เอนซิเทรลเวียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนซิเทรลเวียร์
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่ออื่นS-217622
ตัวบ่งชี้
  • 1-(2,4,5-trifluorobenzyl)-3-[(1-methyl-1H-1,2,4-triazol-3-yl)methyl]-(6E)-6-[(6-chloro-2-methyl-2H-indazol-5-yl)imino]-1,3,5-triazinane-2,4-dione
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
UNII
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC22H17ClF3N9O2
มวลต่อโมล531.88 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Cn1cnc(CN2C(=O)N(Cc3cc(F)c(F)cc3F)C(=N\c3cc4cn(C)nc4cc3Cl)\NC2=O)n1
  • InChI=1S/C22H17ClF3N9O2/c1-32-7-12-4-18(13(23)5-17(12)30-32)28-20-29-21(36)35(9-19-27-10-33(2)31-19)22(37)34(20)8-11-3-15(25)16(26)6-14(11)24/h3-7,10H,8-9H2,1-2H3,(H,28,29,36)
  • Key:QMPBBNUOBOFBFS-UHFFFAOYSA-N
สารานุกรมเภสัชกรรม

เอนซิเทรลเวียร์ (Ensitrelvir,[1] ชื่อรหัส S-217622, ชื่อทางการค้า Xocova[2]) เป็นยาต้านไวรัสชนิดรับประทานที่พัฒนาโดยบริษัทชิโอโนงิ ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮกไกโด ซึ่งออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 3C-like protease (3CLpro) สำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง[3][4] มีผลการทดสอบในการยับยั้งไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่งอุบัติขึ้น[5][6]

ภาพรวม[แก้]

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 มีการยื่นคำขอใช้ระบบการอนุมัติเร่งรัดแบบมีเงื่อนไขในประเทศญี่ปุ่น ระหว่างการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3[7] โดยคาดว่าจะยื่นขออนุมัติการใช้งานฉุกเฉินในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565[8][9] หากได้รับการอนุมัติเอนซิเทรลเวียร์จะเป็นยารักษาโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นชนิดแรกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง[10] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 คณะอนุกรรมการฝ่ายเภสัชกรรมสองชุดของสภาเภสัชกรรมและสุขาภิบาลอาหารประกาศว่าข้อมูลการยื่นขออนุมัติในขณะนั้นสำหรับเอนซิเทรลเวียร์ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขสำหรับ "ประสิทธิภาพตามประมาณการ" ที่ระบบการอนุมัติในกรณีฉุกเฉินกำหนด ทำให้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้พิจารณาต่อไป และตัดสินผลการพิจารณาใหม่ตามผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ที่นำส่งโดยบริษัทชิโอโนงิ[9]

เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565 บริษัทชิโอโนงิ ประกาศผลการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 โดยระบุว่าทั้งจุดสิ้นสุดการทดลองหลักและจุดสิ้นสุดที่สอง "ยืนยันว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ"[11][12] ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ผลการทดลองเบื้องต้นได้ถูกเสนอให้กับกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น และหน่วยงานเภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ (PMDA) และมีการเปิดเผยว่ามีการหารือกับทั้งสององค์กรเพื่อเริ่มดำเนินการทบทวนและพิจารณาการอนุมัติยาเอนซิเทรลเวียร์[12]

4 ตุลาคม พ.ศ. 2565 บริษัทชิโนโนงิประกาศว่าได้ทำสัญญาอนุญาตกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข "Medicines Patent Pool (MPP)" ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้ยาเอนซิเทรลเวียร์สามารถแพร่หลายในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง[13] การให้อนุสิทธิบัตรโดย MPP ในการผลิตและจัดหายาเอนซิเทรลเวียร์แก่บริษัทผู้ผลิตยาทั่วไปจะทำให้สามารถดำเนินการจัดหายาใน 117 ประเทศได้[13] บริษัทชิโอโนงิจะยกเว้นค่าสิทธิบัตรสำหรับการขายในประเทศที่อยู่ภายใต้สัญญาดังกล่าว ซึ่งเป็นประเทศที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำลังประกาศภาวะฉุกเฉินเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19[13]

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 คณะอนุกรรมการร่วมของคณะอนุกรรมการด้านเภสัชกรรมชุดที่หนึ่งและชุดที่สอง ของสภาเภสัชกรรมและสุขาภิบาลอาหาร ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการได้ทำการอนุมัติฉุกเฉินการใช้งานเอนซิเทรลเวียร์[14][15] PMDA ปฏิเสธที่จะพูดว่า "จำเป็นต้องย้ำว่านี่คือข้อสรุป ณ เวลานี้" แต่สรุปว่า "เราได้รับข้อมูลมากพอที่จะสันนิษฐานว่ายามีผล"[14] เอนซิเทรลเวียร์กลายเป็นยารับประทานชนิดแรกสำหรับการรักษาโควิด-19 ที่สามารถให้กับผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง[14] สมาชิกของสภาเภสัชกรรมและสุขาภิบาลอาหารคนหนึ่งกล่าวว่าข้อกำหนดสำหรับการใช้ระบบการอนุมัติฉุกเฉินคือ "ต้องไม่มีวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมนอกจากการใช้ยานี้" แต่มียารับประทาน "โมลนูพิราเวียร์ (Lagevrio)" และ "เนอร์มาเทรลเวียร์/ริโตนาเวียร์ (Paxlovid)" สำหรับรักษาการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้รับการอนุมัติแล้ว[14][15] แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีการสำรองยาแพกซ์โลวิด 2 ล้านชุด แต่มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่ามีผู้ป่วยได้รับยาแพกซ์โลวิดเพียง 56,000 คนเท่านั้น[14][15] กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ แถลงว่าหากเอนซิเทรลเวียร์ได้รับการอนุมัติ จะเป็นยารับประทานชนิดแรกที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น และไม่มียารักษาโควิดชนิดอื่นที่ได้รับการอนุมัติแล้วที่มีเสถียรภาพในการผลิตและจัดหาที่สามารถคาดหวังได้เมื่อเปรียบเทียบกัน[14]

ผลการทดลองทางคลินิก[แก้]

การทดลองระยะที่ 3 ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจำนวน 1,821 คน อายุระหว่าง 12 ถึง 70 ปี ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเวียดนาม[11] จุดสิ้นสุดหลักของการทดลองระยะที่ 3 คือ "เวลาในการหายจากอาการเฉพาะ 5 ประการที่มักพบในญี่ปุ่นระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนในกลุ่มผู้ป่วยที่กำหนดภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ"[12] กลุ่มถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มที่รับประทานยาเอนซิเทรลเวียร์ วันละครั้งเป็นเวลา 5 วัน และกลุ่มที่รับประทานยาหลอก และมีการศึกษาผลของอาการที่ดีขึ้น[11] ผลที่ตามมาคือในกลุ่มที่รับประทานยาเอนซิเทรลเวียร์ อาการทั้ง 5 อย่าง ได้แก่ อาการไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล/คัดจมูก รู้สึกไม่สบายตัว และมีไข้/รู้สึกไข้ ลดลงประมาณ 24 ชั่วโมง (p=0.04)[11][16] เวลาเฉลี่ยในการหายจากอาการป่วยคือ 167.9 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้รับยาเอนซิเทรลเวียร์ และ 192.2 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก[16] ผลในการต้านไวรัสที่มีนัยสำคัญยังแสดงให้เห็นในจุดสิ้นสุดการทดลองที่สองจาก "การเปลี่ยนแปลงในอาร์เอ็นเอของไวรัสจากการตรวจวัดในวันที่ 4 ของการได้รับยา (หลังจาก 3 โดส)" >1.4 log10 สำเนา/มิลลิลิตร (p<0.0001) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก[12][16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. World Health Organization (2021). "International Nonproprietary Names for Pharmaceutical Substances. Proposed INN: List 126" (PDF). WHO Drug Information. 35 (4): 1135.
  2. "Xocova: Powerful New Japanese Pill for Coronavirus Treatment". BioPharma Media. กุมภาพันธ์ 2022.
  3. Unoh Y, Uehara S, Nakahara K, Nobori H, Yamatsu Y, Yamamoto S, และคณะ (พฤษภาคม 2022). "Discovery of S-217622, a Noncovalent Oral SARS-CoV-2 3CL Protease Inhibitor Clinical Candidate for Treating COVID-19". Journal of Medicinal Chemistry. 65 (9): 6499–6512. doi:10.1021/acs.jmedchem.2c00117. PMC 8982737. PMID 35352927.
  4. "Shionogi presents positive Ph II/III results for COVID-19 antiviral S-217622". thepharmaletter.com. 31 มกราคม 2022.
  5. "Shionogi's new COVID pill appears to ease omicron symptoms". Nikkei Asia. 21 ธันวาคม 2021.
  6. Uraki R, Kiso M, Iida S, Imai M, Takashita E, Kuroda M, และคณะ (IASO study team) (พฤษภาคม 2022). "Characterization and antiviral susceptibility of SARS-CoV-2 Omicron/BA.2". Nature. 607: 119–127. doi:10.1038/s41586-022-04856-1. PMID 35576972.
  7. "Discovery of S-217622, a Non-Covalent Oral SARS-CoV-2 3CL Protease Inhibitor Clinical Candidate for Treating COVID-19". bioRxiv. มกราคม 2022. doi:10.1101/2022.01.26.477782.
  8. "Japan's Shionogi seeks approval for COVID-19 pill" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. 25 กุมภาพันธ์ 2022.
  9. 9.0 9.1 ゾコーバ承認は継続審議~「有効性の推定」に該当せず | 薬剤師のエナジーチャージ 薬+読. yakuyomi.jp. 25 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
  10. 国内企業初「飲み薬」承認申請 塩野義製薬100万人分生産予定. FNNプライムオンライン. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-26.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 塩野義、コロナ薬「ゾコーバ」最終治験で効果確認と発表…症状が24時間短縮. 読売新聞オンライン. 読売新聞社. 28 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 塩野義のコロナ経口薬ゾコーバ、第2/3相試験の第3相部分で主要評価項目を達成. 日経バイオテクONLINE. 日本経済新聞社. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.
  13. 13.0 13.1 13.2 塩野義コロナ飲み薬 低所得国に提供へ 承認前提. 産経ニュース. 産業経済新聞社. 4 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2022.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 塩野義のコロナ経口薬「ゾコーバ」緊急承認. 医療維新 | m3.com. 株式会社エムスリー. 22 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2022.
  15. 15.0 15.1 15.2 塩野義「ゾコーバ」を緊急承認 新型コロナ飲み薬 厚労省. 毎日新聞. 毎日新聞社. 22 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2022.
  16. 16.0 16.1 16.2 塩野義、コロナ経口薬「ゾコーバ」臨床試験で効果ありと発表. 医療維新 | m3.com. 株式会社エムスリー. 28 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]