เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
จักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ์
ดำรงพระยศ12 ตุลาคม 2254 – 20 October 2283
ประสูติ28 สิงหาคม พ.ศ. 2234
เบราน์ชไวค์ เบราน์ชไวค์-ลือเนอบวร์ค
สวรรคต21 ธันวาคม พ.ศ. 2293 (59 )
เวียนนา ออสเตรีย
ฝังพระศพสุสานหลวงแห่งออสเตรีย
คู่อภิเษกจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ()
พระราชบุตร
ราชวงศ์เวลฟ
พระราชบิดาลูทวิช รูด็อล์ฟ ดยุคแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล
พระราชมารดาเจ้าหญิงคริสทีเนอ ลูอีเซอ แห่งเอิททิงเงิน-เอิททิงเงิน
ศาสนาโรมันคาทอลิก
prev. ลูเทอแรน

เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล (28 สิงหาคม พ.ศ.2234 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2293) เจ้าหญิงแห่งเบราน์ซไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล จักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สมเด็จพระราชินีแห่งโบฮีเมียและฮังการี และอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรียผ่านการสมรสกับจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 พระองค์ทรงเป็นที่เรื่องลือถึงความงามในรูปโฉมของพระองค์ และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของพระมารดาของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา จักรพรรดินีที่ทรงมีอำนาจมากที่สุดองค์หนึ่งของยุโรป

พระราชประวัติ[แก้]

เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในลูทวิช รูด็อล์ฟ ดยุคแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล กับ เจ้าหญิงคริสทีเนอ ลูอีเซอ แห่งเอิททิงเงิน-เอิททิงเงิน

เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 13 พรรษา ก็ถูกหมั้นหมายเตรียมที่จะให้มีการสมรสกับจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของญาติทั้งสองฝ่าย นั่นก็คืออันทอน อูลิชช์ ดยุคแห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล ผู้เป็นพระอัยกาของพระองค์ และจักรพรรดินีวิลเฮ็ลมีเนอ อมาเลีย พระเชษฐนีของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 อย่างไรก็ตามนั้นในตอนแรกพระองค์ต่อต้านการคลุมถุงชนครั้งนี้มาก เพราะพระองค์ถือนิกายลูเทอแรน แต่คู่หมั้นหรือพระสวามีของพระองค์นั้นนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเกรงว่าจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ของคู่แต่งงานในอนาคต แต่นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่พระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับแม่สามีจักรพรรดินีเอเลนอร์แห่งนูเรน์เบิร์ก ผู้โน้มน้าวพระองค์และแนะนำพระองค์ในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับความเชื่อนิกายคาธอลิก จนสามารถเปลี่ยนพระองค์ให้กลายมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้

พระชนม์ชีพที่สเปน[แก้]

จักรพรรดิคารฺ์ลที่ 6 กับจักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท ในห้วงเวลาที่พระองค์ทรงแต่งงานกันในปี 2251

ในช่วงเวลาที่จะจัดแจงให้มีการอภิเษกสมรสกันนั้น จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 หรือพระยศในขณะนั้นคืออาร์คดยุคคาร์ลทรงอยู่ที่สเปน และกำลังนำทัพของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คอ้างสิทธิ์เหนือราชบัลลังก์ในสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน โดยมีฐานกำลังหลักอยู่ที่บริเวณอารากอน นั่นทำให้พิธีอภิเษกสมรสระหว่างเอลีซาเบ็ทกับคาร์ลในปี 2251 ที่โบสถ์ซันตามาริอาดัลมาร์ (โบสถ์แห่งพระแม่มารีย์ผู้อวยพรท้องทะเล) ทว่าหลังจากผ่านพิธีอภิเษกสมรสไปแล้ว ชีวิตหลังการแต่งงานของพระองค์กลับเต็มไปด้วยความกดดันให้พระองค์ "ให้กำเนิดบุตรชาย" เป็นอย่างมาก และคนรอบข้างยิ่งกดดันพระองค์เพิ่มเข้าไปอีก เมื่อพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 อันเป็นคู่ขัดแย้งทรงมีบุตรสืบราชสกุลไปแล้ว แรงกดดันที่พระองค์ต้องแบกรับทำให้พระองค์เขียนจดหมายรายงานสถานการณ์พร้อมกับสารทุกข์สุขดิบของตัวเองกับมารดาของพระองค์เจ้าหญิงคริสทีเนอ ลูอีเซอ แห่งเอิททิงเงิน เพื่อเป็นการปลอมประโลมตัวเอง อันเป็นไม่กี่หนทางที่ช่วยทำให้พระองค์มีความสุขได้[1]

ต่อมาในปี 2254 คาร์ลกลับไปยังเวียนนา เพื่อรับตำแหน่งเป็น "จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ต่อจากพระเชษฐาที่เสด็จสวรรคตไปอย่างกะทันหัน ในตอนที่เขากลับไปยังออสเตรีย เขาแต่งตั้งเอลีซาเบ็ทเป็นผู้ว่าการแห่งคาตาลันเพื่อปกครองดินแดนสเปน ซึ่งพระองค์ก็สามารถประคับประคองดินแดนนี้ได้นานถึงสองปีอย่างมีประสิทธิภาพ[2] จนกระทั่งทางพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 ยอมเจรจากับพวกฮาพส์บวร์กเพื่อยุติสงคราม หลังจากสงครามจบลงพระองค์ก็กลับไปยังเวียนนา และปกครองดินแดนของพระองค์ในฐานะ "จักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"

พระชนมชีพที่เวียนนา[แก้]

ในฐานะจักรพรรดินี พระองค์เต็มเปี่ยมไปด้วยความสามารถทั้งทางด้านศิลปะอย่าง การดนตรี รวมถึงทางด้านการเมืองที่พระองค์นั้นเต็มไปด้วยความสุขุมรอบคอบ รู้จักการวางตัวที่ดี และเป็นคนสุภาพเรียบร้อย รวมถึงยังถูกกล่าวถึงถึงความสามารถเฉพาะทางที่นอกเหนือจากที่จักรพรรดินีคนอื่นมีมาตั้งแต่สมัยอยู่ในราชสำนักที่สเปน นั่นก็คือ การออกมาล่าสัตว์ ว่ากันว่าความสามารถในการล่าสัตว์ของพระองค์นั้นค่อนข้างอยู่ในระดับที่ดีเยี่ยมเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามในตอนแรกนั้นจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ไม่ได้ยอมให้พระองค์มีบทบาททางการเมืองมากเท่าไหร่นัก แต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับเหล่ารัฐมนตรีในราชสำนัก ประกอบกับการพิสูจน์ตัวเองตลอดเวลาที่มาอยู่ที่เวียนนา ทำให้พระองค์สะสมพระบารมีเพิ่มมากขึ้น โดยในช่วงทศวรรษที่ 2260 พระองค์ทรงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำสนธิสัญญากับรัสเซียผ่านทางอิทธิพลจากพระประยูรญาติในดินแดนเยอรมันทางเหนือ และยังทรงคัดค้านอย่างหนักในการส่งพระราชธิดาไปอภิเษกสมรสกับทางราชวงศ์สเปนอีกด้วย[3]

ในส่วนของชีวิตการสมรสนั้น เมื่อมาที่เวียนนาพระองค์ก็ต้องเจอกับมรสุมความกดดันที่ถาโถมมามากกว่าเดิม ด้วยการสมรสของพระองค์กับจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 นั้น มุ่งหวังที่จะให้มีบุตรชายคลอดออกมาเพื่อสืบสกุลและราชบัลลังก์ ซึ่งในตอนแรกพระองค์จะสามารถมีประสูติกาลพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ อาร์คดยุคเลโอปอล จอห์นขึ้นมาสืบสายตระกูลตามที่หลายฝ่ายคาดหวังได้สำเร็จ แต่ว่าพระราชโอรสองค์ใหญ่นั้นมีพระชนมายุได้เพียงแค่ 7 เดือน ก็สวรรคต การตายจากไปของพระราชโอรสนำไปสู่ความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงต่อจักรพรรดินี จากเหตุการณ์ครั้งนั้นมันทำให้พระองค์รู้สึกเครียดแถมยังเจ็บปวดจากการที่พระสวามีของพระองค์ไม่มั่นใจในตัวของพระองค์[1] และแม้จักรพรรดินีจะทรงครรภ์อีกสองครั้งในเวลาถัดมา แต่พระบุตรที่ประสูติออกมานั้นล้วนแล้วเป็นพระธิดาทั้งหมด นั่นจึงนำไปสู่การรักษาโดยแพทย์หลวงของราชสำนักเพื่อให้ทรงครรภ์แล้วประสูติเป็นพระราชโอรสให้ได้ โดยในตอนแรกแพทย์หลวงเหล่านั้นแนะนำให้พระองค์เสวยน้ำจัณฑ์เป็นปริมาณมาก โดยเชื่อว่าน้ำจัณฑ์จะสามารถทำให้ทรงตั้งครรภ์เป็นพระราชโอรสได้มากขึ้น ในเวลานั้นพระพักตร์ของพระองค์จึงแทบจะแดงตลอดเวลา จากนั้นไม่นานก็ทัดทานให้องค์จักรพรรดินีทรงรับประทานอาหารอันอุดมสมบูรณ์เพื่อวาดหวังให้พระองค์ทรงครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรนั้นผลที่ตามกลับมาเลวร้ายลงกว่าเดิม เมื่ออาหารที่พระองค์รับประทานไปเป็นจำนวนมากนั้นมันทำให้พระองค์ประสบกับโรคอ้วนจนแทบจะเดินไม่ได้ แถมยังต้องทรมานจากอาการนอนไม่หลับและพระวรกายบวมน้ำอีกด้วย ทำให้ต้องมีการสร้างพระเก้าอี้พิเศษสำหรับพระองค์โดยเฉพาะขึ้นมา เพื่อจะไม่ต้องให้พระองค์ทรงทรมานในการประทับในพระราชวัง[4]

ตลอดช่วงเวลาที่พระองค์ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการประชวรเนื่องด้วยคำแนะนำของแพทย์หลวง จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 พระสวามีก็เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด พระองค์มักจะทรงมาแวะเวียนเยี่ยมพร้อมกับหยอกพระองค์ด้วยการเรียกพระองค์ด้วยชื่อชองสัตว์เลี้ยงของพระองค์อย่าง ‘White Liz’ ในพระราชบันทึกส่วนพระองค์ของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ทรงเขียนถึงสุขภาพของพระมเหสีในแต่ละวัน พร้อมกับมอบเบี้ยให้เปล่าให้กับจักรพรรดินีตลอดเวลา[4] ซึ่งแสดงให้ถึงความห่วงใยที่พระจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ทรงมีให้กับจักรพรรดินีของพระองค์ แม้ว่าในความสัมพันธ์หลังการอภิเษกสมรสของพระองค์จะไม่ได้ดีนัก เพราะว่าจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 นั้นมีความสัมพันธ์อย่างลับ ๆ กับพนางในหลายคนก่อนที่จะอภิเษกสมรสกับพระองค์ รวมทั้งพระสวามีของพระพระองค์ยังแอบเล่นชู้กับพวกเด็กผู้ชายอีกด้วย

ในส่วนความสัมพันธ์กับทางพระญาติ จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ททรงมีความสนิทชิดเชื้อกันดีกับจักรพรรดินีเอเลนอร์ พระสัสสุ และจักรพรรดินีวิลเฮ็ลมีเนอ อมาเลีย พระเชษฐนี จักรพรรดินีทั้งสามนี้ทรงประทับด้วยกันตลอดและมักจะดูแลกันและกัน อย่างตอนที่พระองค์ทรงพระประชวรเป็นไข้ทรพิษก็ได้จักรพรรดินีวิลเฮ็ลมีเนอ อมาเลีย คอยช่วยดูแลอย่างใกล้ชิด และตอนที่จักรพรรดินีเอเลนอร์ทรงพระประชวรหนักใกล้สิ้นพระชนม์ ก็ได้เอลีซาเบ็ทคอยดูแลไม่ห่างตัว

จักรพรรดินีพันปีหลวง[แก้]

พระบรมสาทิสลักษณ์จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ โดยฟรานส์ เวิน แสตมป์พาร์ต

ปี 2283 จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 เสด็จสวรรคต ทิ้งให้พระองค์กลายเป็นหม้ายท่ามกลางความขัดแย้งที่ก่อตัวขึ้นจากปัญหาการสืบราชบัลลังก์ ซึ่งในท้ายที่สุดมาเรีย เทเรซา พระราชธิดาพระองค์โต ก็สามารถเข้าจัดการราชสำนักได้อย่างเบ็ดเสร็จและเรียบร้อยได้ แม้ว่ามาเรีย เทเรซาจะสามารถครองราชบัลลังก์ได้ แต่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองพระองค์ไม่ค่อยถูกพูดถึงสักเท่าไหร่นัก แม้ว่าทั้งสองคนจะไม่ได้มีเรื่องขัดแย้งกัน แต่ก็ไม่ได้มีความสนิทสนมเท่าไหร่นัก แม้ว่าจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนและขุนพระองค์ใต้อำนาจการปกครอง แต่สำหรับจักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท พระพันปีหลวงไม่ได้เป็นแบบนั้น จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซามักจะแวะไปหาพระมารดาของพระองค์อยู่บ่อยครั้ง แต่ทุกครั้งที่ไปหาจะไปแบบเป็นทางการ และตัวของเอลีซาเบ็ทเองก็มักจะง่วนอยู่กับจารีตดั้งเดิมของราชสำนักสเปนที่พระองค์ยึดถือมา ทำให้ความสัมพันธ์ที่ออกมานั้นมักจะดูเย็นชา และไม่ค่อยเปิดอกพูดจากัน

นอกจากนี้ ในช่วงการปกครองของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ทก็พยายามที่จะแทรกแซงเข้าไปมีบทบาททางการเมืองบ้าง อย่างบันทึกของทูตปรัสเซียที่ทำงานในออสเตรียในช่วงนั้นที่อ้างว่า จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท พระพันปีหลวงนั้น "ทรงมีความต้องการที่จะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นโดยไม่ทำให้ใครสงสัยในเรื่องนี้" แต่ถึงกระนั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผลสักเท่าไหร่นัก

จักรพรรดินีเอลีซาเบ็ท พระพันปีหลวง สวรรคตเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2293 ที่กรุงเวียนนา รวมสิริพระชนมพรรษาได้ 59 ปี

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]

  • Ingrao, Charles W.; Thomas, Andrew L. (2004). "Piety and Power: The Empresses-Consort of the High Baroque". ใน Campbell Orr, Clarissa (บ.ก.). Queenship in Europe 1660-1815: The Role of the Consort. Cambridge University Press. pp. 107–130. ISBN 0-521-81422-7.