เหรียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหรียง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
สกุล: Parkia
สปีชีส์: P.  timoriana
ชื่อทวินาม
Parkia timoriana
(DC.) Merr.
ชื่อพ้อง

Parkia javanica
Parkia roxburghii

เหรียง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Parkia timoriana) ชื่ออื่น ได้แก่ กะเหรี่ยง, เรียง, สะเหรี่ยง (ใต้); นะกิง, นะริง (มลายู-ใต้); สะตือ (ใต้)เป็นพืชในวงศ์ Mimosaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-50 เมตร ไม่ค่อยมีกิ่งก้านที่ลำต้น เปลือกเรียบและหนาสีเทาปนเขียวอ่อน มีกลิ่นฉุน ลักษณะทั่วไปคล้ายสะตอ แต่พุ่มใบแน่น และเขียวทึบกว่า ใบใหญ่และหนากว่าสะตอ ลักษณะใบเป็นแบบช่อ ใบประกอบมี 18-33 คู่ ใบแคบปลายแหลม ใบแก่จะเป็นสีเหลืองร่วงเกือบหมดต้น และผลิใบใหม่แทน ลักษณะดอกเป็นดอกช่อแบบสะตอ ออกที่ปลายยอด เป็นก้านยาวสีเขียวสลับน้ำตาล ลักษณะผลเป็นฝัก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมล็ดรูปไข่ ประมาณ 15-20 เมล็ดต่อฝัก ฝักแก่เต็มที่มีสีดำ เมล็ดในสีดำ เนื้อในเมล็ดมีสีเขียวเข้ม และมีกลิ่นฉุน

เปลือกต้นเป็นยาสมานแผล ลดน้ำเหลือง เมล็ดเมื่อแก่ตัดส่วนปลายนำไปเพาะให้แตกรากสั้น ๆ รับประทานสดหรือดอง ใช้เป็นผักเหนาะและนำไปประกอบอาหาร ทั้งผัดและแกง เช่น แกงหมูกับลูกเหรียง

หน่อเหรียง[แก้]

หน่อเหรียง มีลักษณะคล้ายถั่วงอกหัวโตแต่หัวจะโตกว่าและมีสีเขียว รสมัน กลิ่นฉุน ได้มาจากการนำเมล็ดในฝักเหรียง ซึ่งจะออกฝักในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมของทุกปี ในหนึ่งฝัก จะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 20 เมล็ด วิธีการนำไปรับประทานจะนำเมล็ดที่แกะจากฝักไปเพาะในทราย เพื่อให้เมล็ดงอกรากและมีใบเลี้ยงโผล่ออกมาเหมือนกับถั่วงอก ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า เมล็ดเหรียงนั้นมีเปลือกที่แข็งมากไม่สามารถนำมาบริโภคโดยตรงได้

วิธีการเพาะเมล็ดดังนี้

  1. นำเมล็ดเหรียงมาตัดเป็นรอยหยัก เพื่อเปิดทางให้แตกหน่อ นำไปแช่น้ำ 1 คืน
  2. นำเมล็ดขึ้นมาล้างเมือกแล้วตั้งให้สะเด็ดน้ำนำไปใส่ในกระสอบไปล่อนแล้วนำไปใส่ตะกร้า
  3. นำไปแช่น้ำตอนเช้า 1ชม.ยกขึ้นตั้งไว้แล้วแช่น้ำตอนเย็นอีก 1 ชม.ยกขึ้นตั้งไว้
  4. ทำอย่างนี้เป็นเวลา 4 วัน พอเช้าวันที่ 5 นำเมล็ดมาแกะเอาเปลือกออกแล้วล้างให้สะอาด