เห็ดหลุบ
เห็ดหลุบ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | ไนดาเรีย |
ชั้น: | แอนโธซัว |
อันดับ: | Actiniaria |
วงศ์: | Stichodactylidae |
สกุล: | Stichodactyla (Saville-Kent, 1893) |
สปีชีส์: | Stichodactyla haddoni |
ชื่อทวินาม | |
Stichodactyla haddoni (Saville-Kent, 1893) | |
ชื่อพ้อง | |
|
เห็ดหลุบ (อังกฤษ: Haddon's sea anemone; ชื่อวิทยาศาสตร์: Stichodactyla haddoni) เป็นสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกดอกไม้ทะเลหรือซีแอนนีโมนชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบอินโด-แปซิฟิก
เห็ดหลุบ เป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนวดสั้น มีชื่อเรียกหนึ่งว่า "พังผืดทะเล" มีพฤติกรรมเหมือนดอกไม้ทะเลทั่วไป คือ จะบานเมื่อปราศจากสิ่งใดมารบกวน หากมีสิ่งรบกวนจะหุบตัวเข้ากับซอกหินที่ใช้เป็นที่เกาะ มีสีต่าง ๆ มากมายหลายสี เช่น สีเหลือง, เขียว, เทา หรือสีปริน ซึ่งเป็นสีที่หายาก ปลายหนวดลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ หากไปสัมผัสถูกเข้าจะเหนียวหนึบขาดติดกับมือมาได้เลย กินอาหารด้วยวิธีการสองวิธี คือ การสังเคราะห์แสงจากสาหร่ายซูแซนแทนลีที่อยู่ในเนื้อเยื่อ และจับเหยื่อเอาจากหนวดซึ่งได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กและปลาวัยอ่อน[1]
อาศัยอยู่ตามพื้นทรายและกระจายพันธุ์ไปทั่วน่านน้ำเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของพื้นที่อินโด-แปซิฟิกตั้งแต่มอริเชียส, ฟิจิ, หมู่เกาะริวกิวทางใต้ของญี่ปุ่นไปถึงออสเตรเลีย[1]
ในทางชีววิทยาเห็ดหลุบเป็นดอกไม้ทะเลที่เป็นแหล่งที่พักพิงของสัตว์ทะเลหลายชนิด ทั้งปลาการ์ตูน เช่น ปลาการ์ตูนอานม้า ( Amphiprion polymnus), ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae), ปลาการ์ตูนลายปล้อง (A. clarkii), ปลาการ์ตูนครีบส้ม (A. chrysopterus), ปลาการ์ตูนแนวปะการัง (A. akindynos), ปลาการ์ตูนมอริเทียน (A. chrysogaster) รวมถึงปลาสลิดหินสามจุด (Dascyllus trimaculatus) ในวัยอ่อน และยังมีความสัมพันธ์กับสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ๆ เช่น กุ้งในสกุล Periclimenes, กุ้งชนิด Thor amboinensis หรือกุ้งเซ็กซี่ และปูดอกไม้ทะเล (Neopetrolisthes maculatus) โดยให้เป็นสถานที่หลบภัย[1]
ในประเทศไทย เห็ดหลุบยังเป็นอาหารพื้นบ้านของเกาะสมุยหรือเกาะพะงัน ในอ่าวไทย รวมถึงบริเวณอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง โดยสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้โดยเฉพาะแกงคั่ว มีความกรุบกรอบ[2] นอกจากนี้แล้วเห็ดหลุบยังเป็นที่ต้องการในเชิงการค้าโดยมักมีการลักลอบจับจากทะเลเพื่อนำไปเลี้ยงในตู้ปลาทะเล จึงเป็นสัตว์สงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535[3]
รูปภาพ[แก้]
ปลาการ์ตูนและสัตว์ทะเลต่าง ๆ กับเห็ดหลุบ
ปลาการ์ตูนมอริเทียน (Amphiprion chrysogaster) กับปลาสลิดหินสามจุดวัยอ่อน (Dascyllus trimaculatus)
ปลาการ์ตูนครีบส้ม (A. chrysopterus)
ปลาการ์ตูนลายปล้อง (A. clarkii)
ปลาการ์ตูนอานม้า (A. polymus)
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (A. sebae)
ปูดอกไม้ทะเล (Neopetrolisthes maculatus)
กุ้งดอกไม้ทะเล (Periiclmes brevicarpalisen)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Fautin, Daphne G.; Allen, Gerald R. (1997). Field Guide to Anemone Fishes and Their Host Sea Anemones. Western Australian Museum. ISBN 9780730983651. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2015.
- ↑ Mariya, Wonder (October 14, 2015). "มาริยา พากินแกงคั่วเห็ดหลุบ". ยูทูบ. สืบค้นเมื่อ July 30, 2016.
- ↑ "จนท.ระยอง รวบพ่อค้ารับซื้อดอกไม้ทะเลผิด กม". ผู้จัดการออนไลน์. May 7, 2015. สืบค้นเมื่อ July 30, 2016.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เห็ดหลุบ |
![]() |
วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Stichodactyla haddoni |
- Fautin, D. "Stichodactyla haddoni". Hexacorallians of the World. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-23. สืบค้นเมื่อ 2016-07-30.