เอริช เค็สท์เนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอริช เค็สท์เนอร์
Erich Kästner, 1961
Erich Kästner, 1961
เกิดเอมีล เอริช เค็สท์เนอร์
23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899(1899-02-23)
เดรสเดิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต29 กรกฎาคม ค.ศ. 1974(1974-07-29) (75 ปี)
มิวนิก, เยอรมนีตะวันตก
อาชีพนักเขียน
สัญชาติเยอรมัน เยอรมนี
ช่วงเวลาค.ศ. 1928–1969

ลายมือชื่อ

เอมีล เอริช เค็สท์เนอร์ (เยอรมัน: Emil Erich Kästner) เป็นนักเขียนชาวเยอรมัน มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกจากวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เอมีล ยอดนักสืบ (Emil and the Detectives; เยอรมัน: Emil und die Detektive) ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากกว่าห้าสิบเก้าภาษาทั่วโลก

ประวัติ[แก้]

เดรสเดิน 1899-1919[แก้]

เอริช เค็สท์เนอร์ เป็นบุตรชายคนเดียวของนาย เอมีล กับนางอีดา เค็สท์เนอร์ เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1899 บ้านเลขที่ Königsbrückerstr.66 เมืองเดรสเดิน เมื่อเอริชมีอายุครบได้สามปีครอบครัวของเขาก็ย้ายมาที่บ้านเลขที่ 48 ถนนสายเดิม ครอบครัวของเขาไม่ได้มีฐานะรำรวย พ่อทำงานที่โรงงานทำกระเป๋า ส่วนแม่ต้องช่วยเหลือครอบครัวด้วยการเปิดร้านทำผมในอพาร์ทเม่น แต่รายได้ก็ยังไม่พอเพียง พวกเขาจึงตึดสินใจปล่อยห้องส่วนหนึ่งในอพาร์ทเมนท์ให้เช่าต่อ ซึ่งผู้เช่าส่วนมากมีอาชีพเป็นคุณครู อันเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอยากมีอาชีพเป็นครู เขาจึงได้ไปโรงเรียนฝึกอาชีพครู แต่ก็เรียนไม่จบเนื่องจากโรงเรียนต้องปิดเพราะสถานการณ์การทางการเมือง และถึงอย่างไรเขาก็ไม่ได้อยากที่จะเรียนต่ออยู่แล้ว หลังจากนั้นเอริชจึงไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยม และเขาก็จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปลายปี ค.ศ. 1919 เนื่องจากเขาเป็นนักเรียนที่ดีมีผลงานทางการเรียนที่ดี เขาจึงได้รับทุนการศึกษาจากเมืองเดรสเดิน หลังจากนั้นเขาก็จึงเดินทางไปยังเมืองไลพ์ซิช (Leipzig) เพื่อไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย

ไลพ์ซิช 1919-1927[แก้]

ปี ค.ศ. 1919 เอริชเริ่มการศึกษาที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิช เขาศึกษาวิชาภาษาเยอรมัน, ปรัชญา, การละคร และประวัติศาสตร์ เนื่องการเงินที่เขาได้รับการทุนการศึกษาไม่พอเพียงสำหรับดำรงชีพ เขาต้องหาอาชีพเสริมหลาย ๆ งานทำระหว่างเรียน อย่างเช่นขายน้ำหอม นอกจากนั้นระหว่างเรียนเขายังได้มีอาชีพเสริมเป็นนักข่าวและนักวิจารณ์ให้กับหนังสือพิมพ์ Neuen Leipziger Zeitung ในปี ค.ศ.1925 เขาก็ได้จบการศึกษาระดับด็อกเตอร์ หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นบรรณาธิการประจำ แต่ในปี ค.ศ.1927 เขาก็ได้โดนไล่ออกเนื่องจากบทวิจารณ์เกี่ยวกับการเมืองที่รุนแรงเกินไป

เบอร์ลิน 1927-1945[แก้]

หลังจากนั้นเขาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองเบอร์ลิน ทำงานเป็นนักเขียนอิสระให้กับหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ อย่างเช่น Berliner Tageblatt เป็นต้น ปี ค.ศ. 1928 หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์เล่มแรกของเขาคือ Herz auf Taille เป็นหนังสือที่รวมรวบเกี่ยวกับกลอนต่าง ๆ ที่เขาได้เขียนไว้ในสมัยที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองไลพ์ซิช หลังจากนั้นในปี 1999 วรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เอมีล ยอดนักสืบ (Emil und die Detective) ก็ได้ออกจำหน่ายที่เยอรมัน ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้มีแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากกว่าห้าสิบเก้าภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย เอมีลเป็นเรื่องราวที่มีฉากหลังเป็นเมืองเบอร์ลิน เอมีล ยอดนักสืบได้ถูกนำมาสร้างเป็นหนังครั้งแรกในปี 1937 ซึ่งเป็นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นก็ได้มีนำมาการสร้างเป็นหนังขึ้นอีกหลายรอบ ส่วนวรรณกรรมเยาวชนเรื่องอื่นที่เค็สท์เนอร์ได้เขียนเมื่อใช้ชีวิตอยู่ที่เบอร์ลินอย่างเช่น Pünktchen und Anton (1931) ได้นำมาแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดย แววตา หนังสือชื่อว่าคู่หู่จอมซน ระหว่างที่เค็สท์เนอร์ใช้ชีวิตอยู่เบอร์ลิน เขาก็ได้เจอปัญหากับระบบนาซี ทำให้หนังสือเขาไม่ได้ตีพิมพ์ออกจำหน่าย และยังเจอปัญหาเรื่องการการเผาหนังสือด้วย เค็สท์เนอร์โดนจับกุมจากตำรวจนาซี แต่ก็โดนปล่อยออกมาได้ตลอด ระหว่างการเมืองวุ่นวายเขาก็ได้ใช้ชีวิตลบไปยังอิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์บาง แต่ก็ได้ไม่นาน เพราะเขาบอกว่าเยอรมันเป็นบ้านเกิดของเขา เป็นประเทศที่เขาเติบโตและเขาต้องตายที่นั้น

มิวนิก 1945 – 1974[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งสองได้สิ้นสุดลง เค็สท์เนอร์ก็ได้เดินทางไปยังมิวนิก ซึ่งที่นั้นเขาได้ก่อตั้งนิตยสารเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พิงกวีน (Pinguin) ในระหว่างช่วงนั้นเขาก็ยังได้เขียนหนังสือ บทความ เนื้อเพลงต่าง ๆ อีกมากมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนาซีและสภาพประเทศเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนั้นเขายังได้รับแต่งตั้งเป็นประธาณของสมาคมพีอีเอ็น P.E.N. Zentrum ซึ่งเขาได้รับแต่งตำแหน่งนั้นจนถึงกระทั่งปี ค.ศ. 1962 นอกเหนือจากนั้นเขายังได้เป็นผู้ก่อตั้งห้องสมุดเยาวชนนานาชาติ Internationalen Jugendbibliothek ที่มู่นเช่นอีกด้วย เค็สท์เนอร์มีภรรยาที่ใช้ชีวิตร่วมด้วยคืน ลุยส์ล็อตเท่ เอ็นเดเล่ แต่เขาไม่ได้มีบุตรกับเธอ เค็สท์เนอร์มีบุตรชายคนเดียวคือโทมัส เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957 กับนางฟรีเดล ซีแเบรท์ที่คบกันเป็นชู้ ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของเค็สท์เนอร์ ด้วยเหตุนี้ภรรยาของเค็สท์เนอร์จึงไม่พอใจและขอร้องให้เขาทั้งสองคนเลิกติดต่อกัน เค็สท์เนอร์เสียชีวิตในวันที่ 29 เดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 1974 โดยโรคมะเร็งในหลอดไส้อาหาร โดยเขาถูกฝังศพไว้ที่สุสาน Bogenhausener Friedhof ที่มู่นเช่น

ผลงานการเขียน(บางส่วน)[แก้]

  • Herz auf Taille, 1928
  • Emil und die Detektive, 1929 (อีมิล ยอดนักสืบ)
  • Lärm im Spiegel, 1929
  • Leben in dieser Zeit, 1929
  • Ein Mann gibt Auskunft, 1930
  • Das letzte Kapitel, 1930
  • Ballade vom Nachahmungstrieb, 1930
  • Arthur mit dem langen Arm, 1931
  • Pünktchen und Anton, 1931(คู่หูจอมซน)
  • Fabian. Die Geschichte eines Moralisten, 1931
  • Das verhexte Telefon, 1932
  • Der 35. Mai oder Konrad reitet in die Südsee, 1932
  • Gesang zwischen den Stühlen, 1932
  • Das fliegende Klassenzimmer, 1933
  • Drei Männer im Schnee, 1934
  • Emil und die drei Zwillinge, 1934
  • Die verschwundene Miniatur, 1935
  • Doktor Erich Kästners Lyrische Hausapotheke, 1936
  • Der Zauberlehrling (Romanfragment), 1936
  • Georg und die Zwischenfälle (Der kleine Grenzverkehr), 1938
  • Die Konferenz der Tiere, 1949
  • Das doppelte Lottchen, 1949 (ลอตตี้กะริซ่า...แฝดอลเวง, วีรกรรมฝาแฝด)
  • Die 13 Monate, 1955
  • Die Schule der Diktatoren, 1957
  • Als ich ein kleiner Junge war, 1957
  • Über das Nichtlesen von Büchern, mit Zeichnungen von Paul Flora, 1958
  • Die Ballade vom Nachahmungstrieb, 1959
  • Notabene 45, 1961
  • Das Schwein beim Friseur, 1962
  • Der kleine Mann, 1963
  • Der kleine Mann und die kleine Miss, 1967
  • ...was nicht in euren Lesebüchern steht, 1968