkepticReport. Retrieved 2014-10-11.
- ↑ Hines 2003, p. 109.
- ↑ Taylor, F.K. (1965). "Cryptomnesia and plagiarism". British Journal of Psychiatry. 111: 1111–1118.
- ↑ Baker, Robert (1996). Hidden Memories: Voices and Visions from Within. Prometheus Books.
- ↑ Wilson, Ian (1981). Mind Out of Time: Reincarnation Investigated. Gollancz.
- ↑ Taylor, M (1999). Imaginary Companions and the Children Who Create Them. New York: Oxford University Press.
- ↑ C.T.K. Chari, "Reincarnation Research: Method and Interpretation," cited in Edwards 1996, p. 261.
- Also see Ian Stevenson (1986), "Reply to C.T.K. Chari," Journal of the Society for Psychical Research, 53, pp. 474–475.
- ↑ Starobin, Paul (2009-10-07). "Rise of the Godless". National Journal.
- ↑ Augustine, Keith (1997). "The Case Against Immortality". Skeptic Magazine. 5 (2). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-20.
- ↑ "The Daily Telegraph, February 12, 2007". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-31. สืบค้นเมื่อ 2007-02-16..
- ↑ Cadoret 2005.
- ↑ สำหรับความว่า เอ็ดวาร์ดสเป็น "นักวิจารณ์ที่น่าเกรงขามที่สุด" ของสตีเวนสัน ดู Bache 2000, p. 35.
- ↑ Paul Edwards (1986), "The Case Against Reincarnation: Part 1," Free Inquiry, 6, Fall, pp. 24–34.
- ____________ (1986/7), "The Case Against Reincarnation: Part 2," Free Inquiry, 7, Winter, pp. 38–43.
- ____________ (1987a), "The Case Against Reincarnation: Part 3," Free Inquiry, 7, Spring, pp. 38–49.
- ____________ (1987b), "The Case Against Reincarnation: Part 4," Free Inquiry, 7, Summer, pp. 46–53.
- ____________ (ed.) (1992), "Introduction," Immortality. MacMillan.
- ____________ (1996), Reincarnation: A Critical Examination. Prometheus Books.
- ↑ Edwards 1996, pp. 140, 256 (see chapter 16, pp. 253–278).
- ↑ Edwards 1996, p. 268.
- ↑ Edwards 1992, pp. 13–14; Edwards 1996, p. 275; McClelland 2010, p. 144.
- ↑ 44.0 44.1 Almeder 1992, pp. 34ff, 60.
- ↑ Stevenson 1966, p. 259ff.
- ↑ Edwards 1996, pp. 136–138; Stevenson 1966, pp. 259–269.
- ↑ Almeder 1997 เก็บถาวร 2009-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, pp. 510, 519.
- Also see Woodhouse 1996, p. 144: "[The paradigm war over reincarnation] has pitted Robert Almeder, a nationally distinguished philosopher of science, against Paul Edwards, general editor of the Encyclopedia of Philosophy."
- ↑ Edwards 1992, p. 11.
- ↑ Ian Stevenson. (1974). Introduction in Edward Ryall. Second Time Round. Neville Spearman. pp. 9–31
- ↑ 50.0 50.1 50.2 John Taylor. (1980). Science and the Supernatural: An Investigation of Paranormal Phenomena Including Psychic Healing, Clairvoyance, Telepathy, and Precognition by a Distinguished Physicist and Mathematician. Temple Smith. pp. 127-130. ISBN 0-85117-191-5
- ↑ Ian Stevenson. (2003). European Cases of the Reincarnation Type. McFarland. pp. 230-231. ISBN 978-0-7864-4249-2
- ↑ Bering, Jesse. "Ian Stevenson's Case for the Afterlife: Are We 'Skeptics' Really Just Cynics?". Scientific American Blog Network (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-03. สืบค้นเมื่อ 2017-03-12.
- ↑ Matlock, James G. "Ian Stevenson." http://jamesgmatlock.net/resources/researchers/stevenson/ The term was coined in the early 1900s by C. Richet. https://med.virginia.edu/perceptual-studies/wp-content/uploads/sites/267/2015/11/STE7.pdf เก็บถาวร 2019-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Sarah Thomason. (1984). Do You Remember Your Previous Life’s Language in Your Present Incarnation?. American Speech 59: 340-350.
- ↑ Sarah Thomason. (1986-87). Past Tongues Remembered?. Skeptical Inquirer 11: 367-75.
- ↑ Sarah Thomason. Xenoglossy in Gordon Stein. (1996). The Encyclopedia of the Paranormal. Prometheus Books. ISBN 1-57392-021-5
- ↑ Samarin, William J (1976). "Xenoglossy: A Review and Report of a Case by Ian Stevenson". Language. 52 (1): 270–274. doi:10.2307/413229. JSTOR 413229.
- ↑ Frawley, William (1985). "Unlearned Language: New Studies in Xenoglossy by Ian Stevenson". Language. 61 (3): 739. doi:10.2307/414443. JSTOR 414443.
- ↑ 59.0 59.1 "Division Staff". Division of Perceptual Studies, University of Virginia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-12-23. สืบค้นเมื่อ 2016-09-01.
- ↑ Fitzgerald, Brendan (2014-10-09). "The Combination Lock Test". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Nurbakhsh, Javad; Stevenson, Ian; Jahangiri, Hamideh (2019). Handbook of Psychiatry Volume 5. Lap Lambert. ISBN 978-620-0-31642-4.
บรรณานุกรม
[แก้]- Almeder, Robert (1992). Death and Personal Survival: The Evidence for Life After Death. Rowman and Littlefield.
- Almeder, Robert (1997). "A Critique of Arguments Offered Against Reincarnation" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 11 (4): 499–526. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
- Bache, Christopher (2000). Dark Night, Early Dawn: Steps to a Deep Ecology of Mind. State University of New York Press.
- Brody, Eugene B. (1977). "Research in Reincarnation and Editorial Responsibility: An Editorial", The Journal of Nervous and Mental Disease, 165(3), September.
- Cadoret, Remi J. (2005). "Review of European Cases of the Reincarnation Type", American Journal of Psychiatry, 162(4), April.
- Carroll, Robert T. (July 7, 2009). "Ian Stevenson (1918-2007)", The Skeptic's Dictionary.
- The Daily Telegraph (February 12, 2007)."Professor Ian Stevenson". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-31. สืบค้นเมื่อ 2007-02-16. (obituary).
- Debus, Allen G. (1968). World Who's Who in Science. Marquis-Who's Who.
- Edwards, Paul (1992). "Introduction" and "The Dependence of Consciousness on the Brain," in Paul Edwards (ed.). Immortality. Prometheus Books.
- Edwards, Paul (1996). Reincarnation: A Critical Examination. Prometheus Books.
- Fox, Margalit (February 18, 2007). "Ian Stevenson Dies at 88; Studied Claims of Past Lives", The New York Times.
- Hines Terence (2003). Pseudoscience and the Paranormal. Prometheus Books. ISBN 1-57392-979-4
- Hopkins Tanne, Janice (April 2, 2007). "Obituaries: Ian Pretyman Stevenson", British Medical Journal.
- Kelly, Emily Williams (2007). "Ian P. Stevenson" เก็บถาวร 2013-05-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, University of Virginia School of Medicine, February (obituary).
- Kelly, Edward F. and Kelly, Emily Williams (2007). Irreducible Mind: Toward a Psychology for the 21st Century. Rowman & Littlefield.
- Lester, David (2005). Is There Life After Death? An Examination of the Empirical Evidence. McFarland. ISBN 978-0786421169
- Lief, Harold (1977). "Commentary on Ian Stevenson’s 'The Evidence of Man’s Survival After Death'", The Journal of Nervous and Mental Disease, 165(3), September.
- McClelland, Norman C. (2010). Encyclopedia of Reincarnation and Karma. McFarland.
- Pandarakalam, James Paul (April 2, 2007). "Professor Ian Stevenson, an emperor in parapsychology", British Medical Journal (obituary).
- Shroder, Tom (February 11, 2007). "Ian Stevenson; Sought To Document Memories Of Past Lives in Children", The Washington Post (obituary).
- Stevenson, Ian (1957). "Is the human personality more plastic in infancy and childhood?". American Journal of Psychiatry. 114 (2): 152–161. doi:10.1176/ajp.114.2.152. PMID 13444481.
- Stevenson, Ian (1966). Twenty Cases Suggestive of Reincarnation. University of Virginia Press.
- Stevenson, Ian (1977). "The explanatory value of the idea of reincarnation". The Journal of Nervous and Mental Disease. 164 (5): 305–326. doi:10.1097/00005053-197705000-00002. PMID 864444. S2CID 30398311.
- Stevenson, Ian (1989)."Some of my journeys in medicine" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), The Flora Levy Lecture in the Humanities. - Stevenson, Ian (1992). "Birthmarks and Birth Defects Corresponding to Wounds on Deceased Persons" เก็บถาวร 2017-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, paper presented at the Eleventh Annual Meeting of the Society for Scientific Exploration, Princeton University, June 11–13.
- Stevenson, Ian (2000). "The phenomenon of claimed memories of previous lives: possible interpretations and importance". Medical Hypotheses. 54 (4): 652–659. doi:10.1054/mehy.1999.0920. PMID 10859660. S2CID 15947669.
- Stevenson, Ian (2006)."Half A Career With the Paranormal" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-10-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Journal of Scientific Exploration, 20(1). - Tucker, Jim B. (2007). "Children Who Claim to Remember Previous Lives: Past, Present and Future Research" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 21 (3): 543–552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-07. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- Tucker, Jim B. (2005). Life Before Life: A Scientific Investigation of Children's Memories of Previous Lives. St. Martin's Press.
- University of Virginia (undated)."Ian Stevenson, MD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2007-02-21.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), School of Medicine. - University of Virginia (undated)."Division Staff". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์), Division of Perceptual Studies, School of Medicine. - University of Virginia (undated). "History and description" เก็บถาวร 2010-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Division of Perceptual Studies, School of Medicine.
- Woodhouse, Mark (1996). Paradigm Wars: Worldviews for a New Age. Frog Books.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอียน สตีเวนสัน/การกลับชาติมาเกิด
- Almeder, Robert (2000). "Reincarnation Evidence: Stevenson's Research" ที่ยูทูบ, interview with Robert Almeder, professor of philosophy at Georgia State University (video).
- Moallem, Ehsan (2014). "Spirituality Scientific Evidence - Reincarnation (Part 4) (6 of 6)" ที่ยูทูบ, presentation of Ian Stevenson's work by Ehsan Moallem (video)
- Almeder, Robert (1988). "Response to 'Past Tongues Remembered'," Skeptical Inquirer, 12, Spring.
- Almeder, Robert (1987). Beyond Death. Charles C. Thomas.
- Alvarado, Carlos S. "Ian Stevenson, Selected Bibliography" เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Parapsychological Association.
- Edelmann, Jonathan; Bernet, William. "Setting Criteria for Ideal Reincarnation Research" (PDF). Journal of Consciousness Studies. 14 (12): 92. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-07-28.
- Edwards, Paul (1986). "The Case Against Reincarnation: Part 1," Free Inquiry, 6, Fall, pp. 24–34.
- Edwards, Paul (1986/7). "The Case Against Reincarnation: Part 2," Free Inquiry, 7, Winter, pp. 38–43.
- Edwards, Paul (1987a). "The Case Against Reincarnation: Part 3," Free Inquiry, 7, Spring, pp. 38–49.
- Edwards, Paul (1987b). "The Case Against Reincarnation: Part 4," Free Inquiry, 7, Summer, pp. 46–53.
- Griffin, David Ray (1997). Parapsychology, Philosophy, and Spirituality: A Postmodern Exploration. SUNY Press (particularly chapter 6, "Evidence from Cases of the Reincarnation Type").
- Hales, Steven (2001a). "Evidence and the afterlife" (PDF). Philosophia. 28 (1–4): 335–346. doi:10.1007/bf02379784. S2CID 170384277.
- Almeder, Robert (2001). "On reincarnation: A reply to Hales", Philosophia.
- Hales, Steven (2001b). "Reincarnation redux," Philosophia, 28(1–4): 359–367.
- Irwin, Harvey J. (2004). An Introduction to Parapsychology. McFarland.
- Martin, Raymond (1994). "Survival of Bodily Death: A Question of Values", in John Donnelly (ed.) Language, Metaphysics, and Death. Fordham University Press.
- Rockley, Richard (1 November 2002). "Book Review: Children who remember previous lives, A question of reincarnation, Ian Stevenson", Skeptic Report.
- Spence, Lewis (2003). "Stevenson, Ian", Encyclopedia of Occultism and Parapsychology. Kessinger Publishing.
- Stanford, Rex (2008). "Ian Stevenson: A Man from Whom We Should Learn" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 22 (1): 120–124. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-08-06. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- Tucker, Jim B. (2008). "Ian Stevenson and Cases of the Reincarnation Type" (PDF). Journal of Scientific Exploration. 22 (1): 36–43. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2020-09-29.
- Wilson, Ian (1981). Mind Out of Time?: Reincarnation Claims Investigated. Orion Books Limited.
- Wilson, Ian (1988). "Review of Children Who Remember Previous Lives by Ian Stevenson". Journal of the Society for Psychical Research. 55: 227–229.
- จิต
- Almeder, Robert (2011). "The Major Objections from Reductive Materialism Against Belief in the Existence of Cartesian Mind-Body Dualism", in Alexander Moreira-Almeida and Franklin Santana Santos, Exploring Frontiers of the Mind-Brain Relationship, Springer, pp. 16–33
- Graziano, Michael S. A.; Kastner, Sabine (2011). "Human consciousness and its relationship to social neuroscience: A novel hypothesis". Cognitive Neuroscience. 2 (2): 98–113. doi:10.1080/17588928.2011.565121. PMC 3223025. PMID 22121395.
- Levine, Joseph (2001). Purple Haze: The Puzzle of Consciousness. Oxford University Press.
- Penrose, Roger (1994). Shadows of the Mind: A Search for the Missing Science of Consciousness. Oxford University Press.
- Velman, Max and Schneider, Susan (2007). The Blackwell Companion to Consciousness. University of Oxford Press.
- Zelazo, Philip David; Moscovitch, Morris; and Thompson, Evan (eds.) (2007). The Cambridge Handbook of Consciousness. University of Cambridge Press.
- เรื่องอื่น ๆ
- Almeder, Robert (1998). Harmless naturalism: The limits of science and the nature of philosophy. Open Court Publishers.
- Kurtz, Paul (2006). "Two Sources of Unreason in Democratic Society: The paranormal and religion". Annals of the New York Academy of Sciences. 775 (1): 493–504. doi:10.1111/j.1749-6632.1996.tb23166.x. S2CID 144555701. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-18.
- Schumacher, Bernard N. (2005). Death and Mortality in Contemporary Philosophy. Cambridge University Press.