ข้ามไปเนื้อหา

เอียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอียน (เยียน)

ค.ศ. 237–ค.ศ. 238
อาณาเขตของรัฐเอียน ได้แก่ เมืองเลียวตั๋ง (遼東 เหลียวตง), เซฺวียนถู (玄菟), เล่อล่าง (樂浪) และไต้ฟาง (帶方)
สถานะรัฐ
เมืองหลวงเซียงเป๋ง[1]
การปกครองราชาธิปไตย
อ๋อง 
• ค.ศ. 237–238
กองซุนเอี๋ยน
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
กรกฎาคม ค.ศ. 237
• ประกาศขึ้นกับง่อก๊กอย่างเป็นทางการ
มกราคม ค.ศ. 238
• ถูกโจมตีโดยสุมาอี้
มิถุนายน ค.ศ. 238
• ล่มสลาย
29 กันยายน ค.ศ. 238
ประชากร
• ค.ศ. 237
ประมาณ 300,000 คน[2]
ก่อนหน้า
ถัดไป
วุยก๊ก
วุยก๊ก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ลำดับการเปลี่ยนแปลงของอาณาเขตในยุคสามก๊กตามช่วงเวลา รัฐเอียนดำรงอยู่เพียงระยะเวลาสั้น ๆ แม้ว่าภูมิภาคนั้นจะถูกปกครองโดยตระกูลกองซุนมาหลายทศวรรษก่อนถูกพิชิตในปี ค.ศ. 238

เอียน[3] ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เยียน (จีน: ; พินอิน: Yān) เป็นรัฐจีนที่มีอยู่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 237 ถึงกันยายน ค.ศ. 238 ในคาบสมุทรเหลียวตง (เลียวตั๋ง) ในยุคสามก๊กของจีน[1][4] เดิมเป็นเขตปกครองอิสระที่ปกครองโดยกงซุน ตู้และกองซุนของบุตรชายตั้งแต่ ค.ศ. 190 ถึง ค.ศ. 237 แม้ว่ารัฐเอียนเพิ่งจะประกาศตั้งตนเป็นอิสระในปี ค.ศ. 237 แต่นักประวัติศาสตร์เช่นหวาง จ้งชู (王仲殊) และโหว เทา (侯涛) ถือว่าบริเวณนี้เป็นเขตปกครองอิสระโดยพฤตินัยตั้งแต่เมื่อกงซุน ตู้สถาปนาการปกครองในเลียวตั๋งในปี ค.ศ. 190[5][6] แม้ว่ารัฐเอียนอยู่ในยุคสามก๊ก แต่ไม่ถูกนับรวมกับรัฐทั้งสามอันเป็นที่มาของชื่อยุคคือวุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนเช่น คัง โหย่วเหวย์ (康有為) ถือว่ารัฐเอียนเป็น "ก๊กที่สี่"[7]

ผู้ดำรงตำแหน่งก่อน

[แก้]

กงซุน ตู้

[แก้]

กงซุน เหยียน (公孫延) บิดาของกงซุน ตู้ อาศัยอยู่ที่เสฺวียนถูจฺวิ้น โดยกงซุน ตู้ได้รับสถานะรัฐมนตรีใน ค.ศ. 170 แม้ว่าเขาลาออกจากตำแหน่ง เขากลายเป็นเจ้าเมืองเหลียวตง (เลียวตั๋ง) ใน ค.ศ. 190 หรือ 189[8] ตามคำแนะนำของตั๋งโต๊ะ[9] กงซุน ตู้สถาปนาการปกครองแบบกษัตริย์และควบคุมเหลียวตงอย่างสมบูรณ์ เขาแยกเหลียวตงออกเป็น 3 จฺวิ้น คือ เหลียวซีจฺวิ้นและจงเหลียวจฺวิ้นจากเหลียวตง

เหลียงตงตั้งอยู่ติดกับโคกูรยอที่ผู้ปกครองในตอนแรกร่วมมือกับกงซุน ตู้ แต่ต่อมาทะเลาะเบาะแว้งกันบ่อยครั้ง[10] กงซุน ตู้ทำการโจมตีทั้งโคกูรยอกับอู่หฺวานหลายครั้ง

กองซุนของ

[แก้]

เมื่อกงซุน ตู้เสียชีวิตใน ค.ศ. 204 กองซุนของผู้เป็นบุตรจึงขึ้นดำรงตำแหน่ง และจากนั้นไม่นานก็ใช้ผลประโยชน์จากความบาดหมางเรื่องการสืบทอดในโคกูรยอ แม้ว่าฝ่ายที่กองซุนของสนับสนุนพ่ายแพ้ พระเจ้าซันซังแห่งโคกูรยอจำต้องย้ายเมืองหลวงทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยัง Hwando (ปัจจุบันคือจี๋อาน มณฑลจี๋หลิน) ที่แม่น้ำยาลู่ ซึ่งมีเชิงป้องกันที่ดีกว่า[11] กองซุนของย้ายเข้าและฟื้นฟูระเบียบที่เลอล่างจฺวิ้น จัดตั้งไต้ฟางจฺวิ้นด้วยการแยกส่วนใต้ของเล่อล่าง[12]

ใน ค.ศ. 207 กองซุนของสังหารอ้วนซงและอ้วนฮี บุตรของอ้วนเสี้ยว และส่งหัวของพวกเขาไปยังโจโฉ[13]

กองซุนก๋ง

[แก้]

หลังกองซุนของเสียชีวิต กงซุน หฺว่างกับกองซุนเอี๋ยน บุตรชายสองคน อายุน้อยเกินไปที่จะดำรงตำแหน่ง ทำให้กองซุนก๋งขึ้นปกครองแทน อย่างไรก็ตาม เขากลับเป็นโรคเบาหวาน (ยินเซียว, จีน: 陰消) และมีบุตรยาก หลังจากโจผีเข้ายึดฮั่นตะวันออก พระองค์ตรัสแก่กองซุนก๋งให้ส่งลูกชายมาเป็นตัวประกันของโจ ทำให้ต้องส่งกงซุน หฺว่าง บุตรคนโตของกองซุนของ ไปที่ลั่วหยาง กองซุนก๋งไม่กล้าทำทีก้าวร้าวต่อวุยก๊ก และกองซุนเอี๋ยนถือว่าเขาเป็นคนขี้ขลาด เขาบังคับให้กองซุนก๋งลงจากอำนาจ โดยอ้างว่าจะฟื้นฟูเหลียวตงให้รุ่งเรือง แล้วจำคุกเขา และกลายเป็นผู้นำในเดือนธันวาคม ค.ศ. 228[14][15][16]

กองซุนเอี๋ยน

[แก้]

กองซุนเอี๋ยนอ้างความเป็นมิตรภาพกับง่อก๊กและส่งทูตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 229 จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 230 ทางง่อก๊กได้เลื่อนขั้นกองซุนเอี๋ยนเป็น เชอฉีเจียงจวิน (จีน: 車騎將軍; แปลตรงตัว: "ผู้บัญชาการกองพลทหารม้ารถศึก") ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 232 ซุนกวนส่งทูตไปยังกองซุนเอี๋ยนเพื่อขอม้า ซึ่งได้รับการตอบรับ อย่างไรก็ตาม ขณะเดินทางกลับในเดือนกันยายน ทูตกลับถูกเตียวอี้โจมตี ทำให้ทรัพย์สินสูญหาย และมีทูตถูกสังหารหนึ่งคน[17] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 232 กองซุนเอี๋ยนส่งทูตไปยอมรับตำแหน่งรัฐบริวารง่อก๊ก[18] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 233 ทางง่อก๊กให้ตำแหน่ง "เอียนอ๋อง" และส่งทูตสองคนไปหาเขา เหล่าทูตถูกกองซุนเอี๋ยนสังหารและมีการส่งศีรษะทูตไปที่ลั่วหยาง และกองซุนเอี๋ยนยอมรับความเป็นรัฐบริวารจากวุยก๊ก[19] ทัศนคติของกองซุนเอี๋ยนสร้างความโกรธแค้นแก่ทั้งโจยอย (จักรพรรดิวุยก๊ก) และซุนกวน (จักรพรรดิง่อก๊ก) ทั้งคู่สาบานว่าจะสังหารเขา[20][21]

ใน ค.ศ. 237 บู๊ขิวเขียม แม่ทัพวุยก๊ก ส่งกองทัพไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน แต่กลับพ่ายแพ้เนื่องจากฝนตกหนัก[22]

สมัยกองซุนเอี๋ยน

[แก้]

หลังบู๊ขิวเขียมพ่ายแพ้ กองซุนเอี๋ยนจึงอ้างเป็นเอกราชในเดือนกรกฎาคม โดยใช้ศักราชเช่าฮั่น (จีน: 紹漢) รัฐใหม่นี้มีราชสำนักและขุนนางของตน และมี 4 จฺวิ้น ได้แก่ เหลียวตง, เสฺวียนถู, เล่อลั่ง และไต้ฟาง และในเดือนมกราคม ค.ศ. 238 กองซุนเอี๋ยนกลับมาสานสัมพันธ์กับง่อก๊กอีกครั้ง โดยหวังถึงการได้รับการเสริมกำลังทางทหารต่อ[15][23]

ล่มสลาย

[แก้]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 238 หลังวางแผนกับโจยอย สุมาอี้ แม่ทัพแห่งวุยก๊ก นำทหาร 40,000 นายไปโจมตีกองซุนเอี๋ยน หลังล้อมเป็นเวลา 3 เดือน ค่ายแม่ทัพของกองซุนเอี๋ยนจึงตกเป็นของสุมาอี้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากโคกูรยอ[23] ผู้ที่รับใช้เอียนด๊กหลายคนถูกสังหารหมู่ กองซุนก๋งได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ

ความสัมพันธ์กับโคกูรยอ

[แก้]

โคกูรยอต่อสู้กับตระกูลกองซุนบ่อยครั้ง แม้จะให้ความร่วมมือในช่วงแรกก็ตาม[10] ใน ค.ศ. 197 การสู้รบระหว่างกองซุนและโคกูรยอเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ Balgi พระเชษฐาในพระเจ้าซันซังแห่งโคกูรยอ ก่อกบฏและได้รับการสนับสนุนจากกงซุน ตู้[24][25] Gyesu พระอนุชาในพระเจ้าซันซัง เข้าโจมตี เอาชนะกงซุน ตู้ และ Balgi ทรงทำอัตวินิบาตกรรม[26][27] กองซุนของใช้ประโยชน์จากความบาดหมางด้านการสืบทอดในโคกูรยอและทำการโจมตีอกครั้งใน ค.ศ. 209 เอาชนะโคกูรยอและบังคับให้ย้ายเมืองหลวง[27][28] ในการพิชิตรัฐเอียนของสุมาอี้ ทางโคกูรยอส่งทหารหลายพันนายเข้าช่วยสุมาอี๋[29]

ผลกระทบ

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างโคกูรยอ วุยก๊ก และง่อก๊ก

[แก้]

หลังทูตของง่อก๊กถูกสังหารโดยกองซุนเอี๋ยนใน ค.ศ. 233 ทหารบางส่วนหนีไปยังโคกูรยอและจัดตั้งพันธมิตรง่อก๊ก-โคกูรยอ จากนั้นใน ค.ศ. 234 วุยก๊กส่งทูตเพื่อจัดตั้งพันธมิตรกับโคกูรยอ โดยระหว่างวุยก๊กกับง่อก๊ก ทางโคกูรยอเลือกวุยก๊ก – ด้วยการสังหารทูตง่อก๊กใน ค.ศ. 234 และอีกครั้งใน ค.ศ. 236[30][31] ใน ค.ศ. 238 โคกูรยอส่งทหารไปช่วยเอาชนะกองซุนเอี๋ยน[32] พันธมิตรวุยก๊ก-โคกูรยอล่มสลายใน ค.ศ. 242 เมื่อพระเจ้าทงช็อนแห่งโคกูรยอเข้าปล้นที่ซีอานผิง (西安平; ใกล้ตานตงในปัจจุบัน) ที่ปากแม่น้ำยาลู่ในอำเภอเหลียวหนิง[33] ทางวุยก๊กจึงทำสงครามตอบโต้ที่จบลงด้วยชัยชนะของวุยก๊ก และทำลายฮวันโดเมืองหลวงโคกูรยอ ส่งกษัตริย์หนีไป และทำลายความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการระหว่างโคกูรยอกับชนเผ่าอื่น ๆ ของเกาหลีที่เป็นบ่อเกิดเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของโคกูรยอ[34] แม้ว่ากษัตริย์หลีกหนีการจับกุมและประทับที่เมืองหลวงใหม่ โคกูรยอถูกลดความสำคัญมากจนไม่มีการกล่าวถึงในตำราประวัติศาสตร์จีนเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ[35]

ห้าชนเผ่า

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 原遙平 (2018-10-23). 圖解三國時代 更新版 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 易博士. p. 89. ISBN 978-986-480-064-3.
  2. 金鑠. "漢族之發展與東北之開闢" (PDF). Cheng Kung journal of historical studies. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.[ลิงก์เสีย]
  3. ("กองซุนเอี๋ยนบุตรก๋งซุนของเจ้าเมืองเสียวตั๋งคิดขบถ ยกตัวเปนเจ้าเอียนอ๋อง ตั้งแต่งขุนนางขึ้นเปนอันมาก ให้สร้างเวียงวังค่ายคูประตูหอรบไว้เปนมั่นคง แล้วซ่องสุมทแกล้วทหารได้ร้อยหมื่นจะยกมาตีเมืองลกเอี๋ยง") "สามก๊ก ตอนที่ ๗๙". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 18, 2023.
  4. Ikeuchi, pp. 87–88
  5. Wang, Zhongshu (2005). 中日两国考古学, 古代史论文集 (ภาษาจีน). 科学出版社. p. 315. ISBN 9787030161062.
  6. 侯涛 (2011). "三国演义其实是四国争霸". 当代人:下半月 (1): 79–81.
  7. Kang, Youwei (2013-10-21). 歐洲十一國遊記二種 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 群出版. p. 98.
  8. 社会科学战线 (ภาษาจีน). 吉林人民出版社. 1985. pp. 220, 222.
  9. 新金縣志 (ภาษาจีน). 大连出版社. 1993. pp. 1, 7. ISBN 9787805559438.
  10. 10.0 10.1 Gardiner 1972a : 69–70.
  11. Byington 2007 : 91–92.
  12. Gardiner 1972a : 90.
  13. 朔雪寒 (2015-01-22). 預見未來: 中國歷代智者預測智慧 (ภาษาจีน). 朔雪寒. p. 133.
  14. 普通人 (2016-06-20). 非普通三國: 寫給年輕人看的三國史 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 方寸文創事業有限公司. p. 272. ISBN 978-986-92003-5-6.
  15. 15.0 15.1 郭瑞祥 (2018-09-30). 重說司馬懿 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 楓樹林. p. 137. ISBN 978-986-96694-3-6.
  16. 东北地方史硏究 (ภาษาจีน). 东北地方史硏究编辑部, 辽宁社会科学院. 1987. p. 77.
  17. 杨金森; 范中义 (2005). 中国海防史 (ภาษาจีน). 海洋出版社. p. 5. ISBN 9787502764111.
  18. 金文京 (2019-01-01). 三國志的世界:東漢與三國時代 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 臺灣商務. p. 124,137. ISBN 978-957-05-3137-4.
  19. 三國成語典故 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 右灰文化傳播有限公司. p. 15.
  20. 金, 洪培; 杨, 凯 (July 2019). "辽东公孙氏政权与高句丽关系述略". 고구려발해연구. 64: 189–205 – โดยทาง DBPia.co.kr.
  21. 陈瓷 (2015-03-01). 三国那些人那些事.吴卷 (ภาษาจีน). Beijing Book Co. Inc. p. 310. ISBN 978-7-210-05445-0.
  22. 中国战典 (ภาษาจีน). 解放军出版社. 1994. ISBN 9787506525107.
  23. 23.0 23.1 蔡東藩 (2013-11-30). 歷史演義: 後漢6 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 獨立作家-龍視界. p. 84. ISBN 978-986-5981-90-7.
  24. 胡三元 (2015-08-13). 白話三國志: 經典古籍白話註解譯文系列 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 谷月社. pp. 104, 371.
  25. "Kings and Queens of Korea". KBS Radio (ภาษาอังกฤษ). KBS. 2015-03-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-22. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  26. Encyclopedia of Korean Folk Literature: Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture Vol.3. Seoul: Encyclopedia of Korean Folk Literature: Encyclopedia of Korean Folklore and Traditional Culture. 2014. pp. 150–151. ISBN 9788928900848. สืบค้นเมื่อ 2016-01-30.
  27. 27.0 27.1 耿铁华 (2008). 高句丽与东北民族研究 (ภาษาจีน). 吉林大学出版社. pp. 99–100. ISBN 978-7-5601-3224-2.
  28. 高句丽考古 (ภาษาจีน). 吉林大学出版社. 1994. p. 18. ISBN 9787560115795.
  29. Gardiner (1972B), p. 165
  30. 金文京 (2019-01-01). 三國志的世界:東漢與三國時代 (ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน). 臺灣商務. ISBN 978-957-05-3137-4.
  31. Xiong, Victor Cunrui (2017-04-06). Historical Dictionary of Medieval China (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4422-7616-1.
  32. 张博泉 (1981). 东北历代疆域史 (ภาษาจีน). 吉林人民出版社. p. 62.
  33. Tennant 1996 : 22. Original quote: "Wei. In 242, under King Tongch'ŏn, they attacked a Chinese fortress near the mouth of the Yalu in an attempt to cut the land route across Liao, in return for which the Wei invaded them in 244 and sacked Hwando."
  34. Gardiner 1969 : 34.
  35. Byington 2007 : 93.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Ikeuchi, Hiroshi. "A Study on Lo-lang and Tai-fang, Ancient Chinese prefectures in Korean Peninsula". Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 5 (1930). 79–95.
  • Gardiner, K.H.J. "The Kung-sun Warlords of Liao-tung (189–238)". Papers on Far Eastern History 5 (Canberra, March 1972). 59–107.
  • Gardiner, K.H.J. "The Kung-sun Warlords of Liao-tung (189–238) – Continued". Papers on Far Eastern History 6 (Canberra, September 1972). 141–201.
  • Byington, Mark E. "Control or Conquer? Koguryǒ's Relations with States and Peoples in Manchuria," Journal of Northeast Asian History volume 4, number 1 (June 2007): 83–117.